กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขภาพดีเริ่มที่อาหารปลอดภัย คนน้ำขาวห่วงใยใส่ใจผู้ผลิตและผู้บริโภค ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลน้ำขาว

1.น.ส.สุคนธ์ชูศรี
2.นางจริยาหมวดเพ็ง
3.นางอาภรณ์ปิยะรัตน์
4.นายชำนาญชายพรม
5.น.ส.จินดาคงทอง

หมู่ที่ 1 , 3 , 5 , 6 , 9 และ หมู่ที่ 10

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนแผงลอยจำหน่ายอาหารและร้านขายของชำ

 

21.00

ปัจจุบันนี้ร้านขายของชำในหมู่บ้านถือได้ว่าเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมจับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคและบริโภคจากร้านขายของชำภายในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยา ของใช้ต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพทั้งสิ้นและยังพบว่ามีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ มาตรฐาน และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในชุมชน เช่นยาผสมสารสเตียรอย เครื่องสำอางมีสารอันตราย อาหารมีสารปนเปื้อนเจือปนอยู่ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค โดยมีปัจจัยต่างๆ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อ การให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือระดับการรับรู้ของบุคคลย่อมมีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคของบุคคลทั้งสิ้น หากผู้บริโภคมีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่ถูกต้องก็จะได้สินค้าที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยสูง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาร้านชำและแผงจำหน่ายอาหารให้ได้มาตรฐาน

ร้อยละ ของร้านอาหาร/แผงลอย/ร้านชำในพื้นที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้านชำและสุขาภิบาลอาหาร

23.81 100.00
2 เพื่่อสร้างและพัฒนาเครือข่ายคุ้มครอบผู้บริโภค

มีกลุ่ม อย.น้อย ในโรงเรียนชุมชนวัดน้ำขาว

0.00 1.00
3 เพื่อเฝ้าระวังความเสี่่ยงจากการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม

จำนวนประชาชนกลุ่มเสี่ยงจากการประกอบอาชีพด้านการเกษตรมีความรู้และได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพ

0.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/02/2024

กำหนดเสร็จ 31/12/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ฟื้นฟูความรู้ผู้ประกอบการร้านชำ แผงลอยและเครือข่าย

ชื่อกิจกรรม
ฟื้นฟูความรู้ผู้ประกอบการร้านชำ แผงลอยและเครือข่าย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ฟื้นฟูความรู้เรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร ยา เครื่องสำอางค์ และการพัฒนาร้านชำ 1. ค่าวิทยากรจำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 40 ชุด ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ ๑๐๐ ของร้านอาหาร/แผงลอย/ร้านชำในพื้นที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้านชำและสุขาภิบาลอาหาร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2800.00

กิจกรรมที่ 2 อบรม อย.น้อย ใน นักเรียน ป.5 - ป.6

ชื่อกิจกรรม
อบรม อย.น้อย ใน นักเรียน ป.5 - ป.6
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวิทยากรจำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
    1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 40 ชุด ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีเครือข่าย อย.น้อย เพื่อช่วยเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร จำนวน 1 กลุ่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2800.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเกษตรกร (วิเคราะห์ความเสี่ยงและตรวจเลือด)

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเกษตรกร (วิเคราะห์ความเสี่ยงและตรวจเลือด)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการแก่เกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงในการประกอบอาชีพ การปรับสภาพแวดล้อม การป้องกันสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย เพื่อลดอันตรายจาการประกอบอาชีพ
1.ค่าวิทยากรจำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม 50 ชุด ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท 3.ค่าอุปกรณ์และชุดตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือด เป็นเงิน 1,350 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 31 ตุลาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายของการใช้สารเคมี สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการประกอบอาชีพเพื่อลดความเสี่ยงได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้านชำผ่านเกณฑ์ร้านชำติดดาว
2. แผงลอยจำหน่ายอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร
3. เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพของตนเองและการป้องกันสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย
4.ในโรงเรียนชุมชนวัดน้ำขาวมีกลุ่ม อย.น้อยเพิ่มขึ้น


>