กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อเสริมสร้างสุขภาพแก่ผู้ต้องขัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

เรือนจำกลางพัทลุง

เรือนจำกลางพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ต้องขังที่มีภาวะค่า BMI เกินเกณฑ์ปกติ

 

100.00
2 จำนวนผู้ต้องขังกลุ่มป่วยรักษาโรคความดัน เบาหวาน ไขมันในเลือด และโรคหลอดเลือดสมองตีบ

 

50.00

ปัจจุบันมีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นและพบผลกระทบทางสุขภาพที่มีความรุนแรงมากขึ้น หากไม่สกัดกั้นหรือหยุดยั้งปัญหาจะทำให้เกิดการเจ็บป่วยพิการ เสียชีวิตซึ่งมีภาระค่าใช่จ่ายทางด้านสุขภาพและการสูญเสียทางเศรษฐกิจตามมาอย่างมหาศาลและโรคอ้วนก็เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ตั้งแต่สาเหตุเบื้องต้นได้แก่ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายการมีความมั่นคงทางอารมณ์ การสูบบุหรี่การดื่มสุรา ซึ่งสาเหตุที่กล่าวมาทำให้เกิดโรคอ้วนโรคอ้วนลงพุง และเกิดความเสื่อม ทำให้เกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจโรคหลอดเลือดสมองตีบแตก โรคหอบหืด และโรคไตวายตามมาดังนั้นจึงจำเป็นต้องดำเนินการคัดกรอง โรคอ้วนลงพุง ในกลุ่มประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ทุกปี เพื่อเข้าสู่กระบวนการปรับพฤติกรรม แบบมีส่วนร่วมระหว่างกลุ่มเป้าหมายเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข และผู้นำชุมชน ณ ที่นี้ จะเน้นกลุ่มบุคคลในเรือนจำ จำเป็นจะต้องส่งเสริมพัฒนาภาวะสุขภาพผู้ต้องขัง การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันปัญหาสุขภาพในเรือนจำเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างยิ่ง พฤติกรรมสุขภาพที่เสี่ยงอาจจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพในเรือนจำได้
เรือนจำกลางพัทลุง จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ส่งผลให้เกิดภาวะสุขภาพโรคอ้วนของผู้ต้องขัง เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้และสามารถนำไปปฏิบัติตนเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปเพราะจะทำให้ผู้ต้องขังมีพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดี มีสุขภาพแข็งแรง รวมไปถึงมีอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดี เมื่อพ้นโทษไปจะได้นำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และเข้าถึงบริการสุขภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มีความรู้ ความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเอง และไม่มีภาวะแทรกซ้อน

ผู้ต้องขังมีความตระหนัก สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองได้ถุกต้อง ร้อยละ 90

0.00 90.00
2 เพื่อให้ผู้ต้องขังที่มีภาวะค่าBMI อยู่ในเกณฑ์ปกติ

จำนวนผู้ต้องขังที่มีภาวะค่า BMI เกินกว่าเกณฑ์ปกติ มีค่าดัชนีมวลกายลดลงมากว่า ร้อยละ 80

0.00 40.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางแผน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมวางแผน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืน
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มีนาคม 2567 ถึง 21 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีป้ายไวนิลใช้ในการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
580.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.คัดกรองกลุ่มเสี่่ยงและผู้ที่มีโรคประจำตัว ซักประวัติ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว หาค่า BMI
ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ
1.เครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 1 เครื่อง

2.สายวัดรอบเอว จำนวน 10 เส้น

3.กระดาษ A 4 จำนวน 4 รีม

4.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เจ้าหน้าที่สถานพยาบาลและผู้ช่วยเหลืองาน(อสรจ.) จำนวน 20 คน มื้อละ 25 บาท ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มีนาคม 2567 ถึง 21 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3380.00

กิจกรรมที่ 3 จัดอบรมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดอบรมให้ความรู้

1.1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง โภชนาการ ค่าตอบแทนวิทยากร ชม.ละ 600 บาท 2 ชม. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 150 คน 1 มื้อละๆ 25 บาท

1.2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง การดูแลสุขภาพโรคกลุ่มเสี่่ยง และภาวะแทรกซ้อน ค่าตอบแทนวิทยากร ชม.ละ 600 บาท 2 ชม.

1.3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง การออกกำลังกายค่าตอบแทนวิทยากร ชม.ละ 600 บาท 5 ชม.อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 150 คน 1 มื้อละๆ 25 บาท

ค่าวิทยากรอบรมให้ความรู้ จำนวน 9 ชม.ละ 600 บาท

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 7500 บาท

ค่าวัสดุและอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ

1.กระดาษสี A5 จำนวน 3 รีม

2.ปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน จำนวน 165 ด้าม

3.ลวดเล็บกระดาษ จำนวน 1 กล่อง

4.สมุดปกอ่อน จำนวน 150 เล่ม

5.เทปสัน 3 ม้วน

6.วงล้อประเมินสุขภาพดัชนีมวลกาย จำนวน 1 ชิ้น

7.ลูกกลิ้งลดหน้าท้อง จำนวน 2 ชิ้น

8.จานหมุนออกกำลัง จำนวน 2 อัน

9.สปริงออกกำลังกาย จำนวน 2 เส้น

ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มีนาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19540.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลังฝึกอบรมทบทวนความรู้ ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง และให้คำปรึกษา

4.ติตตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในระยะเวลา 1 เดือน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับเจ้าหน้าที่และผู้ช่วยเหลืองาน(อสรจ.) 20 คน มื้อละ 25 บาท
-จัดแบ่งกลุ่มๆละ 7 คน โดยมี อสรจ.ควบคุมและติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของสมาชิกในกลุ่ม และนำรายงานสถานพยาบาลสัปดาห์ละ 1 ครั้ง 5.ติตตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในระยะเวลา 3 เดือน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับเจ้าหน้าที่และผู้ช่วยเหลืองาน (อสรจ.) 20 คน มื้อละ 25 บาท -จัดแบ่งกลุ่มๆละ 7 คน โดยมี อสรจ.ควบคุมและติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของสมาชิกในกลุ่ม และนำรายงานสถานพยาบาลเดือนละ 1 ครั้ง 6.ติตตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในระยะเวลา 6 เดือน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับเจ้าหน้าที่และผู้ช่วยเหลืองาน (อสรจ.) 20 คน มื้อละ 25 บาท
-จัดแบ่งกลุ่มๆละ 7 คน โดยมี อสรจ.ควบคุมและติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของสมาชิกในกลุ่ม และนำรายงานสถานพยาบาลเดือนละ 1 ครั้ง ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถดำเนินการได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมที่ 7 สรุปผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 7 สรุปผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำสรุปผลการดำเนินโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

BMI อยู่ในเกณฑ์มาตารฐาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ต้องขังมีความรู้ ความตระหนัก สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองได้ถูกต้อง และไม่มีภาวะแทรกซ้อน
2.ผูัต้องขังในกลุ่มที่มีภาวะค่า BMI เกินเกณฑ์ปกติ สามารถควบคุมและปรับเปลี่ยนให้อยู่ในระดับที่ดีขึ้น
3.ผู้ต้องขังเจ็บป่วยลดลง และลดภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วยทำให้ผู้ต้องขังมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


>