กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการกองทุนสวัสดิการชุมชนร่วมใจถนนปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ ร่วมใจลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ตำบลบ้านต๊ำ ประจำปี2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านต๊ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการกองทุนสวัสดิการชุมชนร่วมใจถนนปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ ร่วมใจลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ตำบลบ้านต๊ำ ประจำปี2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านต๊ำ

กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านต๊ำ

นายบรรจง อ้อยหอม

เทศบาลตำบลบ้านต๊ำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อุบัติเหตุทางถนนเป็นปัญหา สำคัญที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บ การเจ็บป่วย การสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของของผู้ใช้รถใช้ถนนและสร้างความสูญเสียต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศชาติซึ่งรัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวฯจึงประกาศให้ปี พ.ศ. 2554 – 2563เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนนของประเทศไทย ภายใต้กรอบปฏิญญามอสโก เพื่อลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนให้ต่ำกว่า 10คนประกอบกับทางจังหวัดพะเยา โดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาได้ประกาศ วาระจังหวัดพะเยาเรื่อง “การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนจังหวัดพะเยาตลอดทั้งปี”เพื่อลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประขาขน สร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัย ทางถนนอย่างเข้มข้น จริงจัง ให้เกิดความตระหนัก เสริมสร้างความมีวินัยในการใช้รถใช้ถนน และนำไปสู่การสร้าง วัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนอย่างยั่งยืน
ดังนั้นเพื่อให้การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและประชาชนทั่วไปในพื้นที่ตำบลบ้านต๊ำ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสร้างเสริมสุขภาวะและสิ่งแวดล้อมการสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยที่มีผลกระทบต่อประชาชนในด้านอุบัติเหตุทางถนน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านต๊ำ จึงได้จัดทำโครงการกองทุนสวัสดิการชุมชนร่วมใจถนนปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ ร่วมใจลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ตำบลบ้านต๊ำประจำปี2566 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อเป็นการรณรงค์ สร้างความรู้ การป้องกันการเจ็บป่วย จากอุบัติเหตุบนท้องถนนและการขับขี่ยวดยานพาหนะต่างๆ
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องกฎหมายจราจรทางบก, มารยาทในการขับรถ และเทคนิคการขับรถอย่างปลอดภัยในสถานการณ์ต่าง ๆ
3. เพื่อสร้างความตระหนักและเสริมสร้างวินัยจราจร ปลูกฝังจิตสำนึกให้กับคนในชุมชน ประชาชน การมีส่วนร่วมในการขับขี่อย่างปลอดภัย และช่วยป้องกันลดอุบัติเหตุทางถนน
4. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้เกี่ยวกับ พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ , สิทธิประโยชน์ ต่าง ๆ เมื่อเกิดอุบัติเหตุรวมถึงสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่และ ถ่ายทอดให้กับประชาชนและผู้ที่สนใจ เพื่อขยายผลไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 09/06/2023

กำหนดเสร็จ 09/06/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดทำโครงการฯ เพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุน สปสช.ทต.บ้านต๊ำ

ชื่อกิจกรรม
จัดทำโครงการฯ เพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุน สปสช.ทต.บ้านต๊ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่มีงบประมาณในการจัดทำโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 1 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เสนอโครงการให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านต๊ำ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่มีงบประมาณในการประชุมคณะกรรมการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 พฤษภาคม 2566 ถึง 5 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ประสานงานวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมโครงการฯ

ชื่อกิจกรรม
ประสานงานวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมโครงการฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่มีงบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 พฤษภาคม 2566 ถึง 5 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 จัดฝึกอบรม

ชื่อกิจกรรม
จัดฝึกอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าตอบแทนวิทยากร    (....5….ชั่วโมงๆละ.....600.......บาท )                                  เป็นเงิน......3,000.....บาท
  2. ค่าอาหาร สำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน....60….คนๆละ....70...บาท จำนวน.....1... มื้อ   เป็นเงิน.....4,200......บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน….60…..คนๆ  ละ...20...บาทต่อมื้อ จำนวน….2....มื้อ   เป็นเงิน......2,400......บาท
  4. ค่าจัดทำป้ายโครงการฯ               จำนวน....1....ผืน                                    เป็นเงิน.......500........บาท
  5. ค่าสถานที่ในการฝึกอบรม                                                                           เป็นเงิน.......1,000......บาท
  6. ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรม จำนวน...60....ชุดๆ ละ….40.. แผ่นๆละ50 สตางค์     เป็นเงิน.......1,200......บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
9 มิถุนายน 2566 ถึง 9 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 90 ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ในเรื่องกฎจราจรทางบก, ความรู้เกี่ยวกับ พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ,สิทธิประโยชน์ ต่าง ๆ และมีส่วนร่วมการบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สมาชิกกองทุนสวัสดิการมีสุขภาพที่ดี สามารถลดความเสี่ยงลดการเจ็บป่วยจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในพื้นที่ได้
2. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องกฎจราจรทางบก,มารยาทในการขับรถ และเทคนิคการขับรถอย่างปลอดภัยในสถานการณ์ต่าง ๆ
3.ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดความตระหนักและเสริมสร้างวินัยจราจร มีจิตสำนึกด้านความปลอดภัยทางถนน และมีส่วนร่วมในการขับขี่อย่างปลอดภัย และช่วยป้องกันลดอุบัติเหตุทางถนน ได้
4. ผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้เกี่ยวกับ พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ,สิทธิประโยชน์ ต่าง ๆ เมื่อเกิดอุบัติเหตุรวมถึงสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่และ ถ่ายทอดให้กับประชาชนและผู้ที่สนใจ เพื่อขยายผลไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง


>