กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแกนนำสุขภาพยุคใหม่ เชี่ยวชาญใส่ใจ ห่วงใยประชาชน ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ชมรม อสม.เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

นาย วัชริศ เจ๊ะเล๊าะ โทร. 081-5433221
นาย กามารอเด็ง มามะ
นาย ถาวร ชุ่มมงคล
นาง จารินี เหาะสัน
นางสาว สุมิตรา อูมา

ห้องประชุมมหาราช เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ระบบบริการสุขภาพของประเทศไทย มีการขยายตัวของการให้บริการสุขภาพในระดับต่างๆ ทั้งในส่วนของบริการสุขภาพระดับต้นที่ให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนในด้านการรักษาพยาบาลเบื้องต้น การส่งเสริมสุขภาพทั่วไป และการป้องกันโรค ในการนำเป้าหมายสุขภาพดี เพื่อให้ประชาชนในชุมชนพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน ซึ่งบุคคลที่มีความสำคัญมากในพื้นที่ เพื่อการพัฒนาสุขภาพให้ประชาชนในพื้นที่มีสุขภาพดีอย่างยั่งยืนได้ คือแกนนำชุมชนในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชุมชนที่จะช่วยกระตุ้น ส่งเสริมและสร้างให้มีมาตราการในชุมชนโดยมีเป้าหมาย เพื่อลดการเกิดอัตราป่วย อัตราตาย และผลกระทบจากโรคเรื้อรัง โรคติดต่อ และภัยสุขภาพ และให้ประชาชนทุกครัวเรือนดูแลใส่ใจสุขภาพของตนเอง และครอบครัว ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพแกนนำในชุมชนให้มีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชน และสามารถใช้สื่อดิจิตอลด้านสุขภาพและนำความรู้ไปเผยแพร่แก่ประชาชนในชุมชนได้ จึงจัดทำโครงการแกนนำยุคใหม่ เชี่ยวชาญใส่ใจ ห่วงใยประชาชน ประจำปี 2567 นี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มความรู้ และทักษะแกนนำชุมชนในการดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชน 5 กลุ่มวัย

แกนนำชุมชนมีความรู้และทักษะในการการดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชน 5 กลุ่มวัย ร้อยละ 80

40.00 80.00
2 เพื่อให้แกนนำชุมชนสามารถใช้สื่อดิจิตอลด้านสุขภาพและนำความรู้ไปเผยแพร่แก่ประชาชนในชุมชนได้

แกนนำชุมชนสามารถใช้สื่อดิจิตอลด้านสุขภาพและนำความรู้ไปเผยแพร่แก่ประชาชนในชุมชนได้ ร้อยละ 80

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำชุมชน 130

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมแต่งตั้งคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมแต่งตั้งคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย คกก.อสม. 20 คน เจ้าหน้าที่ 10 คน รวม 30 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. ประชุมแต่งตั้งคณะทำงานโดยแกนนำชุมชน 20 คน เจ้าหน้าที่ 10 คน
2. ประสานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
3. วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพในชุมชน 31 ชุมชน
4. วางแผนและเสนอโครงการ
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาทX 1 มื้อ X 30 คน = 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 พฤศจิกายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการประชุมวางแผนคณะทำงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
900.00

กิจกรรมที่ 2 แกนนำยุคใหม่ เชี่ยวชาญใส่ใจ ห่วงใยประชาชน

ชื่อกิจกรรม
แกนนำยุคใหม่ เชี่ยวชาญใส่ใจ ห่วงใยประชาชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย แกนนำชุมชน 31 ชุมชน ชุมชนละ 3 คน คกก.อสม. 20 คน จนท. 10 คน รวมจำนวน 123 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. ลงทะเบียน/ทำแบบสอบถาม Pretest
2. เข้าค่ายอบรมความรู้แต่ละด้าน โดยเจ้าหน้าที่ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เป็นระยะเวลา 2 วัน - ด้านโรคไม่ติดต่อ
- ด้านเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ
- ด้านนมแม่ และเด็ก
- ด้านสุขภาพจิตในชุมชน
- ด้านการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติด
3. Workshop สร้างความรู้ อภิปรายกลุ่มและสาธิต 4. ฝึกปฏิบัติด้วยตนเองในสถาณการณ์จริง ผสมผสานการเรียนรู้สู่การประยุกต์ใช้จริงด้วยตนเองและสอนคนอื่นได้
5. ถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
6. มอบเกียรติบัตรแก่แกนนำที่เข้าร่วมโครงการฯ 7. ทำแบบสอบถาม Posttest
กำหนดการ (วันที่ 1)
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียนอบรมความรู้ /ทำแบบสอบถาม Pretest โดย Application
09.00 - 09.30 น. พิธีเปิดโครงการฯ/การแสดงเปิดโครงการฯ
09.30 - 10.30 น. อบรมให้ความรู้เฉพาะด้านโรคไม่ติดต่อ โดยแพทย์และเจ้าหน้าที่ทีม NCD
10.30 - 11.30 น. อบรมให้ความรู้เฉพาะด้านเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ โดยแพทย์และเจ้าหน้าที่ทีมระบาด
11.30 - 12.00 น. QA ถอดบทเรียน ฟังดีๆมีรางวัล
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 14.00 น. อบรมให้ความรู้เฉพาะด้านนมแม่ และเด็ก โดยแพทย์และเจ้าหน้าที่งานแม่และเด็ก
14.00 - 15.00 น. อบรมความรู้เฉพาะด้านสุขภาพจิตในชุมชน โดยแพทย์
15.00 - 16.00 น. อบรมความรู้เฉพาะด้านป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติด โดยเจ้าหน้าที่งานจิตเวช
16.00 - 16.30 น. ถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้
กำหนดการ (วันที่ 2)
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน Workshop สร้างความรู้ อภิปรายกลุ่มและสาธิต/รับแบบประเมิน
09.00 - 09.30 น. ชี้แจงการเข้ากลุ่ม Workshop 5 สาขา คัดเลือกแกนนำแต่ละสาขา
09.30 - 11.30 น. เข้ากลุ่ม Workshop 5 สาขา ดังนี้
- ด้านโรคไม่ติดต่อ
- ด้านเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ
- ด้านนมแม่ และเด็ก
- ด้านสุขภาพจิตในชุมชน
- ด้านการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติด
11.30 - 12.00 น. ถอดบทเรียนที่ได้อบรม 5 ด้านพร้อมนำเสนอผลลงานแต่ละด้าน โดยใช้ PPT
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 14.00 น. ฝึกปฏิบัติด้วยตนเองในสถานการณ์จริง ผสมผสานการเรียนรู้สู่การประยุกต์ใช้จริงด้วยตนเองและสอนคนอื่นได้
14.00 - 15.00 น.ถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
15.00 - 16.00 น.มอบเกียรติบัตรแก่แกนนำที่เข้าร่วมโครงการฯ และคัดเลือกแกนนำแต่ละสาขา
16.00 - 16.30 น.ถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ /ทำแบบสอบถาม Posttest โดย Application
16.30 น. ปิดโครงการ
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 123 คน x 2 มื้อ x 2 วัน= 14,760 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 123 คน x 2 วัน = 14,760 บาท
- ค่าสื่อประชาสัมพันธ์ (ไวนิลโครงการ) = 1,200 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ ได้แก่ กระเป๋าผ้า, แฟ้ม, สมุด, ปากกา = ชุดละ 80 บาท X 123 ชุด = 9,840 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ ได้แก่ กระดาษซาลาเปา 1 กก. 60 บาท + ปากกาเคมี 12 ด้าม ด้ามละ 15 บาท + กระดาษทำเกียรติบัตร 100 แผ่น 540 บาท + กรอบเกียรบัตรอันละ 120 บาท X 5 อัน = 1,380 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำชุมชนมีความรู้ด้านต่างๆและสามารถให้คำแนะนำหรือส่งต่อความรู้แก่คนในชุมชนได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
41940.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 42,840.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แกนนำชุมชนมีความรู้และทักษะในการการดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชน 5 กลุ่มวัย
2. แกนนำชุมชนสามารถใช้สื่อดิจิตอลด้านสุขภาพและนำความรู้ไปเผยแพร่แก่ประชาชนในชุมชนได้


>