กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองทราย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ รู้ตน ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองทราย

นางสาวกาญจนา หมวดพรมทอง
นางสาวสุวลักษณ์ ยวงใย
นางเจือ ดำแก้ว
นางโรสิต้า เส็นเหม๊าะ
นางขยาย มณีรัตน์

พื้นที่หมู่ที่1,2,5,8 ต.คลองทราย อ.นาทวี จ.สงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

234.00
2 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

112.00

ปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน(DM)และโรคความดันโลหิตสูง(HT) เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดความพิการและ ตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ เหมาะสม ภาวะความเครียด ขาดการออกกำลังกาย การดื่มสุรา สูบบุหรี่ และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่ สำคัญ อาทิ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดให้ประชากรที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป และยังไม่ป่วยด้วย โรคเบาหวาน หรือ ความดันโลหิตสูง ต้องได้รับบริการคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามชุดสิทธิ ประโยชน์ต่อเนื่อง เป็นประจำทุกปี ปีละ 1 ครั้ง และจากข้อมูลการคัดกรองในปี 2566 ประชากรในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำชิง ที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป พบมีภาวะเสี่ยงเบาหวาน 234 รายพบมีภาวะเสี่ยงความดันโลหิตสูง 112 รายซึ่งการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง รวมถึงประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดจึงเป็นกระบวนการที่สำคัญ ในการค้นหากลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค กลุ่มสงสัยป่วยหรือกลุ่มป่วยแล้วแต่ยังไม่รับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง รวมถึงเป็นกระบวนการในการส่งต่อกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและป้องกันการเกิดโรค
ดังนั้น กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำชิง จึงจัดทำโครงการรู้ตน ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ประจำปีงบประมาณ 2567ขึ้นมาเพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจ ทักษะในการจัดการดูแลสุขภาพของตนเองในการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ตลอดจนมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึ่งประสงค์ สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดอยู่เกณฑ์ปกติ เพื่อลดจำนวนกลุ่มเสี่ยงและอัตราการเกิดผู้ป่วยรายใหม่ของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเองในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของตนเองตามหลัก 3อ. 2ส เพิ่มขึ้น

346.00 346.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถปรับระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

จำนวนประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงลดลง

234.00 30.00
3 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถปรับระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

จำนวนประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานลดลง

112.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 90
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อสม.ติดตามให้ความรู้รายบุคคลแก่กลุ่มเสี่ยงที่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
อสม.ติดตามให้ความรู้รายบุคคลแก่กลุ่มเสี่ยงที่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อสม.ติดตามให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงแก่กลุ่มเสี่ยงรายบุคคลที่บ้าน ประกอบด้วยเนื้อหาในสมุดคู่มือดังนี้

1.การบริโภคอาหารกับโภชนาการในชีวิตประจำวัน

2.การออกกำลังกายที่เหมาะสมและปลอดภัย

3.สุขภาพจิตและการบำบัดความเครียด

4.การงดสูบบุหรีและงดดื่มสุรา

-ค่าป้ายโครงการ1.2เมตรx 2.4 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 500 บาท

-ค่าสมุดคู่มือ ประกอบการให้ความรู้ จำนวน 90 เล่ม x 20 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชากรกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของตนเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างถูกต้อง

2.ประชากรกลุ่มเสี่ยงเกิดความตระหนักถึงโรคและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องพึงประสงค์ เพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสู

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2300.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามเยี่ยมบ้านประเมินตรวจวัดความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด ทุกเดือน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมบ้านประเมินตรวจวัดความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด ทุกเดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อสม.ติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยงที่เข้ารับการอบรม เดือนละ 1 ครั้งเพื่อตรวจวัดความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด

-ค่าเครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 2 เครื่อง x เครื่องละ 3,500 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท

-ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอล จำนวน 1 เครื่อง ราคา 1,200 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 14 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ ต่ำกว่า 100 mg/dl
2.กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง มีระดับความดันโลหิต อยู่ในเกณฑ์ปกติ น้อยกว่า 130/90 มม.ปรอท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8200.00

กิจกรรมที่ 3 ชักชวนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน

ชื่อกิจกรรม
ชักชวนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ชักชวนกลุ่มเสี่ยงร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่พึ่งประสงค์และเชิญชูบุคคลต้นแบบ จำนวน 30 คน

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน x มื้อละ 30 บาทเป็นเงิน 900 บาท

2.สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงลดลง

2.เกิดบุคคลต้นแบบ จำนวน 30 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,400.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเกิดความตระหนักถึงโรคและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ตามหลัก 3อ.2ส. เพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
3.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้
4.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมระดับความดันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้
5.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงลดลง


>