กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก รหัส กปท. L6961

อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการอบรมฟื้นฟูผู้ดูแลผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มึภาวะพึ่งพิง ประจำปี 2567
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
กลุ่มคน
นายพิทักศิษย์พานิชธนาคม ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขฯ
นางสาวอรุณวาตี สิทธิเส็ม หัวหน้าฝ่ายบริการสาธารณสุข
นางสาวรอซีดาเจ๊ะแว พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ 064-0477513
นางสาวพนิดารัตนสุริยา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 0973452068
3.
หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าโครงสร้างประชากรไทยอยู่ในระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะประชากรสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ปี 2566 ประชากรไทยที่อายุ 60 ปีขึ้นไป จะมีมากถึงร้อยละ 20 เรียกว่าเป็น " สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์" และจะเป็น " สังคมสูงวัยระดับสุดยอด" จึงคลาดว่าในปี 2574 เมื่อประชากรสูงอายุเพิ่มเป็น ร้อยละ 28 ผลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย พบว่า ผู้สูงอายุเป็นโรคเรื้อรัง (โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคหลอดเลือดสมอง) และมีภาวะถดถอยของสมรรถนะทางร่างกายซึ่งลักษณะการอยู่อาศัยของครอบครัวไทย ผู้สูงอายุที่อยู่ลำพังกับคู่สมรส หรืออยู่ตามลำพังคนเดียว มีจำนวนมากขึ้นผู้สูงอายุวัยปลาย (อายุ 80 ปีขึ้นไป) มีมากถึงร้อยละ 25 ที่ต้องการการดูแลปรนนิบัติ แต่มีผู้สูงอายุที่ต้องการดูแล แต่ไม่สามารถมีผู้ดูแลได้ เป็นสัดส่วนมากถึง ร้อยละ 4 ของผู้สูงอายุวัยปลายทั้งหมด จากสถานการณ์ และแนวโน้มของสัดส่วนผู้สูงอายุ และความเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังทั้งทางกาย และจิตใจ รัฐบาลจึงจำเป็นต้องมีการเตรียมระบบการดูแลสุขภาพของประชากรผู้สูงอายุ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) จึงได้จัดตั้งคณะทำงานพัฒนาประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข ด้านการดูแลระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง และสนับสนุนให้จัดหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ โดยดำเนินการภายใต้ศูนย์พัฒนา และฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และคนพิการ ทั้งนี้ ให้จัดตั้ง และกำกับ หรือดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานของรัฐ (ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2560) ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโกลก พบว่าประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากปี พ.ศ. 2563 ผู้สูงอายุมีทั้งหมด5,866 คน คิดเป็นร้อยละ 14.37 ปี พ.ศ. 2564 จำนวน 6,075 คน คิดเป็นร้อยละ 14.95 และปี พ.ศ. 2565 จำนวน 6,203 คน คิดเป็นร้อยละ 15.43 ตามลำดับ ซึ่งมีกลุ่มผู้สูงอายุมีติดบ้านติดเตียง ในปี 2565 จำนวน 57 คน ส่งผลให้ผู้สูงอายุบ้างกลุ่มที่มีโรคประจำตัว ติดบ้านติดเตียงหลังจากกลับรักษาตัวที่โรงพยาบาลแล้ว ไม่สามารถดูแลตนเองได้ และผู้ดูแลขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงขณะอยู่ที่บ้านบางรายนอนติดเตียงนานจึงทำให้เกิดภาวะ มีแผลกดทับ อักเสบรุนแรง ข้อติดแข็ง ตามร่างกาย ส่งผลให้ผู้สูงอายุต้องกลับไปรักษาตัวอีกครั้งในโรงพยาบาล และส่งผลกระทบต่อการเพิ่มของความต้องการค่าใช้จ่ายด้านการดูแลรักษาพยาบาล ทั้งนี้หากผู้สูงอายุปรับตัวได้ทันกับความเปลี่ยนแปลงก็จะสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข เกิดความพึงพอใจในชีวิต แต่ถ้าไม่พร้อมหรือปรับตัวไม่ได้และไม่ดีพอ จะส่งผลให้เกิดความรู้สึกว่าตนเองโดดเดี่ยวเหงา ถูกทอดทิ้ง มีความวิตกกังวล ท้อแท้ไม่อยากมีชีวิตอยู่ รู้สึกคุณค่าในชีวิตลดน้อยลง ทั้งนี้การดูแลทางด้านจิตใจเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นภาวะความเครียด ความวิตกกังวล ความเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายจากภาวะร่างกายที่เสื่อมถอยด้วยโรคที่เป็นอยู่ ผู้สูงอายุบางคนอาจมีภาวะโรคซึมเศร้าแอบแฝงอยู่อย่างไม่รู้ตัว ซึ่งผู้ดูแลและคนใกล้ชิดต้องหมั่นคอยสังเกตว่าลักษณะการแสดงออกแบบใด ที่เป็นสัญญาณน่าห่วงในเรื่องสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ดังนั้นทางกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในวัยผู้สูงอายุและความรู้ทักษะ พื้นฐานในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมได้อย่างแท้จริงรวมถึงได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริม ป้องกัน มุ่งเน้นการมีส่วนรวมของผู้ดูแลผู้สูงอายุและครอบครัว โดยจะประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอลเท่ากับหรือน้อยกว่าสิบเอ็ดคะแนน ตามหลักเกณฑ์ การประเมินที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด จำแนกเป็นกลุ่มเป้าหมาย ออกเป็น ๔ กลุ่มและตามนโยบายขององค์กรปกครองท้องถิ่น เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงได้จัดทำโครงการ “อบรมฟื้นฟูผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตเทศบาล” ผู้จัดคาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ดูแลผู้สูงอายุและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีไม่เป็นภาระต่อสังคมและครอบครัวอีกต่อไป

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อให้ผู้ดูแลมีความรู้ด้านสุขภาพในวัยผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
    ตัวชี้วัด : ร้อยละผู้ดูแลมีระดับคะแนนความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพในวัยผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเพิ่มขึน ร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 80.00
  • 2. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ดูแลมีส่วนร่วมในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
    ตัวชี้วัด : ร้อยละผู้ดูแลมีส่วนร่วมในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเพิ่มขึ้นและถูกต้อง ร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 80.00
  • 3. เพื่อให้ผู้ดูแลมีความรู้การเฝ้าระวังภาวะเสี่ยงและการเจ็บป่วยในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
    ตัวชี้วัด : ร้อยละผู้ดูแลมีความรู้เฝ้าระวังภาวะเสี่ยงและการเจ็บป่วยในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 80.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. อบรมฟื้นฟูผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
    รายละเอียด

    กลุ่มเป้าหมาย ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 30 คน คณะทำงาน 5 คน รายละเอียดกิจกรรม
    จัดอบรมฟื้นฟูการดูแลผู้สูงอายุแก่ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก เป็นระยะเวลา 1 วัน โดยเชิญวิทยากรจากโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
    กำหนดการ 08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน /เปิดโครงการ /ทำแบบทดสอบก่อนให้ความรู้
    09.00 - 12.00 น. วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญในกลุ่มวัยผู้สูงอายุ /ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและโรคต่างๆรวมถึงภาวะเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในกลุ่มวัยผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง/การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยบุคคลต้นแบบ
    12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
    13.00 - 14.00 น. วิทยากรให้ความรู้เรื่อง............................................(โดยนักแพทย์แผนไทย)
    14.00 - 16.00 น. วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายในวัยผู้สูงอายุ ติดบ้านติดเตียง(โดยนักกายภาพบำบัด)
    16.00 - 16.30 น. ทำแบบทดสอบหลังให้ความรู้การดูแลผู้สูงอายุ
    งบประมาณ
    1. ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท x 6 ชม. x 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท
    2. ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 35 คน x 1 วัน เป็นเงิน 2,100 บาท
    3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 35 คน x 2 มื้อ x 1 วัน เป็นเงิน 2,100 บาท
    4. ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม เป็นเงิน 3,000 บาท
    5. ค่าป้ายโครงการ 1,200 บาท

    งบประมาณ 12,000.00 บาท
  • 2. จัดทำสื่่อการเรียนรู้ เพื่อการดูย้อนหลัง
    รายละเอียด

    ชื่อกิจกรรม จัดทำสื่่อการเรียนรู้ เพื่อการดูย้อนหลัง
    รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
    รายละเอียดกิจกรรม
    - ประสานเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์บันทึกการอบรมเพื่อจัดทำสื่อการอบรมย้อนหลัง เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเข้าร่วมการอบรมได้ศึกษาย้อนหลังได้
    งบประมาณ
    - ไม่ใช้งบประมาณ

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 3. เยี่ยมบ้านร่วมกับผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตเทศบาล
    รายละเอียด

    กลุ่มเป้าหมาย ผู้ดูแลผู้สูงอายุ 5 คน คณะทำงานและสหวิชาชีพ 10 คน รายละเอียดกิจกรรม
    - เยี่ยมบ้านร่วมกับผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตเทศบาล
    งบประมาณ
    - ค่าตอบแทนผู้ดูแลผู้สูงอายุ 5 คน x 50 บาท x 2 ชม. เป็นเงิน 500 บาท
    - ค่านมจืดส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 80 บาท x 10 แพ็ค เป็นเงิน 800 บาท
    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 15 คน เป็นเงิน 450 บาท กำหนดการ 09.30 น. - 10.00 น. รวมทีมและประชุมก่อนลงเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุร่วมกับผู้ดูแลในเขตเทศบาล
    10.00 น. - 12.00 น. ลงเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุร่วมกับผู้ดูแลในเขตเทศบาล

    งบประมาณ 1,750.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567

8.
สถานที่ดำเนินการ

เขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 13,750.00 บาท

หมายเหตุ : สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. ผู้ดูแลมีความรู้ด้านสุขภาพของวัยผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
  2. ผู้ดูแลมีส่วนร่วมในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
  3. ผู้ดูแลมีความรู้ เฝ้าระวังภาวะเสี่ยงและการเจ็บป่วยในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก รหัส กปท. L6961

อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก รหัส กปท. L6961

อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 13,750.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................