กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ สตรีตำบลกายูคละ ใส่ใจสุขภาพด้วยแพทย์แผนไทย ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

กลุ่มสตรตำบลกายูคละ

1. นางสาวรุสลีณา สังยวน
2. นางสาวเจ๊ะรอสนานิงโอล่า
3. นางสาวตอรีฮะยาลี
4. นางสาวมารียา ยูโซ๊ะ
5. นางสูรีนา เจ๊ะอาแซ

ตำบลกายูคละ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยปัจจุบัน การแพทย์แผนไทยได้เป็นส่วนหนึ่งของระบบสาธารณสุขของไทยโดยผสมผสาน การแพทย์แผนไทยเข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุขของรัฐนอกเหนือจากการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยแล้ว แนวคิดดังกล่าวอาจช่วยให้ระบบสาธารณสุขของไทยมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพต่ำลง เนื่องจากการแพทย์แผนไทยซึ่งเป็นแนวคิดในการดูแลสุขภาพในซีกตะวันออก เป็นแนวคิดในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมซึ่งผสมผสานกับวิถีชีวิตการดูแลสุขภาพแบบคนไทยที่มุ่งทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสภาพ มีกิจกรรมในการดูแลสุขภาพ การรักษาพยาบาล เช่น การใช้ยาสมุนไพรในท้องถิ่น การอบสมุนไพร การประคบสมุนไพร การนวดไทย การบริหารด้วยท่าฤาษีดัดตน รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพร ผักพื้นบ้าน อาหารตามฤดูกาล ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวประชาชนสามารถที่จะจัดหาได้เองและมีอยู่แล้วในท้องถิ่น เป็นการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพ อันซึ่งจะทำให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีต่อประชาชนมากกว่าการรักษาเมื่อเกิดโรคเท่านั้น โดยตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทยได้กล่าวไว้ว่า ร่างกายของคนหรือทุกสรรพสิ่งล้วนประกอบขึ้นด้วยธาตุต่างๆ อาทิ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ เมื่อธาตุทั้งสี่ในร่างกายสมดุล บุคคลจะไม่ค่อยเจ็บป่วย หากขาดความสมดุลมักจะเกิดความเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากจุดอ่อนด้านสุขภาพของแต่ละคน ตามเรือนธาตุการพึ่งพาธรรมชาติตามแนวคิดทฤษฏีการแพทย์แผนไทย ที่มุ่งดูแลสุขภาพแบบองค์รวมโดยมองมิติทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้ช่วยเพิ่มความสมดุลให้กับชีวิตมนุษย์ ดังนั้นการเพิ่มพูนความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมให้แก่ประชาชนให้สามารถดูแลตัวเองได้ จึงนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดการส่งเสริมสุขภาพห่างไกลโรคที่แท้จริง
กลุ่มสตตรีตำบลกายูคละจึงได้จัดทำโครงการ สตรีตำบลกายูคละ ใส่ใจสุขภาพด้วยแพทย์แผนไทย ประจำปี 2567 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้ การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยอาศัยการนำเอาองค์ความรู้ด้านแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกรวมถึงการนำเอาธรรมชาติรอบตัวมาใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ เมื่อมีการนำองค์ความรู้เหล่านี้มาประยุกต์ใช้ร่วมกับการรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว น่าจะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองในการดูแลสุขภาพเองได้ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มทางเลือกในการรักษาสุขภาพของประชาชน ในการจัดการสุขภาพตนเอง ได้อย่างเหมาะสมในระดับหนึ่ง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ดูแลสุขภาพของตนเองและคนใกล้ตัวได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

สตรีในตำบลกายูคละ มีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ดูแลสุขภาพของตนเองและคนใกล้ตัวได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยร้อยละ 100

150.00 150.00
2 เพื่อเป็นทางเลือกในการดูแลรักษาสุขภาพ และเป็นการช่วยลดการใช้ยาแผนปัจจุบันและค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาล

สตรีมีความรู้ความเข้าใจ เรื่องดูแลรักษาสุขภาพ และเป็นการช่วยลดการใช้ยาแผนปัจจุบันและค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาลร้อยละ 100

150.00 150.00
3 เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยและฝึกทักษะผู้เข้ารับการอบรม ให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเอง คนในครอบครัว และชุมชนได้

มีการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยและฝึกทักษะผู้เข้ารับการอบรม ให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเอง คนในครอบครัว และชุมชนได้ร้อยละ 80

150.00 150.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ในการด้านการแพทย์แผนไทยและฝึกทักษะผู้เข้ารับการอบรม ให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเอง คนในครอบครัว และชุมชนได้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ในการด้านการแพทย์แผนไทยและฝึกทักษะผู้เข้ารับการอบรม ให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเอง คนในครอบครัว และชุมชนได้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 12 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท
-ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน 150 คนๆละ 70 บาท จำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 21,000 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 150 คนๆละ 4 มื้อๆละ 30 บาทเป็นเงิน 18,000 บาท
-ค่าป้ายไวนิลจำนวน1 ผืน (ขนาด 3 x 1.25)เป็นเงิน1,500บาท
-ค่าวัสดุ เครื่องเขียน อุปกรณ์ จำนวน 150 ชุดๆละ 100 บาท (กระเป๋าผ้า+สมุด+ปากกา)เป็นเงิน15,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้เกี่ยวกับแพทย์แผนไทย
-ผู้เข้าอบรมมีทักษะในการดูแลตัวเองและครอบครัวด้วยการแพทย์แผนไทย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
62700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 62,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ดูแลสุขภาพของตนเองและคนใกล้ตัวได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
2. สามารถเป็นทางเลือกในการดูแลรักษาสุขภาพ และเป็นการช่วยลดการใช้ยาแผนปัจจุบันและค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาล
3. สามารถเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยและฝึกทักษะผู้เข้ารับการอบรม ให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเอง คนในครอบครัว และชุมชนได้


>