กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ คนโก-ลกรู้รอด ปลอดภัยจมน้ำ ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

งานควบคุมโรคและระบาดวิทยา โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

นายอาหาหมัด สีระโก 0899269425
นายอริสมัน กริยา
นายอาแว ยูไฮ
นางสาวอาดีลาห์ เจ๊ะอาแว
นางสาวไซนะ กาซอ

เขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโกลก ปี 2566

 

2.00
2 จำนวนเด็กที่บาดเจ็บจากการจมน้ำ(ไม่เสียชีวิต)ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโกลก ปี 2566

 

2.00

การตกน้ำ จมน้ำ เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขทั่วโลก จากรายงานขององค์การอนามัยโลก(WHO) พบว่าในแต่ละปีทั่วโลกมีคนจมน้ำเสียชีวิตจำนวน 172,000 คน ในจำนวนนี้เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 145,739 หรือคิดเป็นร้อยละ 39 สำหรับประเทศไทยการจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของเด็กไทยกลุ่มอายุต่ำกว่า 15 ปี และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 – 2548 โดยมีเด็กจมน้ำเสียชีวิตมากถึงปีละประมาณ 1,500 คน ส่วนสถานการณ์การจมน้ำของจังหวัดนราธิวาส ข้อมูลตั้งแต่ ปี พ.ศ.2560 – 2564 มีจำนวนผู้เสียชีวิต 68 คน เฉลี่ย 14 คนต่อปี
พื้นที่ของอำเภอสุไหงโก-ลกเป็นพื้นที่ลุ่ม ลาดเอียงสู่แม่น้ำสุไหงโก-ลก ซึ่งเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่กั้นพรมแดนระหว่างไทยกับมาเลเซียเป็นแนวยาวประมาณ 103 กิโลเมตร มีการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนระหว่าง 2 ข้างฝั่งของแม่น้ำสุไหงโก-ลก โดยประชาชนในพื้นทีมีการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำดังกล่าวในการใช้เพื่ออุปโภค บริโภค และการประกอบอาชีพขับเรือโดยสารข้ามฝั่งรับส่งนักท้องเที่ยวทั้งไทยและมาเลเซียข้ามฝั่งไปมา ด้วยสภาพที่เป็นพื้นที่ลุ่มจึงมักจะเกิดอุทกภัยเป็นประจำทุกปี ทำให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์ตกน้ำ จมน้ำ สถานการณ์การจมน้ำของอำเภอสุไหงโก-ลก พบว่าตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561-ตุลาคม 2566 มีจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 12 ราย (เฉพาะปี 2566 เสียชีวิต 2 ราย)
แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านสาธารณสุข กำหนดเป้าหมายว่าเมื่อสินปี 2579 อัตราการจมน้ำเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีต้องลดลงเหลือ 2.5 ต่อประชากรเด็กแสนคน และทุกลุ่มอายุต้องลดลง ร้อยละ 50 จากปี 2560 (หรือมีอัตรา 3.0 ต่อประชากรแสนคน) การจมน้ำเกิดจากหลายปัจจัยเสี่ยงร่วมกันทั้งปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางสังคม รวมทั้งในแต่ละช่วงกลุ่มอายุจะมีปัจจัยเสี่ยงที่แตกต่างกัน องค์การอนามัยโลกได้ให้ข้อแนะนำในการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำไว้ 6 มาตรการ โดยมี 2 มาตรการที่เป็นการเพิ่มทักษะด้านตัวบุคคล ได้แก่ การสอนเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป) ให้มีทักษะในการเอาชีวิตรอดในน้ำและทักษะการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ รวมถึงการสอนฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ(CPR) สำหรับผู้ป่วยจมน้ำ แก่ประชาชนอายุ 14 ปีขึ้นไปให้มีทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพที่ถูกต้องเพื่อป้องกันการเสียชีวิตในผู้ป่วยจมน้ำ ดังนั้นโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จึงได้จัดทำโครงการ “คนโกลกรู้รอด ปลอดภัยจมน้ำ ประจำปี 2567” ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาทักษะการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำและการฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ(CPR)สำหรับผู้ป่วยที่จมน้ำ แก่ประชาชน/ผู้นำชุมชน/อสม.ในพื้นที่

ประชาชน/ผู้นำชุมชน/อสม.ที่เข้ารับการอบรมทักษะการช่วยเหลือผู้จมน้ำและการฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ(CPR)สำหรับผู้ป่วยที่จมน้ำ สามารถปฏิบัติได้ถูกต้องร้อยละ 100

50.00 70.00
2 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ ตระหนักถึงปัญหาการจมน้ำ และทราบถึงมาตรการป้องกันการจมน้ำ

ประชาชนในพื้นที่ ทราบถึงมาตรการป้องกันการจมน้ำไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

60.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 70
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมทักษะการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำและฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ(CPR)สำหรับผู้ป่วยที่จมน้ำ แก่ประชาชน/ผู้นำชุมชน/อสม.

ชื่อกิจกรรม
อบรมทักษะการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำและฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ(CPR)สำหรับผู้ป่วยที่จมน้ำ แก่ประชาชน/ผู้นำชุมชน/อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ประชาชน ผู้นำชุมชน อสม. จำนวน 70 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- อบรมการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำและฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ(CPR)สำหรับผู้ป่วยที่จมน้ำ แก่ประชาชน ผู้นำชุมชน อสม. จำนวน 70 คนเป็นระยะเวลา 1 วัน
กำหนดการ
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน/เปิดโครงการ
09.00 - 12.00 น. อบรมหลักการป้องกันการจมน้ำ/การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.00 - 16.00 น. อบรมและฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ(CPR)สำหรับผู้ป่วยที่จมน้ำ
งบประมาณ
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70 คน x 60 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน70 คน x 30 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 4,200 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท x 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ประสบเหตุจมน้ำ(ห่วงชูชีพ) 4 ห่วง x 2,000 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
- ค่าป้ายโครงการ เป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มิถุนายน 2567 ถึง 4 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต : ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้และมีทักษะการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ และมีทักษะการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ(CPR)สำหรับผู้ป่วยที่จมน้ำ ผลลัพธ์ : จำนวนผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำลดลงจากปีที่ผ่านมา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21200.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์ป้องกันการจมน้ำ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ป้องกันการจมน้ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
- จัดกิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ การป้องกันจมน้ำ
งบประมาณ
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำสื่อ เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 เมษายน 2567 ถึง 29 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการจัดกิจกรรมรณรงค์เรื่องการป้องกันจมน้ำ ผลลัพธ์ : จำนวนผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำลดลงจากปีที่ผ่านมา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,200.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมการอบรมได้รับการพัฒนาทักษะการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำและมีการฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ(CPR)สำหรับผู้ป่วยที่จมน้ำ
2. ประชาชนในพื้นที่ ตระหนักถึงปัญหาการจมน้ำ ทราบถึงมาตรการป้องกันการจมน้ำ และสามารถดำเนินการป้องกันการจมน้ำ


>