กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

สร้างเสริมสุขภาพคนตำบลกะลุวอ ไร้พุง ลดโรค ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอ

หมู่ที่ 1,2,3,7,8 ตำบลกะลุวอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จากการคัดกรองภาวะสุขภาพประชาชน อายุ 15 ปีขึ้นไป  ในปี 2566 พบอัตราภาวะรอบเอวเกิน

 

33.10

ภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญปัญหาหนึ่ง เนื่องจาก เป็นสาเหตุสำคัญ ของการเกิดโรคที่เรื้อรังหลายชนิด ผลกระทบจากโรคเหล่านี้ก่อการให้เกิดอัตราการเจ็บป่วย และอัตราตาย สูงกว่าผู้ที่มีน้ำหนักตัวปกติ ค่านิยมในการบริโภคและวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปได้ตามกระแสบริโภคนิยมก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น การบริโภคอาหารอาหารรสหวาน อาหารเค็มและไขมันสูงที่ส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการรับประทาน อาหารรสจัด เช่น  มันจัด หวานจัด เค็มจัด กินผักและผลไม้น้อย เดินน้อยลง ขาดการออกกำลังกายโดยเริ่มตั้งแต่วัยเด็กจนถึงคนวัยสูงอายุ  ทำให้พลังงานในร่างกายไม่สมดุลกันระหว่างการได้รับเข้ามากับการใช้ไป ร่างกายจึงเปลี่ยนพลังงานที่เหลือใช้กลับไปเป็นไขมันสะสมไว้ตามส่วนต่างๆของร่างกาย 
จากการคัดกรองภาวะสุขภาพประชาชน อายุ 15 ปีขึ้นไป  ในปี 2566 พบอัตราภาวะรอบเอวเกินร้อยละ 33.01 ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคต่างๆตามมา  เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด  เป็นต้น   ประชาชนกลุ่มเสี่ยงจึงควรมีการปรับเปลี่ยนทั้งพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย เพื่อให้มีการใช้พลังงานให้สมดุลกัน ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง ดังนั้นเพื่อดำเนินการป้องกันและแก้ไขภาวะเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพที่สำคัญรพ.สต.กะลุวอ จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพคนตำบลกะลุวอไร้พุง ลดโรค ปี 2567 เพื่อเฝ้าระวังติดตามควบคุมและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะอ้วนลงพุง รวมทั้งป้องกันอุบัติการณ์ของการเกิดโรคและหรือลดความรุนแรงของโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ซึ่ง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมได้รับความรู้และทักษะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพิชิตอ้วน พิชิตพุง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

33.10 80.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชน

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมมีขนาดรอบเอว น้ำหนัก และดัชนีมวลกาย อยู่ในน้ำหนักปกติร้อยละ 60

33.10 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 220
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัตการแกนนำคัดกรองดัชนีมวลกายและภาวะเอวเกิน ในประชาชนอายุ 15 ปี ขึ้นไป 

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัตการแกนนำคัดกรองดัชนีมวลกายและภาวะเอวเกิน ในประชาชนอายุ 15 ปี ขึ้นไป 
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัตการแกนนำรณรงค์คัดกรองดัชนีมวลกายและภาวะเอวเกิน ในประชาชนอายุ 15 ปี ขึ้นไป
ให้ความรู้แนวทางการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน/การสาธิตโมเดลอาหารลดพุง ลดโรค 1. ค่าอาหารกลางวันแกนนำสุขภาพจำนวน 70 คนX 1 มื้อๆละ 50 บาทเป็นเงิน 3,500 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 70 คนX 2มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน3,500 บาท 3. ค่าวิทยากร 1 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท 4.ค่ากระเป๋าใส่เอกสาร จำนวน 70 ใบๆละ 50 บาทเป็นเงิน 3,500 บาท รวมเป็นเงิน 12,300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 ตุลาคม 2023 ถึง 30 กันยายน 2024
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมได้รับความรู้และทักษะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพิชิตอ้วน พิชิตพุง ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12300.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพิชิตอ้วน พิชิตพุง แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะเอวเกิน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพิชิตอ้วน พิชิตพุง แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะเอวเกิน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพิชิตอ้วน พิชิตพุง แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะเอวเกิน คัดกรองกลุ่มเสี่ยงวัดดัชนีมวลกาย วัดรอบเอว สาธิตโมเดลอาหาร

  1. ค่าอาหารกลางวันกลุ่มเสี่ยง จำนวน 150 คนX 1 มื้อๆละ 50 บาทเป็นเงิน 7,500 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มกลุ่มเสี่ยง 150 คนX 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน7,500 บาท
  3. ค่าวิทยากร 1 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 5 รุ่น เป็นเงิน 9,000 บาท 4.ค่ากระเป๋าใส่เอกสาร จำนวน 150 ใบๆละ 50 บาทเป็นเงิน 7,500 บาท 5.เครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 1 เครื่องๆละ 1,500 บาท 6.สายวัดรอบเอว จำนวน 2 เส้นๆละ 150 บาทเป็นเงิน 300 บาท 7.ที่วัดส่วนสูง จำนวน 1 อันๆละ 800 บาท รวมเป็นเงิน 34,100 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 ตุลาคม 2023 ถึง 30 กันยายน 2024
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมมีขนาดรอบเอว น้ำหนัก และดัชนีมวลกาย อยู่ในน้ำหนักปกติร้อยละ 60

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
34100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 46,400.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนอายุ15 ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคภาวะเสี่ยงต่อภาวะะโรค METABOLIC
2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ อย่างเหมาะสม สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องในเรื่อง อาหาร  อารมณ์  ออกกำลังกาย
3. กลุ่มเป้าหมายได้ตระหนักถึงการพัฒนาตนเอง สามารถลดน้ำหนัก-ลดรอบเอว จากฐานเดิมได้ ร้อยละ 5 และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ครอบครัวและประชาชนทั่วไปได้ปฏิบัติตนและการรักษาได้อย่างเหมาะสม


>