กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปูโยะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ ผู้สูงอายุ ในตำบลปูโยะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปูโยะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะ

ตำบลปูโยะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)

 

6.00
2 ร้อยละของคนพิการที่ได้รับกายอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต

 

5.00
3 ร้อยละของคนพิการที่อยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมหรือที่อยู่อาศัยเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย

 

3.00
4 ร้อยละของผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

15.00
5 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

42.00
6 จำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้มง่าย เป็นต้น

 

16.00
7 จำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน (คน)

 

2.00
8 ร้อยละแผนการดูแลรายบุคคล(CP) ที่ได้รับการอนมัติและดูแล

 

12.00

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพของประชากรในประเทศไทยเปลี่ยนจากโรคติดต่อเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังซึ่งเป็นผลจากการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนในสังคมไทย ประกอบกับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรคโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และมักตามมาด้วยโรคหลอดเลือดสมอง อาการอัมพฤกษ์หรืออัมพาต ทำให้มีความพิการตามมา จากข้อมูลการคัดกรอง พบว่าจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ภายในปี 2567 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.64 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ยังไม่รวมถึงผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงผู้อื่นในการดูแลสุขภาพ ได้แก่ ผู้มีภาวะพึ่งพิง คนพิการ ผู้ที่มีภาวะทุพพลภาพ อันเนื่องมาจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ซึ่งกลุ่มผู้มีภาวะเหล่านี้มีความยากลำบากในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข ขณะเดียวกันก็มีปัญหาในการดำรงชีวิตทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบบริการการดูแลสุขภาพต่อเนื่องในระยะยาวโดยเฉพาะการเข้าถึงบริการด้านอุปกรณ์ทางการแพทย์ เนื่องจากมีต้นทุนสูงในการเข้าถึงบริการและความยุ่งยากที่จะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมาโรงพยาบาลบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในเขตชนบทที่ไม่มียานพาหนะของตนเอง หรือแม้แต่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองก็ยังเข้าถึงบริการได้น้อย ปัญหาสำคัญจากการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงและดูแลต่อเนื่องที่บ้านที่เกี่ยวกับกายอุปกรณ์และเครื่องช่วยความพิการ มีสาเหตุปัจจัย คือ ความเจริญทางด้านการแพทย์ทำให้ผู้ป่วยภาวะวิกฤตมีชีวิตรอดเพิ่มขึ้น แต่ก็กลายเป็นผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงมากขึ้นเช่นกัน โรงพยาบาลเน้นการดูแลผู้ป่วยระยะเฉียบพลัน แต่ยังขาดการดูแลผู้ป่วยระยะกึ่งเฉียบพลันหรือผู้ป่วย Subacute ในชุมชน และระบบบริการปฐมภูมิมีข้อจำกัดด้านบุคลากรทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพมีปัญหาด้านอุปกรณ์ทางการแพทย์ เมื่อกลับไปดูแลต่อเนื่องที่บ้านเมื่อเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างปีงบประมาณ 2566 กับปีงบประมาณ 2567 มีคนพิการเพิ่มขึ้นจำนวน 8 คน มีผู้พิการที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์การแพทย์ที่บ้าน จำนวน 5 คน ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นจำนวน 15 คน ผู้สูงอายุติดบ้านรายใหม่เพิ่มขึ้น 4 คน และมีผู้ป่วยหลอดเลือดสมองรายใหม่เพิ่มขึ้นจำนวน 6 คน และอาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ แต่เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาแพงประกอบกับผู้ดูแลต้องมีความรู้เกี่ยวกับการใช้งานที่ถูกต้อง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะ เคยได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานศูนย์ยืมอุปกรณ์การแพทย์แล้ว แต่พบว่วัสดุและอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการเพิ่มเติม และให้คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพสามารถเข้าถึงบริการ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน

ผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน มีจำนวนลดลง

6.00 3.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน

จำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน มีจำนวนเพิ่มขึ้น

2.00 6.00
3 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

ผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ มีจำนวนลดลง

16.00 10.00
4 เพื่อเพิ่มการอนุมัติและนำแผนการดูแลรายบุคคล(CP)ไปปฏิบัติ

แผนการดูแลรายบุคคล(CP) ที่ได้รับการอนมัติและดูแล เพิ่มขึ้น

12.00 12.00
5 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลงลด

15.00 10.00
6 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

42.00 15.00
7 เพื่อเพิ่มคนพิการที่เข้าถึงกายอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต

ร้อยละของคนพิการที่ได้รับกายอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต

5.00 5.00
8 เพื่อลดร้อยละของคนพิการที่อยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมหรือที่อยู่อาศัยเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย

ร้อยละของคนพิการที่อยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมหรือที่อยู่อาศัยเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย

3.00 3.00
9 ร้อยละของผู้ดูแล สุขภาพผู้พิการมีศักยภาพ เพิ่มขึ้น

 

5.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 2
กลุ่มวัยทำงาน 7
กลุ่มผู้สูงอายุ 7
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 9
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้ผู้ดูแลเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ผู้พิการ ผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้ผู้ดูแลเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ผู้พิการ ผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน  50  คน x 25  บาท x 2 มื้อ  เป็นเงิน 2,500 บาท
    • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50  คน x 50  บาท   เป็นเงิน 2,500 บาท
    • ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600  บาท  เป็นเงิน 1,800 บาท
    • ค่าวิทยากรกลุ่มจำนวน 4 คน คนละ 2 ชั่วโมงๆละ 300 บาท  เป็นเงิน 2,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ดูแลมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9200.00

กิจกรรมที่ 2 2.กิจกรรมบริการอุปกรณ์ เครื่องมือจำเป็นในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน

ชื่อกิจกรรม
2.กิจกรรมบริการอุปกรณ์ เครื่องมือจำเป็นในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ค่าวัสดุครุภัณฑ์ทางการแพทย์
  -ฟูกที่นอน สำหรับเตียงผู้ป่วย ผู้สูงอายุเบาะผ้า แบบ 4 ตอน 831928 CM จำนวน  2  ใบ  x 3,400 บาท    เป็นเงิน 6,800 บาท   - ท่อบรรจุแก๊สออกซิเจน ขนาด 2 คิว  จำนวน  1  ชิ้น  x  4,700 บาท    เป็นเงิน  4,700 บาท   - เครื่องพ่นยา Omron รุ่น NE - C28  จำนวน  1 เครื่อง  x  2,500 บาท    เป็นเงิน 2,500 บาท   - ปากกาไฟฉาย ปฐมพยาบาลฉุกเฉิน จำนวน  2 ตัว  x  300 บาท  เป็นเงิน 600 บาท   - หัวเกย์ Oxygen Aero จำนวน  2 ชุด  x  2,100 บาท  เป็นเงิน 4,200 บาท - เครื่องดูดเสมหะ YUWELL จำนวน  1 เครื่อง x  4,500 บาท   เป็นเงิน 4,500 บาท   - Bed pan สแตนเลส    จำนวน  2 อัน x  1,050 บาท    เป็นเงิน 2,100 บาท   - เตียงผู้ป่วย (Fowler Bed) แบบ manual  จำนวน  1 เตียง  x  24,500 บาท   เป็นเงิน    24,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ป่วยกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการ ในตำบลปูโยะ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 2.กลุ่มผู้มีภาวะพึ่งพิงมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคลดลง 3.มีระบบบริการด้านสาธารณสุขของตำบลปูโยะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
49900.00

กิจกรรมที่ 3 3. กิจกรรมจัดตั้งศูนย์เครื่องมือแพทย์ในตำบลปูโยะ

ชื่อกิจกรรม
3. กิจกรรมจัดตั้งศูนย์เครื่องมือแพทย์ในตำบลปูโยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายไวนิลเปิดศูนย์เครื่องมือแพทย์จำนวน 1 ผืน ขนาด 1.2 ม.  x 2.4 ม.  เป็นเงิน 720 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน x 25 บาท x 2 มื้อ   เป็นเงิน 2,500 บาท
    • ค่าวัสดุในการดำเนินกิจกรรม   เป็นเงิน 4,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง มีอุปกรณ์การแพทย์ไว้ใช้ยามจำเป็น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7720.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 66,820.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ดูแลมีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้น
2. ผู้สูงอายุ ผู้พิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
3. ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงมีวัสดุและอุปกรณ์ไว้ใช้ยามจำเป็น


>