กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก รหัส กปท. L6961

อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการ Save Your Life รู้ไว รู้มาก พิชิต NCDs ชุมชนเจริญทรัพย์ ปีงบประมาณ 2567
2.
ชื่อ
check_box
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
งานควบคุมโรคและระบาดวิทยา โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
กลุ่มคน
นางสาวอาดีลา โทร. 063-5940412
3.
หลักการและเหตุผล

กลุ่มโรค NCDs (non-communicable diseases) เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งจะมีการดำเนินโรคอย่างช้า ๆ ค่อย ๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีอาการของโรคแล้วมักจะเกิดการเรื้อรังของโรคด้วย จึงอาจจัดว่าโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคเรื้อรังได้ได้แก่ โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองโรคเบาหวาน โรคมะเร็งต่าง ๆ โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง และโรคอ้วนลงพุง ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน สังคมไทยมีความซับซ้อนในการดำรงชีวิต ด้วยข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่หลากหลาย และระบบสุขภาพที่มีความซับซ้อน มีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว นิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม การพัฒนาสมรรถนะให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ (health literacy) จึงเป็นประเด็นที่มีความท้าทาย เพื่อเพิ่มความสามารถของประชาชนให้สามารถควบคุม ดูแล และพัฒนาสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน บรรลุสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลด้านการสร้างสุขภาพด้วยหลัก ๓อ. ๒ส. จากข้อมูลการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง 3 ปี ย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2564 - 2566 ร้อยละ 90.07 ,92.07และ 92.95พบว่า ผลการคัดกรองประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองเพื่อวินิจฉัยเบาหวานในเขตรับผิดชอบของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 1 คัดกรองโรคเบาหวาน พบเสี่ยงสูงประชากรสงสัยป่วยโรคเบาหวานได้รับการตรวจยืนยันรายใหม่ จำนวน 31 ราย ร้อยละ 35.48 ส่วนผลการคัดกรองประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองเพื่อวินิจฉัยความดันโลหิตสูง ในเขตรับผิดชอบของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 1 คัดกรองโรคเบาหวาน พบเสี่ยงสูงประชากรสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการตรวจยืนยันรายใหม่ จำนวน 45 ราย ร้อยละ 20.00 มารับการตรวจรักษาและรับยาที่ศูนย์ใกล้ใจ 1 จำนวน 100 ราย/สัปดาห์ (ในวันคลินิกเบาหวานและความดันโลหิตสูง) โรงพยาบาลสุไหงโก-ลกได้ตระหนักถึงการเปิดโอกาสในการสร้างสุขภาวะของประชาชนในทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรค ๓อ. ๒ส. เพื่อให้ประชาชนในกลุ่มดังกล่าวมีสุขภาวะที่ดีจึงได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริม ป้องกันและควบคุมโรค โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อสอดคล้องกับปัญหาในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังทุกกลุ่ม การสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนทุกกลุ่ม เปิดโอกาสแลกเปลี่ยนวิถีด้านสุขภาวะและพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดปัญหาค่าใช้จ่ายในการรักษา/ดูแลด้านสุขภาพในระยะยาวและพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค เพื่อให้เกิดกระบวนการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม สอดคล้องกันไปอย่างต่อเนื่อง ฝ่ายเวชกรรมสังคม งานควบคุมโรคและระบาดวิทยา โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก เจ้าหน้าที่ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 1 และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านชุมชนเจริญสุข จึงดำเนินการจัดทำโครงการ “Save Your Life รู้ไว รู้มาก พิชิต NCDs ชุมชนเจริญทรัพย์ ปีงบประมาณ 2567” ขึ้น

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพให้มีความรู้ความเข้าใจ ทักษะและความสามารถในการดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชน โดยกลวิถีสาธารณสุขมูลฐาน ตามมาตรฐานสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน นำไปปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    ตัวชี้วัด : การทดสอบความรู้ ความเข้าใจ และสังเกตทักษะในการปฏิบัติงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ตามมาตรฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 80.00
  • 2. เพื่อเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองเพื่อวินิจฉัยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
    ตัวชี้วัด : ร้อยละของประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรองเพื่อวินิจฉัยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 80.00
  • 3. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
    ตัวชี้วัด : กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้องร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา 40.00 เป้าหมาย 80.00
  • 4. เพื่อให้ผู้ดูแล/ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลตนเองป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า และหัวใจได้
    ตัวชี้วัด : ผู้ดูแล/ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 80.00
  • 5. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เป็นความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามหลัก 3อ (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) 2ส (สุรา สารเสพติด)
    ตัวชี้วัด : กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมที่เหมาะสม ร้อยละ 50
    ขนาดปัญหา 20.00 เป้าหมาย 50.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. สถานีสุขภาพดิจิทัล (Digital Health Station) ในชุมชน
    รายละเอียด

    กลุ่มเป้าหมาย ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในชุมชนเจริญทรัพย์ จำนวน 100 คน , อสม. 7 คน
    รายละเอียดกิจกรรม
    1. คัดกรองประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองเพื่อวินิจฉัยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
    2. ใช้แบบสอบถามในการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ เรื่องการบริโภคอาหาร การจัดการความเครียด (อารมณ์) การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา พฤติกรรมสุขภาพที่เกี่ยวกับโรค
    3. คัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อน
    4. การจัดทำทะเบียนและฐานข้อมูลสุขภาพ
    งบประมาณ
    1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน x 30 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
    2. ค่าวัสดุจัดทำป้ายไวนิลโครงการ 2 x 1 ตารางเมตร เป็นเงิน 800 บาท
    3. ค่าจัดทำคู่มือสุขภาพ 40 บาท x 100 เล่ม เป็นเงิน 4,000 บาท
    4. ค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงาน ชั่วโมงละ 50 บาท x 4 ชม. X 7 คน เป็นเงิน 1,400 บาท
    5. เครื่องชั่งน้ำหนัก วัดไขมันและมวลกาย แบบดิจิตอล เครื่องละ 700 บาท X 1 เครื่อง เป็นเงิน 700 บาท
    6. เครื่องวัดความดันโลหิต 2 เครื่อง x 2,500 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
    7. เครื่องตรวจวัดน้ำตาลและชุดแถบเจาะน้ำตาลในเลือด 2 เครื่อง x 2,500 เป็นเงิน 5,000 บาท
    8. ค่าจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการทำกิจกรรม ได้แก่ สมุด ปากกา อุปกรณ์ที่จำเป็น เป็นต้น เป็นเงิน 1,000 บาท

    งบประมาณ 20,900.00 บาท
  • 2. จัดทำเวทีประชาคม
    รายละเอียด

    กลุ่มเป้าหมาย ตัวแทนชุมชนและคณะทำงาน 50 คน
    รายละเอียดกิจกรรม
    1. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คืนข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ เน้นกระบวนการความรอบรู้ด้านสุขภาพ
    2. แต่งตั้งคณะกรรมการการดำเนินงาน
    งบประมาณ
    1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน x 30 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,500 บาท

    งบประมาณ 1,500.00 บาท
  • 3. Save Your Life รู้ไว รู้มาก พิชิต NCDs ชุมชนเจริญทรัพย์
    รายละเอียด

    กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง 50 คน เจ้าหน้าที่ 20 คน รวม 70 คน
    รายละเอียดกิจกรรม
    1. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้อง
    2. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลตนเองป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า และหัวใจได้อย่างถูกต้อง
    3. อบรมให้ความรู้การปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดและระดับความดันโลหิตสูง เน้นเรื่อง 3อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) 2ส. (สุรา สารเสพติด)
    4. การสาธิตบริหารกายด้วยวิถีชุมชน “Exercise for Health”ออกกำลังกายด้วยยางยืด
    5. อบรมแลกเปลี่ยนความรู้แบ่งกลุ่มเข้าฐานเรียนรู้โภชนาการ 4 ฐาน
    ฐาน 1 น้ำตาล หวานซ่อนอ้วน เรียนรู้การอ่านฉลากโภชนาการ และไขข้อข้องใจเลือกกินอะไรดี
    ฐาน 2 โซเดียม กินอย่างไร ไตไม่พัง เรียนรู้เกี่ยวกับโซเดียมว่ามีอยู่ในอาหาร, ขนม, เครื่องปรุงอะไรบ้าง กินแค่ไหนอย่างไรดี
    ฐาน 3 ปรับหน่อย เปลี่ยนนิด ชีวิตดี๊ดี เรียนรู้้วิธีการปรับเปลี่ยนอาหารที่กินในชีวิตประจำวัน ให้ดีต่อสุขภาพ
    ฐาน 4 น้ำมันใส ใส ใช้ยังไงดี เรียนรู้วิธีการเลือกใช้น้ำมันประเภทต่างๆ ให้เหมาะสมทั้งชนิดและปริมาณ
    6. กิจกรรม Workshop การสาธิตปรุงอาหารให้ดีต่อสุขภาพลดหวาน มัน เค็ม 7 กลุ่ม
    กำหนดการ
    08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
    09.00 - 10.00 น. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้อง
    10.00 - 12.00 น. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลตนเองป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า และหัวใจได้อย่างถูกต้อง
    12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
    13.00 - 14.00 น. อบรมให้ความรู้การปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดและระดับความดันโลหิตสูง เน้นเรื่อง 3อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) 2ส. (สุรา สารเสพติด)
    14.00 - 15.00 น. อบรมแลกเปลี่ยนความรู้แบ่งกลุ่มเข้าฐานเรียนรู้โภชนาการ 4 ฐาน
    15.00 - 16.00 น. กิจกรรม Workshop การสาธิตปรุงอาหารให้ดีต่อสุขภาพลดหวาน มัน เค็ม 7 กลุ่ม
    งบประมาณ
    1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คน x 30 บาทx 2 มื้อเป็นเงิน 4,200 บาท
    2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70 คน x 60 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 4,200 บาท
    3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คน x 600 บาท x 2 ชม. เป็นเงิน 2,400 บาท
    4. ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่ม 6 คน x 300 บาท x 1 ชม.เป็นเงิน 1,800 บาท
    5. ค่าวัสดุจัดทำป้ายไวนิลโครงการ 3 x 1.8 ตารางเมตร เป็นเงิน 1,200 บาท
    6. ค่าวัสดุปรุงอาหาร Workshop อาหารหวาน มัน เค็ม 7 กลุ่ม กลุ่มละ 300 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท

    งบประมาณ 15,900.00 บาท
  • 4. ติดตามความก้าวหน้าหลังให้ความรู้
    รายละเอียด

    กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนกลุ่มเสี่ยง 50 คน
    รายละเอียดกิจกรรม
    1. ติดตามประเมินความรู้โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่น ๆ
    2. ติดตามลงเยี่ยมบ้าน ส่องหวาน จุ่มเค็ม
    งบประมาณ
    1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 50 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,500 บาท

    งบประมาณ 1,500.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน 100 คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567

8.
สถานที่ดำเนินการ

ชุมชนเจริญทรัพย์

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 39,800.00 บาท

หมายเหตุ : สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. แกนนำสุขภาพมีทักษะในการปฏิบัติงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ตามมาตรฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองเพื่อวินิจฉัยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิต
  3. ผู้ดูแล/ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง
  4. ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ สามารถปฏิบัติตนในการดำรงชีวิตประจำวันที่ไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่น ๆ
  5. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เป็นความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามหลัก 3อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) 2ส. (สุรา สารเสพติด)
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก รหัส กปท. L6961

อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก รหัส กปท. L6961

อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 39,800.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................