กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลร่มเมือง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการร่มเมืองร่วมใจ ห่างไกลเบาหวาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลร่มเมือง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำ

1. นางชนะกานต์ นิโรธสัญญา
2. นายภิญโญ สว่างรัตน์
3. นางสาวพัชรี สุวรรณลิขิต
4. นางพิมพ์ญาดา สองทอง
5. นางสมใจ บัวคลี่
6. นางจริยา เกื้อสุข

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCD (Non-communicable disease, NCD) คือ กลุ่มโรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคจึงทำให้ไม่สามารถแพร่กระจายจากบุคคลหนึ่งไปอีกบุคคลหนึ่งได้ ซึ่งโรค NCDs นั้นเกิดจากปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่ไม่เหมาะสมต่างๆ เป็นหลัก เช่น การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารหวาน มัน เค็ม และการออกกำลังกายที่ไม่เพียงพอ ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา ได้แก่ ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง ภาวะน้ำหนักเกิน และอ้วน ที่นำไปสู่การเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องหรือไม่ได้รับการดูแลรักษา จะยิ่งทำให้อาการรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และเกิดการสะสมจนเป็นโรคเรื้อรังได้องค์การอนามัยโลก (WHO) สถิติผู้เสียชีวิตจากกลุ่มโรค NCDs ในปี พ.ศ. 2552 พบว่าสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรโลกทั้งหมด มีถึง 63% ที่เกิดจากกลุ่มโรค NCDs และที่สำคัญกว่านั้นคือ กว่า 80% เป็นประชากรของประเทศที่กำลังพัฒนา
ในประเทศไทย จากสถิติล่าสุดพบว่ามี 14 ล้านคนที่เป็นโรค ในกลุ่มโรค NCDs และที่สำคัญยังถือเป็นสาเหตุหลักการเสียชีวิตของ ประชากรทั้งประเทศ โดยจากสถิติปี พ.ศ. 2552 ประชากรที่เสียชีวิต จากกลุ่มโรค NCDs มากกว่า 300,000 คน หรือ คิดเป็น 73% ของการเสียชีวิตของประชากรไทยทั้งหมดในปี 2552 และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำ มีประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 1,286 คน ซึ่งปี 2566 ผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนแล้วโรคเบาหวาน 143 คน และโรคความดันโลหิตสูง 367 คน ถือว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขในชุมชน
ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลร่มเมือง , โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำและกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลร่มเมืองจึงได้จัดทำโครงการร่มเมืองร่วมใจห่างไกลเบาหวาน ปี 2567 ซึ่งมีกิจกรรมหลักในการคัดกรองและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงและเพิ่มทักษะการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีสำหรับกลุ่มปกติในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ให้สามารถดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคทั้งด้านร่างกายและจิตใจและในกลุ่มที่เป็นโรคได้รับการดูแลและรักษาได้อย่างทันท่วงทีและได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เพื่อเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่จะเกิดขึ้นต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน

คัดกรอง ค้นหาผู้ที่มีภาวะเสี่ยงได้อย่างน้อยร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะเสี่ยง ไม่ให้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ที่มีภาวะเสี่ยงอย่างน้อยร้อยละ 90

0.00
3 เพื่อให้สามารถดูแลผู้ป่วยรายใหม่ได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที

ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการดูแลทันท่วงทีร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,286
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2023

กำหนดเสร็จ 31/03/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมตรวจคัดกรองความเสี่ยงในกลุ่มประชากร อายุ 35 ปีขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจคัดกรองความเสี่ยงในกลุ่มประชากร อายุ 35 ปีขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดประชุมเจ้าหน้าที่/อสม.เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติงาน
  2. ดำเนินการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ในการตรวจคัดกรอง
  3. เตรียมรายชื่อกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไปแยกเป็นรายหมู่บ้าน
  4. ประชาสัมพันธ์โครงการ/แผนปฏิบัติงาน
  5. ปฏิบัติงานตามแผนฯตั้งแต่เวลา 06.30 น.การให้ความรู้ประชาชนรายหมู่บ้านเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน , เจาะน้ำตาลในเลือดชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง/วัดรอบเอว/การประเมิน การคัดกรองภาวะซึมเศร้า การตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ พร้อมแปรผลและแจ้งผลให้ทราบ
  6. สรุปและรายงานผลการดำเนิน งบประมาณจากหลักประกันสุขภาพ
    งบประมาณ
  7. ค่าแถบวัดระดับน้ำตาลในเลือดพร้อมเข็มเจาะ จำนวน 1,286 ชุดๆละ 19 บาท เป็นเงิน 24,434 บาท
  8. ค่าอาหารและเครื่องดื่มสำหรับประชาชนที่มาคัดรองหมู่ละ 1,000 บาท จำนวน 5 หมู่บ้าน เป็นเงิน 5,000 บาท รวมเป็นเงิน 29,434 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 90 ของ ประชากรกลุ่มเป้าหมาย อายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน , โรคซึมเศร้า , คัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ
  2. กลุ่มที่มีภาวะเสี่ยง (สงสัยป่วย) ได้รับการติดตามและการปรับเปลี่ยนพฤฒิกรรมสุขภาพ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
29434.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,434.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้อยละ 90 ของ ประชากรกลุ่มเป้าหมาย อายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน , โรคซึมเศร้า , คัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ
2. กลุ่มที่มีภาวะเสี่ยง (สงสัยป่วย) ได้รับการติดตามและการปรับเปลี่ยนพฤฒิกรรมสุขภาพ


>