กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านต๊ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมอาหารปลอดภัยและคุ้มครองผู้บริโภค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านต๊ำ

ประชาคมเอดส์ตำบลบ้านต๊ำ

นายประพันธ์ มูลเข้า

เทศบาลตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา และวัดต๊ำม่อน หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่ประชาคมเอดส์ได้เข้าร่วมเป็นองค์กรในการขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับสภาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดพะเยามีนโยบายดำเนินการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง รวมทั้งอาหารเสริมในร้านชำ มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคในชุมชน เนื่องจากได้มีการลงสำรวจร่วมกับทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา ยังพบว่าในตำบลบ้านต๊ำ มีร้านในชุมชนมีการจำหน่าย และรถขายยาเร่ขายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน การขายยาต้องห้าม ประกอบกับปัจจุบันผู้บริโภคส่วนใหญ่หันมาซื้อผลิตภัณฑ์สินค้าทางสื่อออนไลน์ มีการโฆษณาชวนเชื่อผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริง ผู้บริโภคที่ขาดความรู้ในการบริโภค และในปัจจุบันสื่อออนไลน์ยังเป็นช่องทางหนึ่งที่พวกมิจฉาชีพ แก็งคอลเซ็นเตอร์นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการหลอกลวง ประชาชนอาจตกเป็นเหยื่อหรือเกิดอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพจากการหลงเชื่อโฆษณาดังกล่าว ดังนั้น การเฝ้าระวังการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานในชุมชน การโฆษณาชวนเชื่อ การเฝ้าระวังร้านชำขายยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานในชุมชน เพื่อให้ชุมชนปลอดภัยจากการบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ในการนี้ประชาคมเอดส์ตำบลบ้านต๊ำ เป็นองค์กรภาคประชาชนภายใต้การทำงานร่วมกับสภาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดพะเยาได้เล็งเห็นความสำคัญในการเฝ้าระวัง ป้องกันและดูแล จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมอาหารปลอดภัยและคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อพัฒนาระบบการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ดูแลให้ประชาชนให้ได้รับการบริการ อาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย ตลอดจนได้รับการคุ้มครองสิทธิในการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีเครือข่ายและเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดำเนินสร้างพื้นที่ปลอดภัยขึ้นในตำบล ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อให้พัฒนาศักยภาพให้ประชาชนทั่วไป อสม. และผู้ป่วยความดันเบาหวานและการเข้าถึงสิทธิการคุ้มครอง
ผู้บริโภคด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ เฝ้าระวังสถานประกอบการ
ร้านค้าชำในตำบลจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย
2.เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน ความดัน และประชาชนทั่วไป รู้เท่าทันการถูกกลโกงการขายสินค้าออนไลน์ และการถูก
หลอกลวงจากพวกมิจฉาชีพ แก็งคอลเซ็นเตอร์
3.เพื่อให้ประชาชนทั่วไป อสม. และผู้ป่วยความดันเบาหวานมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังการโฆษณาผลิตภัณฑ์
สุขภาพ และมีความรู้เรื่องช่องทางในการร้องเรียนด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ การถูกหลอกลวงจากพวกมิจฉาชีพ
แก๊งคอลเซ็นเตอร์

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 70
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมสร้างการเรียนรู้ในบริโภคอาหารที่ปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
อบรมสร้างการเรียนรู้ในบริโภคอาหารที่ปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหาร จำนวน 60 คนๆละ 70 บาท/มื้อ เป็นเงิน  4,200 บาท 2.ค่าอาหารว่าง จำนวน 60 คนๆละ 20 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน  2,400 บาท 3.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท เป็นเงิน  3,000 บาท 4.ค่าป้ายโครงการ เป็นเงิน 500 บาท 5.ค่าบำรุงสถานที่ เป็นเงิน  1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มิถุนายน 2566 ถึง 15 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้อบรมได้เรียนรู้ในบริโภคอาหารที่ปลอดภัย  พรบ.การคุ้มครองผู้บริโภค เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง รวมทั้งอาหารเสริมในร้านชำ การเฝ้าระวังร้านค้าจำหน่ายยาต้องห้าม และช่องทางร้องเรียนหรือการแจ้งเบาะแส

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11100.00

กิจกรรมที่ 2 ลงพื้นที่สำรวจแนะนะผู้ประกอบการร้านค้าในตำบล

ชื่อกิจกรรม
ลงพื้นที่สำรวจแนะนะผู้ประกอบการร้านค้าในตำบล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหาร จำนวน 10 คนๆละ 70 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 1,400  บาท 2.ค่าอาหารว่าง จำนวน 10 คน ๆละ 20 บาท จำนวน 4 มื้อ เป็นเงิน  800  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 สิงหาคม 2566 ถึง 24 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สร้างความรู้ความเข้าใจให้ไม่จำหน่ายยาต้องห้าม สินค้า ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2200.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมสัมมนาในการถอดบทเรียน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้ที่ผ่านการอบรม

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสัมมนาในการถอดบทเรียน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้ที่ผ่านการอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหาร จำนวน 50 คนๆละ 70 บาท/มื้อ เป็นเงิน  3,500 บาท
2.ค่าอาหารว่าง จำนวน 50 คนๆละ 20 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน  2,000 บาท 3.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท เป็นเงิน  3,000 บาท 4.ค่าป้ายกิจกรรม  เป็นเงิน 500 บาท 5.ค่าบำรุงสถานที่ เป็นเงิน 1,000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 กันยายน 2566 ถึง 10 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้ที่ผ่านการอบรม และการเฝ้าระวังการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพในระดับหมู่บ้าน และตำบล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนทั่วไป อสม. และผู้ป่วยความดันเบาหวาน มีศักยภาพ และการเข้าถึงสิทธิการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ
2.ผู้ป่วยเบาหวาน ความดัน และประชาชนทั่วไปเห็นความสำคัญ และเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ เฝ้าระวังสถานประกอบการ ร้านค้าชำในตำบลจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย
3.ประชาชนทั่วไป อสม. และผู้ป่วยความดันเบาหวานมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเข้าถึงช่องทางการร้องเรียนด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในระดับตำบล


>