กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

สภาเด็กและเยาวชนตำบลกาวะ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลกาวะ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของภูมิคุ้มกันให้เด็กวัยเรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร

 

60.00
2 ร้อยละของการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและป้องกันโรคที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์ เช่น เอช-ไอวี (HIV) ซิฟิลิส เป็นต้าน ฯลฯ

 

60.00
3 ร้อยละของเด็กและเยาวชนในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจในหลักคำสอนและนำหลักคำสอนดังกล่าวไปปฎิบัติเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวันรุ่นหรือวัยก่อนอันควร

 

60.00

หลักการและเหตุผล
"การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น"กรมอนามัยได้กำหนดนิยาม หมายถึง จำนวนการคลอดบุตรมีชีวิตของหญิงอายุ 15 - 19 ปี หรือ 10 -14 ปี ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคํญ โดยสหประชาชาติได้กำหนดให้การลดอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 15 - 19 ปี (Adolescent birth rate) เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่นานาชาติต้องบรรลุให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2573 โดยได้กำหนดให้ การลดอัตราการคลอดในวัยรุ่น อายุ 10 - 14 ปี และ อายุ 15 - 19 ปี เป็นหนึ่งในการบรรลุเป้าหมายที่ 3 ว่าด้วย การสร้างหลักประกันให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพและส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคนทุกเพศทุกวัย การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นไม่เพียงแต่เป็นปัญหาด้านสุขภาพ แต่ยังเป็นปัญหาด้านประชากรที่ส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอีกด้วย
การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่น ทั้งนี้เกิดจากวัยรุ่นบางส่วนยังขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง เรื่องเพศศึกษา ประกอบกับขาดการดูแลและชี้แนะในสิ่งที่เหมาะสมจากครอบครัว รวมถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า เช่น สื่อในโลกอินเตอร์เน็ตสิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เยาวชน เกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เช่น การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย การขาดวุฒิภาวะและทักษะในการควบคุมอารมณ์ทางเพศของตนเอง จึงอาจส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พีงประสงค์หรือการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นผลให้เกิดปัญหาสังคมต่าง ๆ ตามมา ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็กและครอบครัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สภาเด็กและเยาวชนตำบลกาวะ ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปี งบประมาณ 2567 เพื่อเสริมสร้าง องค์ความรู้ที่ถูกต้องเรื่อง เพศศึกษา การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรให้แก่เยาวชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กวัยเรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น จากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรไม่น้่อยกว่าร้อยละ 70

60.00 70.00
2 2. เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและป้องกันโรคที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์ เช่น เอช-ไอวี (HIV) ซิฟิลิส เป็นต้น ฯลฯ

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและป้องกันโรคที่มาจากมีเพศสัมพันธ์ เช่น เอช-ไอวี (HIV) ซิฟิลิส เป็นต้าน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

60.00 70.00
3 3. เพื่อให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจในเร่องหลักคำสอนและนำหลักคำสอนดังกล่าวไปปฏิบัติเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยอันควรหรือวัยรุ่น

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องหลักคำสอนของศาสนาและนำหลักคำสอนดังกล่าวไปปฏิบัติเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรหรือวันรุ่น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

60.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ประจำปีงบประมาณ 2567
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เด็กและเยาวชนในตำบลกาวะ จำนวน 60 คน
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คนๆละ 60 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 3,600บาท - ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 60 คน ๆ ละ 90 บาท เป็นเงิน 5,400 บาท
- ค่าป้ายไวนิล เป็นเงิน 720 บาท
รวมเป็นเงิน 16,920 บาท (หนึ่งหมื่นหกพันเก้าร้อยยี่สิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16920.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,920.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ทำให้สร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กวัยเรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรหรือในวัยรุ่น
2. ทำให้เด็กป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและป้องกันโรคที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์ เช่น เอช-ไอวี (HIV) ซิฟิลิส เป็นต้น ฯลฯ
3. ทำให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องหลักคำสอนและนำหลักคำสอนดังกล่าว ไปปฏิบัติเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร หรือในวัยรุ่น


>