กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพกายและใจ อสม.ห่างไกลภาวะซึมเศร้า ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ชมรม อสม. เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

นายกามารอเด็ง มามะ ประธานชมรม
นายวัศริศ เจีะเลาะ
นายถาวร ชุ่มมงคล
นางจารินี เหาะสัน
นางสุมิตรา อูมา

เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคซึมเศร้า มีสาเหตุหลักที่เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง และสาเหตุอื่นๆ ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจการเงิน ความผิดหวัง ความสัมพันธ์ ความรัก ความสูญเสีย เป็นต้น หากไม่สามารถจัดการกับปัญหาได้ จะทำให้ทุกปัญหากลายเป้นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวล จนพัฒนาไปสู่ภาวะซึมเศร้า และคิดทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวตายได้ และอาการของโรคซึมเศร้า ได้แก่ เศร้า หดหู่ เบื่อหน่าย หงุดหงิด ฉุนเฉียว ไม่มีสมาธิ นอนไม่หลับ มีความคิดอยากตาย สถานการณ์ป่วยโรคซึมเศร้า นำไปสู่การฆ่าตัวตาย กำลังเป็นปัญหาคุกคามสังคมไทย มีคนไทยอย่างน้อย 1.5 ล้านคนป่วยเป้นโรคซึมเศร้า ปี 2565 มีผู้พยายยามฆ่าตัวตาย 6 คนต่อชั่วโมง ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ามีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงกว่าคนทั่วไปถึง 20 เท่า และ 70 เปอร์เซ็นของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ในประเทศไทยมีผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว โดยที่ผู้ป่วยจำนวนมากเข้าไม่ถึงการรักษา ซึ่งผู้ที่ป่วยรุนแรงจะนำไปสู่การพยายามฆ่าตัวตาย อ้างอิงข้อมูลจากศูนย์โรคซึมเศร้าไทยกรมสุขภาพจิต ระบุว่า คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ปวยเป็นโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน โดยเฉลี่ยผู้ป่วยจำนวน 100 คน เข้าถึงการรักษาเพียง 28 คนเท่านั้น นอกจากนี้ ยังพบว่าเพศหญิงมีอัตราการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าเพศชาย แต่เพศชายมีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่า โดยในปี 2565 คนไทยพยายามฆ่าตัวตายชั่วโมงละ 6 คน หรือทั้งปีมากกว่า 53,000 คน และเสียชีวิตราว 4,000 คน การฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของไทย โดยข้อมูลจากศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายระดับชาติ กรมสุขภาพจิต ระบุว่าจำนวนผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ สาเหตุจากภาวะซึมเศร้า 10 % ขณะที่สาเหตุการฆ่าตัวตายส่วนใหญ่มาจากปัญหาอื่นๆ เช่น ด้านความสันพันธ์ ฯลฯ นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ภาวะซึมเศร้าเป้นภัยเงียบของสุขภาพ เป้นได้ทุกวัย หากไม่ได้รับการแก้ไขจะมีผลกระทบรุนแรง ทำงานหรือเรียนหนังสือไม่ได้ อนาคตในอีก 18 ปี ข้างหน้าจะส่งผลกระทบกลายเป็นภาระการดูแลรักษาอันตับ 1 ของทั่วโลก สำหรับแนวทางการป้องกันและแก้ขปัญหาภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย สามารถป้องกันได้ โดยใช้หลัก 3 ส. คือ สอดส่องมองหา ใส่ใจรับฟัง และส่งต่อ เชื่อมโยงผู้ที่มีความเครียดวิตกกังวลกับปัญหาที่เผชิญอยู่ จะมีผลต่อสมาธิและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน ซึ่งคนรอบข้างสามารถสังเกตอาการและพฤติกรรมที่ผิดปกติ ได้แก่ อาการเหม่อลอย ไม่ร่าเริงแจ่มใส เชื่องช้า ทำกิจกรรมต่างๆน้อยลง เมื่อพบเห็นภาวะดังกล่าว คนรอบข้าง คนใกล้ชิด รวมทั้งครอบครัว ต้องรีบเข้าไปพูดคุยร่วมกันหาสาเหตุ รับฟังปัญหาอย่างเข้าใจและใส่ใจ ให้การช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา หรือส่งต่อแพทย์ได้อย่างทันท่วงที เพื่อเข้ารับการดูแลและรักษาอย่างถูกวิธี จะทำให้อาการดีขึ้นและหายขาดได้
ชมรม อสม. มีสมาชิกในชมรมทั้งหมด 187 คน ซึ่งในปัจจุบันภาระหน้าที่ของ อสม. เริ่มมีบทบาทและหน้าที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเครียดจากการทำงานและอาจนำไปสู่ภาวะการเป็นโรคซึมเศร้าได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและคัดกรองเบื้องต้นแก่สมาชิกในชมรม จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ อสม. มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าและสามารถให้คำแนะนำต่อแก่ผู้อื่นได้

อสม. มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้ามากกว่าร้อยละ 80

0.00
2 2. เพื่อให้ อสม. ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะซึมเศร้า

อสม. ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะซึมเศร้าร้อยละ 90

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 200
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/09/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้และตรวจคัดกรองภาวะซึมเศร้า

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้และตรวจคัดกรองภาวะซึมเศร้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย อสม.เทสบาลเมืองสุไหงโก-ลก จำนวน 207 คน
รายละเอียดกิจกรรม ดังนี้
- อบรมให้ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้า
- ตรวจคัดกรองภาวะซึมเศร้า
กำหนดการ
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 - 12.00 น. อบรมให้ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้า
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.00 - 16.00 น. กิจกรรมกลุ่ม/คัดกรองภาวะซึมเศร้า และกิจกรรม อสม. ออกกำลังกายคลายเครียดด้วยผ้าขาวม้า
งบประมาณ
- ค่าตอบแทนวิทยากร (ช่วงเช้า) 600 บาท x 3 ชม. เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร (ช่วงบ่าย) 300 บาท x 6 คน x 3 ชม. เป็นเงิน 5,400 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 207 คน x 60 บาท เป็นเงิน 12,420 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 207 คน x 30 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 12,420 บาท
- ผ้าขาวม้า 200 ผืน x 100 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่นๆที่จำเป็น ได้แก่ ปากกา สมุด เป็นต้น เป็นเงิน 2,000 บาท
- ค่าป้ายโครงการ เป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ความรู้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
55240.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 55,240.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อสม. มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้า และสามารถให้คำแนะนำต่อแก่ผู้อื่นได้
2. อสม. ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะซึมเศร้าเบื้องต้น


>