กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองทราย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ยิ้มใส ใส่ใจสุขภาพช่องปาก ของ รพ.สต.บ้านลำชิง ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองทราย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำชิง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำชิง ตำบลคลองทราย อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากน้อย

 

100.00
2 ผู้ป่วยโรคเรื้อรังแปรงฟันไม่ถูกวิธี

 

100.00

ปัจจุบันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังโรคหนึ่งที่บั่นทอนคุณภาพชีวิตและคร่าชีวิตมนุษย์มากที่สุดโรคหนึ่ง และมีแนวโน้มที่จะมีอัตราการเกิดโรคเพิ่มมากขึ้นในอนาคตจากข้อมูลรายงานขององค์การอนามัยโลก พบว่า มีผู้ป่วยเบาหวานแล้ว 250 ล้านคน และจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเป็น 366 ล้านคน ในปี ค.ศ. 2020 หากไม่มีการดำเนินการที่เหมาะสมและจริงจัง โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานเกิดได้ทั้งเฉียบพลัน และเรื้อรัง ซึ่งส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ได้แก่ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกันและก่อให้เกิดความผิดปกติทั้ง ภาวะแทรกซ้อนทางตา ทางไต รวมถึงภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพช่องปากด้วย โรคเบาหวานจึงมีความสัมพันธ์ ต่อการเกิดโรคในช่องปาก ทั้งโรคปริทันต์อักเสบ โรคเหงือกอักเสบ และโรคของเนื้อเยื่ออ่อนภายในช่องปาก และผลที่ตามมาคือการสูญเสียฟัน มีความชุกและมีความรุนแรงของโรค
จากข้อมูลการตรวจสุขภาพช่องปากในคลินิกโรคเรื้อรัง รพ.สต.ลำชิง ประจำปีงบประมาณ 2566 จำนวน 100 คน มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก พบว่า มีฟันผุต้องอุดและต้องถอน จำนวน 59 ราย คิดเป็นร้อยละ 59 มีเหงือกอักเสบ จำนวน 22 ราย คิดเป็น ร้อยละ 22 พบว่า มีฟันแท้ใช้งาน 20 ซี่ และมีฟันหลัง 4 คู่สบ เพียง 48 ราย คิดเป็น ร้อยละ 48 คน ซึ่งเป็นปัญหาในการดำรงชีวิต การบริโภคอาหาร และนอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังยังขาดความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง จากสภาพปัญหาดังกล่าว รพ.สต. ลำชิง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพฤติกรรมทันตสุขภาพในผู้ป่วยโรคเรื้อรังขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการรักษาตามสภาพปัญหาสุขภาพช่องปาก และส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้เรื่องโรคในช่องปาก

ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก

100.00 100.00
2 เพื่อให้มีความรู้ ทักษะ และสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้อย่างเหมาะสม

ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีทักษะการแปรงฟันและสามารถแปรงฟันได้อย่างถูกวิธี

100.00 100.00
3 เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบื้องต้น

ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นตอนการวางแผน

ชื่อกิจกรรม
ขั้นตอนการวางแผน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ติดต่อประสานงานฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ณ อำเภอนาทวี เพื่อจัดทำแผนตามโครงการ

2.จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในโครงการ เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ไหมขัดฟัน เป็นต้น

  • ค่าชุด SET อุปกรณ์แปรงฟัน ได้แก่ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ไหมขัดฟัน ราคาชุดละ 95 บาท จำนวน 100 ชุด เป็นเงิน 9,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 5 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ 2.มีโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9500.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคในช่องปากและการดูแลสุขภาพช่องปากที่เหมาะสม

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องโรคในช่องปากและการดูแลสุขภาพช่องปากที่เหมาะสม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรม อบรมให้ความรู้ โดยเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข กลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 100 คน เรื่อง โรคฟันผุในช่องปาก

  1. การดูแลสุขภาพช่องปากที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

  2. อาหารที่มีประโยชน์และโทษเกี่ยวกับสุขภาพฟัน

  3. สาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธี การใช้ไหมขัดฟันที่ถูกวิธี

  • ค่าป้ายไวนิล ชื่อโครงการ จำนวน 1 ป้าย ขนาด 1.2 ม.*2.4 ม. เป็นเงิน 500 บาท

  • ค่าป้ายโฟมบอร์ด เรื่อง โรคฟันผุในช่องปาก และ เรื่องการแปรงฟันที่ถูกวิธีขนาด 1 เมตร * 2 เมตร * 1,350 บาท จำนวน 2 ป้าย เป็นเงิน 2,700 บาท

  • ค่าโมเดลสอนแปรงฟัน ขนาด 12X10X9 cm.เป็นเงิน 1,350 บาท

  • ค่าโมเดลระยะการเกิดฟันผุ (M10) กว้าง 6.5 สูง 3.5 cm.เป็นเงิน 850 บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ มื้อละ 60 บาท X 100 คนเป็นเงิน 6,000 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 30 บาทจำนวน 2 มื้อ จำนวน 100 คน เป็นเงิน 6,000 บาท

  • ค่าวิทยากร จำนวน 2 คนๆ 3 ชม. ชม.ละ 600 บาทเป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ป่วยโรคเรื้อเรื้อรังมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก
  2. ผู้ป่วยโรคเรื้อเรื้อรังมีทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21000.00

กิจกรรมที่ 3 ตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปากเบื้องต้น

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปากเบื้องต้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจสุขภาพช่องปากรายบุคคล กลุ่มเป้าหมาย 100 คน หากคัดกรองแล้วผู้ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก จะดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากโดยการนัดและติดตามมารับบริการ และในรายที่เกินขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่ ใน รพ.สต. มีการส่งต่อไปยังโรงพยาบาล

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังทราบปัญหาในช่องปากของตัวเองและเข้าถึงการรับบริการได้อย่างรวดเร็ว
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,500.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยโรคเรื้อเรื้อรังมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก
2. ผู้ป่วยโรคเรื้อเรื้อรังมีทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี
3. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
4. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังทราบปัญหาในช่องปากของตัวเองและเข้าถึงการรับบริการได้อย่างรวดเร็ว


>