กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโนนเจริญ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ครัวเรือนต้นเเบบคัดแยกขยะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโนนเจริญ

สำนักปลัดเทศบาลตำบลโนนเจริญ

1. นางสาวดวงรัตน์ บุญศรีสุข
2. นางสาวปาลินดา ทรงราษี
3. นางสาวณัชชากัญญ์ สุทธิประภา

ตำบลโนนเจริญ อำเภอบ้านกวาด จังหวัดบุรีรัมยื

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

 

77.55
2 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

69.47
3 ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ

 

54.55

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

77.55 80.00
2 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

69.47 75.00
3 เพื่อเพิ่มหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการในการจัดการขยะ

ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ

54.55 63.63

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 172
กลุ่มผู้สูงอายุ 55
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/10/2022

กำหนดเสร็จ 31/10/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการคัดแยกขยะครัวเรือน จัดการขยะอย่างถูกวิธี

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการคัดแยกขยะครัวเรือน จัดการขยะอย่างถูกวิธี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วัตถุประสงค์
1) เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจการคัดแยกขยะแต่ละประเภทได้อย่างถูกต้อง และสามารถจัดการขยะอย่างถูกวิธี
2) เพื่อเสริมทักษะด้านการจัดการขยะในครัวเรือนให้กับ อสม. และแกนนำผู้สูงอายุ เพื่อให้สามารถเป็นครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะในครัวเรือนประจำหมู่บ้าน
3) เพื่อจัดทำแผนงานจัดการขยะในชุมชนอย่างยั่งยืน
กลุ่มเป้าหมาย  1) อสม.  172 คน  2) กรรมการกลุ่มผู้สูงอายุ 55 คน
รูปแบบการดำเนินงาน จัดอบรมให้ความรู้ออกเป็น 2 รุ่นๆ ละ 113 คน (2 โซน เขตรับผิดชอบของ รพ.สต.)
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1) วิทยากรบรรยายให้ความรู้ การจัดการขยะแต่ละประเภทอย่างถูกวิธี
2) สาธิตการจัดทำภาชนะใส่ขยะแต่ละประเภทจากวัสดุเหลือใช้ หรือที่หาได้จากครัวเรือน
3) สาธิตการทำถังขยะเปียก ถังรักษ์โลก สำหรับทิ้งขยะเแยีกประจำครัวเรือน
4) วางแผนการจัดการขยะของระดับชุมชน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะในครัวเรือน มีการจัดทำภาชนะคัดแยกขยะในครัวเรือนให้เห็นอย่างชัดเจน
  2. ครัวเรือนต้นแบบการจัดทำถังขยะเปียกประจำบ้าน จำนวน 227 ครัวเรือน
  3. เกิดระบบก่ารสนับสนุนการจัดการขยะในหมู่บ้าน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
40000.00

กิจกรรมที่ 2 สร้างถัง ขุดที่ ที่ทิ้งขยะเปียก

ชื่อกิจกรรม
สร้างถัง ขุดที่ ที่ทิ้งขยะเปียก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสนับสนุนให้ครัวเรือนต้นแบบดำเนินการทำถังขยะเปียก ถังขยะรักษ์โลก ประจำบ้าน
2. เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะเปียก ขยะอินทรีย์ประจำหมู่บ้าน
3. เพื่อสร้างเครือข่ายครอบครัวการจัดการขยะชุมชน
กลุ่มเป้าหมายดำเนินการ ครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 227 ครัวเรือน
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. เทศบาลให้การสนับสนุนถังขยะเปียกให้กับครัวเรือนต้นแบบ หรือให้ครัวเรือนจัดหาถังขยะเปียกจากวัสดุเหลือใช้ที่ีอยู่ในครัวเรือน
2. ครัวเรือนต้นแบบขุดฝังถังขยะเปียกในบริเวณบ้าน ตามรูปแบบการทำถังขยะเปียกประจำบ้าน
3. เทศบาลสนับสนุนป้ายแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะประจำบ้าน
4. จัดทำฐานข้อมูลเพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 227 ครัวเรือน ดำเนินการจัดทำถังขยะเแียกประจำบ้าน และครัวเรือนที่เป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะในชุมชน
  2. เกิดกลุ่มครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะชมุชน ที่จะขยายผลการขับเคลื่อนการจัดการขยะทั้งชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามประเมินผลแหล่งเรียนรู้ถังขยะเปียกประจำบ้าน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผลแหล่งเรียนรู้ถังขยะเปียกประจำบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินจัดการขยะในครัวเรือน
2. เพื่อสรุปบทเรียนและความรู้จากการจัดการขยะในครัวเรือน และวางแผนการจัดการขยะในชุมชน
3. เพื่อคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบที่มีการจัดการขยะดีเด่น เพื่อมอบของสร้างขวัญและกำลังใจในการดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมาย  ครัวเรือนต้นแบบ 227 ครัวเรือน
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามประเมินผล
2. จัดทำแผนการติดตามตรวจประเมินผลครัวเรือนต้นแบบ 3. ดำเนินการติดตามประเมินผลครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะครัวเรือน ถังขยะเปียกประจำบ้าน
4. สรุปผลและมอบรางวัล 5 ครัวเรือน/หมู่บ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ครัวเรือนต้นแบบดีเด่นที่มีการจัดการขยะเป็นเอกลักษณ์และน่าสนใจ เป็นนวัตกรรม รวม 55 ครัวเรือน
  2. เอกสารรายงานความรู้การจัดการขยะ
  3. แหล่งเรียนรู้การจัดการขยะชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 70,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกิดครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะประจำหมู่บ้าน ไม่น้อยกว่า 20 ครัวเรือน
2. เกิดแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะต้นแบบหมู่บ้านละ 5 แห่ง
3. ระบบการสนบัสนุนการจัดการขยะในครัวเรือนของเทศบาล
4. กลุ่มการจัดการขยะในชุมชน


>