กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อและโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ หมู่ที่ 3 ตำบลหารเทา

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อและโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ หมู่ที่ 3 ตำบลหารเทา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมู่ที่ 3 ต.หารเทา

นายมะยูโส๊ะ มิง
นส.อัสมา ฤทธิโต
นางบุุหงา นิสะสิกิ
นส.บุศริน ฤทธิ์โต
นางวรดา จิตรหมั้น

หมู่ที่ 2 ต.หารเทา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของดัชนีลูกน้ำยุงลายในบ้านเรือน(HI)

 

56.00
2 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

34.00
3 อัตราการป่วยของ ปชช.ด้วยไข้เลือดออกในพื้นที่(ต่อแสน ปชก.)

 

105.00

ในปัจจุบันโรคติดต่อที่นำโดยแมลงและโรคติดต่อจากสาเหตุอื่นๆนั้นนับว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในระดับประเทศและจากภาวะโรคร้อนอากาศแปรปรวนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโรคติดต่อที่สำคัญ เช่น โรคไข้เลือดออกโรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ โรคไข้หวัดไข้หวัดใหญ่ และโรคติดต่ออื่น ๆ เพื่อเป็นการดูแลผู้ป่วยและเฝ้าระวังโรคติดต่อที่สำคัญแก่ประชาชนในเขตรับผิดชอบของหมู่ที่ 3 บ้านม่วงทวน ตำบลหารเทา ซึงมีจำนวน 337ครัวเรือน ปี 2566 มีผู้ป่วย จำนวน 27คน คนคิดเป็นอัตราป่วย1,918.97 ต่อแสนประชากรดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย(HI) ในครัวเรือน เท่ากับ 56 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงสูงในการเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญแก่ประชาชนในเขตรับผิดชอบ เพื่อพัฒนาศักยภาพ ทักษะส่วนบุคคลและชุมชนให้เกิดความพร้อม ครบถ้วนของการเฝ้าระวังและการสอบสวนโรคและส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ พร้อมทั้งเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 3 บ้านม่วงทวนตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูนจังหวัดพัทลุง รวมถึงภาคีเครือข่ายอื่นๆ ในชุมชน ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาโรคติดต่อและปัจจัยของภัยสุขภาพอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จึงดำเนินการจัดโครงการควบคุม ป้องกันโรคติดต่อและโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2567ขึ้น เพื่อดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชน รวมถึงเป็นการสร้างเกราะป้องกันและรณรงค์ให้เกิดจิตสำนึกของชุมชนให้มีส่วนร่วมในการสร่างสุขภาพที่ดี ส่งผลต่อการลดลงของอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชนของและการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดดัชนีลูกน้ำยุงลายในบ้าน เรือน(HI)ลง

ร้อยละของดัชนีลูกน้ำยุงลายในบ้าน เรือน(HI)

56.00 10.00
2 เพื่อลดอัตราการป่วยของ ปชช.ด้วยไข้ เลือดออกในพื้นที่(ต่อแสน ปชก.)ลง

อัตราการป่วยของ ปชช.ด้วยไข้เลือดออก ในพื้นที่(ต่อแสน ปชก.)

105.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 20
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 337
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจง ผู้นำชุมชน/อสม./จิตอาสา/ทีมสุขภาพ เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการและจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจง ผู้นำชุมชน/อสม./จิตอาสา/ทีมสุขภาพ เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการและจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจง ผู้นำชุมชน/อสม./จิตอาสา/ทีมสุขภาพ เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการและจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับกลุ่มเป้าหมาย
มีค่าใช้จ่าย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 50 คน x 25 บาท x 2 ครั้ง เป็นเงิน2,500 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆ 600บาท จำนวน 2ครั้ง เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าวัสดุในการจัดประชุม จำนวน 50 ชุด x 30 บาท เป็นเงิน1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้นำชุมชน/อสม./จิตอาสา/ทีมสุขภาพประชาชน รับทราบการดำเนินงานตามโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7600.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ และการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในระดับครัวเรือนและชุมชนตามวิถีชุมชน -เก็บกวาดบ้าน กำจัดขยะ แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกวันศุกร์

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ และการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในระดับครัวเรือนและชุมชนตามวิถีชุมชน -เก็บกวาดบ้าน กำจัดขยะ แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกวันศุกร์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ และการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในระดับครัวเรือนและชุมชนตามวิถีชุมชน -เก็บกวาดบ้าน กำจัดขยะ แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกวันศุกร์
มีค่าใช้จ่าย
-ค่าถ่ายเอกสารแบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย ชุดละ 2 บาท จำนวน 500ชุด เป็นเงิน 1,000 บาท
- ค่าจัดซื้อไฟฉายสำรวจลูกน้ำยุงลายจำนวน 32 ชุด ชุดละ150 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
- ค่าจัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ และป้ายรณรงค์ในพื้นที่ จำนวน3ป้ายๆ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันและ ควบคุมโรคไข้เลือดออก เพิ่มมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7600.00

กิจกรรมที่ 3 กรณีเกิดโรคระบาด - จัดทีมควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) เพื่อควบคุมการระบาดของโรคอย่างทันท่วงที (0-3-7) - ใส่ทรายทีมีฟอส พ่นยาในบ้านผู้ป่วยและผู้สัมผัสโรค - ทีม อสม. แกนนำครอบครัว และจิตอาสา ร่วมกันออกเร่งรัดควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กรณีเกิดโรคระบาด - จัดทีมควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) เพื่อควบคุมการระบาดของโรคอย่างทันท่วงที (0-3-7) - ใส่ทรายทีมีฟอส พ่นยาในบ้านผู้ป่วยและผู้สัมผัสโรค - ทีม อสม. แกนนำครอบครัว และจิตอาสา ร่วมกันออกเร่งรัดควบคุมโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รณีเกิดโรคระบาด
- จัดทีมควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) เพื่อควบคุมการระบาดของโรคอย่างทันท่วงที (0-3-7)
- ใส่ทรายทีมีฟอส พ่นยาในบ้านผู้ป่วยและผู้สัมผัสโรค
- ทีม อสม. แกนนำครอบครัว และจิตอาสา ร่วมกันออกเร่งรัดควบคุมโรคไข้เลือดออก
มีค่าใช้จ่าย
ค่าจัดซื้อสเปรย์กำจัดยุงลายจำนวน 50กระป๋อง กระป๋อง ละ 80 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
ค่าจัดซื้อโลชั่นทากันยุงจำนวน 50ขวดขวดละ60 บาท เป็นเงิน3,000 บาท
ค่าสารเคมีพ่นและทรายอะเบต จำนวน 2 ถังๆ 4,000 บาท เป็นเงิน 8,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ประชาชนในชุมชนให้ความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
  • ทุกหมู่บ้าน มีวัสดุอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ สำหรับการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเพียงพอ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

กิจกรรมที่ 4 จัดประกวดบ้านปลอดลูกน้ำยุงลายติดตามผลการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและจัดสิ่งแวดล้อมในบริเวณบ้านทุกสัปดาห์ โดย อสม.

ชื่อกิจกรรม
จัดประกวดบ้านปลอดลูกน้ำยุงลายติดตามผลการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและจัดสิ่งแวดล้อมในบริเวณบ้านทุกสัปดาห์ โดย อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประกวดบ้านปลอดลูกน้ำยุงลายติดตามผลการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและจัดสิ่งแวดล้อมในบริเวณบ้านทุกสัปดาห์ โดย อสม.
มีค่าใช้จ่าย
- ค่าของขวัญ รางวัลประกวดบ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย3,000 บาท
- ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในการออกปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก เป็นเงิน2,000 บาท
- ค่าตอบแทนกรรมการประกวดบ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย เป็นเงิน3,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตรวจประเมินบ้าน จำนวน 300ครัวเรือน มีครอบครัวต้นแบบ จำนวน 10 ครอบครัว ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ไม่เกิน 10

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 38,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการเฝ้าระวังโรค การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชนเพิ่มขึ้น
2. ชุมชนมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันในชุมชน
3. ชุมชนมีการเร่งรัดในการเฝ้าระวัง การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องขึ้น
4. ประชาชนในชุมชนได้รับการสนับสนุนให้มีส่วนร่วมในการการเฝ้าระวังโรค การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชนเพิ่มขึ้น
5. อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อในชุมชนคงที่หรือลดลง


>