กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.รือเสาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันมะเร็งปากมดลูก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.รือเสาะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบูกิ๊ตจือแร

เขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านบูกิ๊ตจือแร (ม.7 กับ ม.9 ตำบลรือเสาะ)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละ 10 ของสตรีกลุ่มเป้าหมายสมัครใจตรวจมะเร็งปากมดลูก

 

5.00
2 ร้อยละ 98 ในรอบ 3 ปี ที่ผ่านมา นักเรียนชั้น ป.5 โรงเรียนบ้านบูกิ๊ตจือแร ซึ่งอยู่ในเขตรับผิดชอบ ผู้ปกครองไม่สมัครใจให้นักเรียนฉีดวัคซีนป้องกัน HPV

 

5.00
3 3. วัคซีน HPV จำเป็นต้องฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 6 เดือน ในปี 2566 ผู้ปกครองนักเรียนห้ามไม่ให้นักเรียน ฉีดวัคซีน เนื่องจากกลัวอันตราย

 

5.00

หลักการและเหตุผล / สถานการณ์ปัญหา ขนาด
ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของประเทศไทย โดยพบสถิติหญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูก เฉลี่ยปีละ 6,000 ราย ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เพราะทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรบุคคลและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกต้องมีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก และในระยะก่อนเป็นมะเร็งซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม มุ่งให้สถานบริการสาธารณสุขของรัฐดำเนินการรณรงค์ให้มีการเฝ้าระวังการตรวจมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มอายุ 30 - 60 ปีโดยในเขต รพ.สต.บ้านบูกิ็ตจือแร มีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน580 คน ม.7 ต.รือเสาะ จำนวน 358 คน ม. 9 จำนวน 222 คนจากการสรุปผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ปีงบประมาณ 2561-2566มีจำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 6.89ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดในตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุขที่ร้อยละ 40 สตรีอายุ 30 -60 ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายขาดความรู้ความเข้าใจในการป้องกันและดูแลตัวเองเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก มีความเหนียมอาย
และในโรงเรียนบ้านบูกิ๊ตจือแร ตำบลรือเสาะ ในปี 2565 เด็กนักเรียนบ้านบูกิ๊ตจือแร ไม่ได้รับวัคซีน ป้องกันมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากผู้ปกครองห้ามไม่ให้ฉีด
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบูกิ๊ตจือแร จึงได้เห็นความสำคัญของปัญหาการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และจัดทำโครงการป้องกันมะเร็งปากมดลูก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. 1.เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และสมัครใจตรวจมะเร็งปากมดลูก

ร้อยละ90 สตรีที่เข้าร่วมรับการอบรมสมัครใจตรวจมะเร็งปากมดลูก

5.00 5.00
2 2. เด็กนักเรียน สมัครใจฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก โดยผู้ปกครองยินยอมให้ฉีด

ร้อยละ 90ิผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการสมัครใจให้บุตร นักเรียนชั้น ป.5 และ ป.6ฉีดวัคซีน HPV

5.00 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. อบรมเชิงปฏิบัติการตรวจมะเร็งปากมดลูกในสตรี อายุ 30-60 ปี

ชื่อกิจกรรม
1. อบรมเชิงปฏิบัติการตรวจมะเร็งปากมดลูกในสตรี อายุ 30-60 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.รพ.สต.ทำแบบสำรวจความสนใจและสมัครใจของสตรี อายุ 30-60 ปี ที่ประสงค์รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก 2. รพ.สต.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการตรวจมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มสตรีที่สนใจมีค่าใช้จ่าย ดังนี้ - ค่าอาหารกลางวัน มื้อละ 60 บาท x 1 มื้อ x 30 คนเป็นเงิน1,800 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 30 บาท x 2 มื้อ x 30 คน เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร600 บาท/ชั่วโมงx 6 ชั่วโมงเป็นเงิน 3่่,600 บาท - ค่าวัสดุ ผ้าถุงสำหรับนุ่งเวลาตรวจ ผืนละ100 บาท จำนวน 30 ผืนเป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10200.00

กิจกรรมที่ 2 1. อบรมผู้ปกครองที่มีนักเรียนเรียนอยู่ชั้น ป.4 - ป.6 โรงเรียนบ้านบูกิ๊ตจือแร

ชื่อกิจกรรม
1. อบรมผู้ปกครองที่มีนักเรียนเรียนอยู่ชั้น ป.4 - ป.6 โรงเรียนบ้านบูกิ๊ตจือแร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สำรวจจำนวนผู้ปกครองนักเรียนชั้น ป.4 - ป.6
    2.จัดอบรมผู้ปกครองที่มีนักเรียนเรียนอยู่ชั้น ป.4 - ป.6 โรงเรียนบ้านบูกิ๊ตจือแรมีค่าใช้จ่ายดังนี้

- ค่าอาหารกลางวัน มื้อละ 60 บาท x 1 มื้อ x 30 คนเป็นเงิน1,800 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 30 บาท x 2 มื้อ x 30 คน เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร600 บาท/ชั่วโมง x 6 ชั่วโมงเป็นงเงิน 3่่,600 บาท - ค่าวัสดุในการจัดอบรม ค่ากระเป๊าผ้า 30 ใบๆละ 30 บาท เป็นเงิน 900 บาท ค่าปากกา ด้ามละ 8 บาท จำนวน 30 ด้ามเป็นเงิน 240 บาท รวมค่าวัสดุเป็นเงิน 1140 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองนักเรียน  ร้อยละ 100 สนับสนุนให้ บุตร รับวัคซีน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8340.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,540.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายสมัครใจตรวจมะเร็งปากมดลูก
2. นักเรียนกลุ่มเป้าหมายได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก


>