กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านต๊ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพด้านระบบการแพทย์ฉุกเฉินพื้นที่ตำบลบ้านต๊ำ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านต๊ำ

ศูนย์ อปพร.เทศบาลตำบลบ้านต๊ำ

นางสาวทัศณียานะ

ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลตำบลบ้านต๊ำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๖(๑๙) และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ.2549 กำหนดให้เทศบาล , เมืองพัทยา และ องค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนใน ท้องถิ่นของตนเอง เรื่อง การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล พระราชบัญญัติ การแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๓๓ วรรค ๒ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ดำเนินงานและ บริหารจัดการการแพทย์ฉุกเฉินระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น แจ้งว่าการแพทย์ฉุกเฉิน เป็นภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่สามารถ ดำเนินการได้และได้ให้แนวทางในการปฏิบัติ (ตามหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ด่วนที่สุด ที่ มท 0891.3/658 ลงวันที่ 25 มกราคม 2553) หนังสือจากกระทรวงมหาดไทยถึงผู้ว่าราชการจังหวัด ทุกจังหวัด ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการแพทย์ฉุกเฉิน และตามประกาศ สพฉ. เรื่องหลักเกณฑ์การ สนับสนุนการดำเนินงานและบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินท้องถิ่น พ.ศ. 2553 (ตามหนังสือ กระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0891.3/ ว 2826 ลงวันที่ 17 กันยายน 2553)ประกอบกับตำบลบ้านต๊ำได้มีชุดปฏิบัติการด้านการกู้ชีพ-กู้ภัย ที่ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่ตำบลบ้านต๊ำ โดยปฏิบัติงานในการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุ – อุบัติภัยเจ็บป่วยฉุกเฉินในพื้นที่ ส่งผลให้การปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่ประสานงานในหมู่บ้าน เช่น ผู้นำชุมชน อปพร. อสม. ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน
เพื่อให้การดำเนินการตามโครงการดังกล่าว เป็นไปด้วยความเรียบร้อยรวมถึงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่ประสานงานในหมู่บ้าน เช่น ผู้นำชุมชน อปพร. อสม. เป็นไปตามดังนั้น ศูนย์ อปพร.เทศบาลตำบลบ้านต๊ำ จึงต้องมีการฝึกอบรมด้านระบบการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อให้เกิการพัฒนาศักยภาพ ในด้านต่าง ๆ ประจำปี2566 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ หลักการปฐมพยาบาลในเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยฉุกเฉิน มีทักษะในการใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือต่าง ๆ ที่อยู่ประจำรถกู้ภัย ได้อย่างถูกต้องสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้เรียนรู้ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ระบบการติดต่อสื่อสาร 1669 ในการแจ้งเหตุเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินในพื้นที่ ภายใต้สถานกาณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid -19)ได้ทันต่อเหตุการณ์
3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ บอกต่อให้กับประชาชนและผู้ที่สนใจ เพื่อขยายผลไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง และเตรียมรับสถานการการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid -19)
4. เพื่อสร้างจิตสำนึก ทัศนคติที่ดีแก่ผู้ปฏิบัติงาน และการบูรณาการมีส่วนร่วมด้านการแพทย์ฉุกเฉิน จากทุกภาคส่วนชุมชน หมู่บ้าน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ชุมชนและสังคม

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 70
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ศูนย์ อปพร.จัดทำโครงการฯ เพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านต๊ำ

ชื่อกิจกรรม
ศูนย์ อปพร.จัดทำโครงการฯ เพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านต๊ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่มีงบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 1 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ฝึกอบรมให้ความรู้และภาคปฎิบัติ

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอบรมให้ความรู้และภาคปฎิบัติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าตอบแทนวิทยากร วันละ 5 ชม.ๆ ละ 600 บาท                       เป็นเงิน    3,000  บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน     ( 70 คน x 1 มื้อ x 70 บาท )                    เป็นเงิน    4,900  บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( 70 คน x 2 มื้อ x 20 บาท)              เป็นเงิน    2,800  บาท
  4. ค่าจัดทำป้ายโครงการฯ  จำนวน   1  ป้าย                               เป็นเงิน      500  บาท
  5. ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 70 ชุดๆ ละ 20 แผ่นๆละ 0.5 บาท เป็นเงิน    700  บาท
  6. ค่าจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เพื่อประกอบการฝึกภาคปฏิบัติ ด้านการแพทย์ฉุกเฉิน  เป็นเงิน  2,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
26 กรกฎาคม 2566 ถึง 26 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 ผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจ หลักการปฐมพยาบาลในเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยฉุกเฉิน มีทักษะในการใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือต่าง ๆ ที่อยู่ประจำรถกู้ภัย ได้อย่างถูกต้องสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย
2 ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้เรียนรู้ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ระบบการติดต่อสื่อสาร 1669 ในการแจ้งเหตุเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินในพื้นที่ ได้ทันต่อเหตุการณ์
3 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ บอกต่อให้กับประชาชนและผู้ที่สนใจ เพื่อขยายผลไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง
4 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดจิตสำนึก ทัศนคติที่ดีแก่ผู้ปฏิบัติงาน และการบูรณาการมีส่วนร่วมด้านการแพทย์ฉุกเฉิน จากทุกภาคส่วนชุมชน หมู่บ้าน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ชุมชนและสังคม


>