กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบาโงยซิแน ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน

สำนักงานเลขา ฯ กองทุน

ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระบบท้องถิ่นหรือพื้นที่ของกองทุน อปท. เป็นนวัตกรรมที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและภาคีภาคส่วนต่างๆ โดยมุ่งเน้นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคและฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการนสาธารณสุขได้ทั่วถึงมากขึ้น รวมถึงสนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ ส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองและสร้างกลไกในสังคม ที่จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วง จากการดำเนินงานของกองทุนที่ผ่านมา พบว่ายังมีความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาศักยภาพกองทุนและคณะกรรมการกองทุน โดยเฉพาะในเรื่องการบริหารจัดการกองทุนฯ ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบาโงยซิแน จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบโงยซิแน เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือจัดการกองทุนฯ ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามกิจกรรมที่ สปสช.กำหนดในข้อ 10(4)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ ให้แก่โครงการแก่ผู้รับทุน

กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุนไม่น้อยกว่า 90 %

30.00 10.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน

มีจำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ โครงการด้านสุขภาพ(คน)

20.00 21.00
3 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล

จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการ(กลุ่ม/หน่วยงาน)

5.00 6.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่ดีและมีรายงานผลการดำเนินงานดี

เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่ดีและมีรายงานผลการดำเนินงานดี

12.00 16.00
5 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการ ที่มีการส่งผลงานและส่งรายงาน ตรงตามเวลา

ร้อยละของโครงการ ที่มีการสรุปงาน ส่งรายงาน และปิดโครงการ ภายในกำหนด เพิ่มขึ้น

0.00 50.00
6 เพื่อให้มีประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ

เพื่อให้มีประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ

4.00 4.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 27

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการ อนุกรรมการ ที่ปรึกษาและผู้เข้าร่วมประชุม (พี่เลี้ยง) จำนวน 4 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการ อนุกรรมการ ที่ปรึกษาและผู้เข้าร่วมประชุม (พี่เลี้ยง) จำนวน 4 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะกรรมการ อนุกรรมการ ที่ปรึกษาและผู้เข้าร่วมประชุม (พี่เลี้ยง) ครั้งที่ 1
- ค่าตอบแทนคณะกรรมการ ที่ปรึกษา และผู้เข้าร่วมประชุม (พี่เลี้ยง) 20 คนๆ ละ 400 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
- ค่าตอบแทนอนุกรรมการบริหารกองทุนฯ 10 คนๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าตอบแทนบุคคลภายนอกที่เข้าร่วมประชุม 4 คนๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 400 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 34 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท  เป็นเงิน 850 บาท
รวมเป็นเงิน 12,250 บาท
ประชุมคณะกรรมการ อนุกรรมการ ที่ปรึกษาและผู้เข้าร่วมประชุม (พี่เลี้ยง) ครั้งที่ 2
- ค่าตอบแทนคณะกรรมการ ที่ปรึกษา และผู้เข้าร่วมประชุม (พี่เลี้ยง) 20 คนๆ ละ 400 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
- ค่าตอบแทนอนุกรรมการบริหารกองทุนฯ 10 คนๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าตอบแทนบุคคลภายนอกที่เข้าร่วมประชุม 4 คนๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 400 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 34 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท  เป็นเงิน 850 บาท
รวมเป็นเงิน 12,250 บาท
- ค่าตอบแทนคณะกรรมการ ที่ปรึกษา และผู้เข้าร่วมประชุม (พี่เลี้ยง) 20 คนๆ ละ 400 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
- ค่าตอบแทนอนุกรรมการบริหารกองทุนฯ 10 คนๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าตอบแทนบุคคลภายนอกที่เข้าร่วมประชุม 4 คนๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 400 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 34 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท  เป็นเงิน 850 บาท
รวมเป็นเงิน 12,250 บาท
ประชุมคณะกรรมการ อนุกรรมการ ที่ปรึกษาและผู้เข้าร่วมประชุม (พี่เลี้ยง) ครั้งที่ 4
- ค่าตอบแทนคณะกรรมการ ที่ปรึกษา และผู้เข้าร่วมประชุม (พี่เลี้ยง) 20 คนๆ ละ 400 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
- ค่าตอบแทนอนุกรรมการบริหารกองทุนฯ 10 คนๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าตอบแทนบุคคลภายนอกที่เข้าร่วมประชุม 4 คนๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 400 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 34 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท  เป็นเงิน 850 บาท
รวมเป็นเงิน 12,250 บาท
รวมเป็นเงิน 49,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุน
  • การบริหารจัดการกองทุนฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ มีการใช้จ่ายเงินได้ตามเป้าหมาย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
49000.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 2 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 2 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) 10 คนๆ ละ 300 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 6,000 บาท
  • ค่าตอบแทนบุคคลภายนอกที่เข้าร่วมประชุม 3 คนๆ ละ 100 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 600 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 14 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 700 บาท รวมเป็นเงิน 7,300 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงเข้าถึงระบบบริการดูแลผู้ป่วยระยะยาว ไม่น้อยกว่าร้อยละ  80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7300.00

กิจกรรมที่ 3 พัฒนาศักยภาพและฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนฯ

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพและฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนฯ แก่คณะกรรมการ อนุกรรมการ ผู้รับทุน และผู้ที่เกี่ยวข้อง

- ค่าสมนาคุณวิทยากรจำนวน 5 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 75 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท
- ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1 x 3 เมตร จำนวน 1 ผืน (ตารางเมตรละ 300 บาท) เป็นเงิน 900 บาท
- ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 30 ชุดๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าวัสดุในการดำเนินโครงการ เป็นเงิน 3,000 บาท
รวมเงิน 14,250 บาท
2. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บาโงยซิแน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท
- ค่าอาหารครบทุกมื้อ จำนวน 30 คน ๆ ละ 500 บาท 1 วัน เป็นเงิน 15,000 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าของที่ระลึก จำนวน 2 ชิ้นๆ ละ 1,500 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าจ้างเหมารถตู้ จำนวน 2 คัน ๆ ละ5,000 บาท 1 วัน เป็นเงิน 10,000 บาท
- ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.2 x 3 เมตร จำนวน 1 ผืน (ตารางเมตรละ 300 บาท) เป็นเงิน 1,080 บาท
รวมเงิน 34,780 บาท
3. เข้าร่วมประชุม สัมมนา หรือฝึกอบรม กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง - ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเพื่อเข้าร่วมประชุม สัมมนา หรือฝึกอบรม ของคณะกรรมการ อนุกรรมการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าเช่าที่พัก ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ ค่าลงทะเบียน เป็นต้น เป็นเงิน 5,000 บาท
รวมเงิน 5,000 บาท
รวมเป็นเงิน 54,030 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • คณะกรรมการกองทุนได้รับการพัฒนาศักยภาพในด้านต่าง ๆ เช่น การบริหารจัดการกองทุน ฯ การเขียนโครงการในระบบ
  • คณะกรรมการกองทุน ฯ ได้รับความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการกองทุน ฯ
  • คณะกรรมการกองทุน ฯ สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติงานกองทุน ฯ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
54030.00

กิจกรรมที่ 4 จัดทำเอกสารต่างๆ เพื่อการบริหารจัดการกองทุนฯ

ชื่อกิจกรรม
จัดทำเอกสารต่างๆ เพื่อการบริหารจัดการกองทุนฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำเอกสารต่างๆ เพื่อการบริหารจัดการกองทุนฯ เช่น เอกสารประกอบการประชุม รายงานการประชุม รายงานผลการดำเนินงานโครงการ เป็นต้น

- ค่าถ่ายเอกสาร/ค่าจัดทำรูปเล่มรายงาน เป็นเงิน 3,000 บาท
รวมเงิน 3,000 บาท
2. กิจกรรมย่อยจัดซื้อวัสดุสำนักงานที่จำเป็นในการบริหารจัดการกองทุนฯ เช่น กระดาษ แฟ้ม สมุด ปากกา ดินสอ คลิปหนีบกระดาษ ที่เย็บกระดาษ เป็นต้น
- ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 1,670 บาท
รวมเงิน 1,670 บาท
รวมเป็นเงิน 4,670 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

การบริหารจัดการกองทุน ฯ มีวัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการดำเนินงานที่มีคุณภาพและเพียงพอต่อความต้องการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4670.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 115,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.การบริหารจัดการกองทุนฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ มีการใช้จ่ายเงินได้ตามเป้าหมาย
2.คณะกรรมการ และอนุกรรมการบริหารกองทุนฯ ได้รับการพัฒนาศักยภาพตามความเหมาะสม และมีความสามารถในการบริหารจัดการกองทุนฯ ได้อย่างมีปนะสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3.ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนฯ และนำไปพัฒนาส่งเสริมกิจกรรมด้านสุขภาพในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม


>