กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุคิริน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขภาพดีด้วยความรอบรู้ด้านอาหารและสุขภาพ (Food and Health Literacy) ลดความเสี่ยง NCDs ในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุคิริน

กลุ่ม อสม. ตำบลสุคิริน

1.นางกรณัทสายแวว
2.นางเตือนใจทองบุญ
3.นางสุคนธ์แก้วเมฆ
4.นางมาลีคงนวน
5.นายอนันต์เพ็ชรภาน

หมู่ 7 บ้านสันติ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

80.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

80.00

จากสถานการณ์โรค NCD ในชุมชน มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 76 คนคิดเป็นร้อยละ 34.38 ผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 33 คนคิดเป็นร้อยละ 14.93 และเป็นโรคความดันโลหิตสูงร่วมกับโรคเบาหวานจำนวน 35 คนคิดเป็นร้อยละ 15.83ซึ่งผู้ป่วยทั้ง 3 กลุ่มนี้ได้รับการรักษาและติดตามการรับประทานยาจากโรงพยาบาลสุคิรินอย่างต่อเนื่องทุกเดือนโดยส่วนใหญ่ผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงร่วมกับโรคเบาหวานพบในประชากรในกลุ่มอายุ30-90 ปี เมื่อช่วงเดือนมีนาคม 2566 เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสุคิรินร่วมกับ อสม.บ้านสันติได้ทำการคัดกรองกลุ่มเป้าหมายผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป(อายุ35-90 ปี)จำนวน 138 ราย ผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 61 รายคิดเป็นร้อยละ 44.20 และผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานจำนวน 1 รายคิดเป็นร้อยละ 0.72 และผู้ที่มีผลตรวจปกติจำนวน 76 คนคิดเป็นร้อยละ 55.07 จากการสัมภาษณ์ในกลุ่มที่เสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานส่วนใหญ่จะมีการรับประทานอาหารที่ปรุงเองมีรสจัด หวาน มัน เค็มนำและมีการใส่ผงปรุงรสต่างๆ เช่นผงชูรส รสดี และยังมีการรับประทานน้ำบูดูทุกมื้อทุกวัน พฤติกรรมสุขภาพของประชาชนโดยรวมของประชาชนในหมู่บ้านสันติ การบริโภคอาหารรสจัด หวาน มัน เค็ม ดื่มสุราที่ผลิตเอง ขาดการออกกำลังกาย มีความเครียดจากสภาพเศรษฐกิจและโรคโควิด-19 และยังขาดความรู้ในเรื่องโรค NCD การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ความรอบรู้เรื่อง อาหารและสุขภาพ ทำให้ประชาชนไม่มีความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว
เพื่อให้ประชาชนได้มีความรอบรู้ด้านอาหารและสุขภาพมากยิ่งขึ้นต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ วิถีการดำเนินชีวิตและการปรับ แบบแผนการบริโภคอาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคNCDซึ่งควรมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล ทั้งนี้การบริโภคอาหารเป็นสิ่งที่สะสมมานานจนเกิดเป็นความเคยชิน การปรับ พฤติกรรมการบริโภคควรดำเนินไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วยความตระหนักและสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนด้วยตัวของตนเอง ภายใต้การสนับสนุนจากครอบครัวและสังคมเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างยั่งยืนเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีไม่เป็นกลุ่มเสี่ยงและไม่เป็นผู้ป่วยรายใหม่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้คนในชุมชนมีความรอบรู้ด้านการบริโภคอาหารที่มีผลดีต่อสุขภาพ

-ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพและพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมมากขึ้น -ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรอบรู้ด้านอาหารในการดูแลสุขภาพมากขึ้น

80.00 80.00
2 เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพของตนเอง

-ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพตนเอง

80.00 80.00
3 เพื่อให้คนในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับโรค NCDs

-ลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย NCDs และลดผู้ป่วยด้วยโรค NCDs รายใหม่

80.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรอบรู้ด้านอาหารและสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรอบรู้ด้านอาหารและสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ 2.การเลือกอาหาร การวางแผนและการจัดการการเลือกอาหารบริโภคที่เหมาะกับภาวะสุขภาพตนเอง 3.ความรอบรู้เรื่องโรคและสามารถป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรค NCDs 4.คัดกรองโรค NCDs -ค่าอาหารเที่ยง 50 บาท X 100 คน = 5,000 บาท -ค่าอาหารว่าง 25 บาท X 100 คน = 2,500 บาท -ค่าไวนิลดำเนินโครงการ ขนาด 1.2 X 2.4 = 720 บาท -ค่าวิทยากรให้ความรู้ ชั่วโมงละ 600 บาท X 3 ชั่วโมง = 1,800บาท -สติ๊กเกอร์ข้อมูลสุขภาพของครัวเรือน จำนวน 85 ครัวเรือน X แผ่นละ 30 บาท = 2,550 บาท -แผ่นเคลือบแนวทางปฏิบัติเหตุฉุกเฉิน จำนวน 5 แผ่น X แผ่นละ 100 บาท = 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มีนาคม 2567 ถึง 20 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คนในชุมชนมีความรอบรู้ด้านอาหารและสุขภาพเพิ่มมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13070.00

กิจกรรมที่ 2 สาธิตอาหารเพื่อสุขภาพเพื่อป้องกันโรค NCDs

ชื่อกิจกรรม
สาธิตอาหารเพื่อสุขภาพเพื่อป้องกันโรค NCDs
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะในเรื่องการจัดการอาหารเพื่อบริโภคมากยิ่งขึ้น 2.ผู้เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพที่ดี -ค่าอาหารว่าง 25 บาท X 100 คน = 2,500 บาท
-ค่าวิทยากรสาธิตอาหาร ชั่วโมงละ 600 บาท X 3 ชั่วโมง = 1,800บาท -ค่าวัสดุสิ้นเปลืองสำหรับสาธิตอาหารเมนูสุขภาพ = 2,000

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 เมษายน 2567 ถึง 10 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คนในชุมชนลดภาวะเสี่ยงจากการเกิดโรค NCDs และไม่ป่วยด้วยโรค NCDs

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6300.00

กิจกรรมที่ 3 ผู้จัดทำโครงการติดตามพฤติกรรมการบริโภคของผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 3 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ผู้จัดทำโครงการติดตามพฤติกรรมการบริโภคของผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 3 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ติดตามพฤติกรรมการบริโภคของผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 3 ครั้ง (เดือนพฤษภาคม - เดือนกรกฏาคม ) -ค่าอาหารเที่ยง 50 บาท X 7 คน = 300 บาท -ค่าอาหารว่าง 25 บาท X 7 คน = 175 บาท
-ค่าเอกสารติดตาม = 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความตระหนักในเรื่องการดูแลสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1475.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,845.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>