กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองมานิง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กปฐมวัยตำบลคลองมานิง โภชนาการดี พัฒนาการสมวัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองมานิง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองมานิง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองมานิง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2560 ทางสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี ได้ริเริ่มดำเนินโครงการปัตตานีสมาร์ทคิดส์ (pattani smart kids) โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ การเพิ่มความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา การคิด การใช้เหตุผล การคำนวณ การเชื่อมโยง (Intelligence Quotient, IQ) และพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient, EQ) เพื่อให้เด็กปัตตานีรอบรู้ รอบคิด สามารถตัดสินใจเท่าทันเด็กสมัยใหม่ และเด็กที่อยู่ในเมืองได้
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี ได้คิดรูปแบบการดูแลเด็กปฐมวัย เพื่อให้ครอบคลุมการดูแลเด็กโดยดำเนินกิจกรรมครอบคลุมงาน 4 ด้าน คือ 1.ด้านการได้รับวัคซีนป้องกันโรคตามเกณฑ์ 2.ด้านการมีสุขภาพดี สูงดี สมส่วน สมวัย 3.ด้านการมีพัฒนาการสมวัย และ 4.ด้านสุขภาพช่องปากดี ฟันไม่ผุ ดำเนินกิจกรรมดังกล่าวตั้งแต่เด็กแรกเกิด จนกระทั่งเด็กมีอายุครบ 5 ปี ภายใต้โครงการ Smart kids ที่ผ่านมา ตำบลคลองมานิง พบว่า ด้านโภชนาการมีผลงานน้อยที่สุด คือ เด็กปฐมวัยมีรูปร่าง สูงดีสมส่วน จากผลงานการคัดกรองโภชนาการ ในงวดที่ 1 ประจำเดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม 2566 พบว่า จากเป้าหมายเด็ก 0-2 ปี จำนวน 163 คน ได้รับการเฝ้าระวัง 155 คน คิดเป็นร้อยละ 95.09 มีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน จำนวนคน คิดเป็นร้อยละ 64.52 และมีภาวะโภชนาการอายุ/น้ำหนัก อยู่ในเกณฑ์น้อยและค่อนน้อย คิดเป็นร้อยละ 6.45, 12.90 ตามลำดับ ส่วนผลงานการคัดกรองพัฒนาการ ผลงานในปีงบประมาณ 2566 พบว่า เป้าหมายเด็กปฐมวัยที่อยู่ในช่วงคัดกรองพัฒนาการด้วย DSPM จำนวน 310 ราย ได้รับการคัดกรองจำนวน 238 ราย คิดเป็นร้อยละ 76.77 พัฒนาการสมวัยครั้งแรกจำนวน 198 ราย คิดเป็นร้อยละ 63.87 สงสัยพัฒนาการล่าช้าจำนวน 40 ราย คิดเป็นร้อยละ 16.81 จากสถานการณ์ดังกล่าวจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการวางแผนแก้ปัญหาให้ตรงจุด
จากข้อมูลข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองมานิง จึงได้จัดทำโครงการ เด็กปฐมวัย ตำบลคลองมานิง โภชนาการดี พัฒนาการสมวัย เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี เพิ่มการมีส่วนร่วมของชุมชน และเพิ่มศักยภาพของทีมอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน และผู้ปกครอง ให้เด็กปฐมวัย ตำบลคลองมานิง ได้รับการคัดกรองและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการที่ถูกต้อง และส่งเสริมพัฒนาการให้เป็นไปตามวัย ซึ่งจะส่งผลต่อการมีสุขภาพที่ดีในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อพัฒนาศักยภาพของทีมอาสาสมัครประจำหมู่บ้านให้สามารถดูแล ติดตามกลุ่มเป้าหมาย และ
เป็นพี่เลี้ยงในเรื่องของสุขภาพเด็กได้
2. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็กหลักให้สามารถประเมินภาวะโภชนาการเด็ก
มีทักษะในการส่งเสริมโภชนาการเด็กเบื้องต้น สามารถประเมินพัฒนาการและกระตุ้นพัฒนาการเด็กได้
3. เพื่อให้เด็กมีภาวะโภชนาการ สูงดีสมส่วน และพัฒนาการสมวัยเพิ่มขึ้น

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 33

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านทุกคน ในการเฝ้าระวังและคัดกรองโภชนาการและพัฒนาการเด็ก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านทุกคน ในการเฝ้าระวังและคัดกรองโภชนาการและพัฒนาการเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง 35 บาท × 33 คน × 2 มื้อ เป็นเงิน 2,310.00 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 70 บาท × 33 คน เป็นเงิน 2,310.00 บาท
  • ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอล 980 บาท × 1 เครื่อง เป็นเงิน 980.00 บาท
  • ค่าที่วัดส่วนสูงเด็กแบบพกพา 2,500 บาท × 1 ชุด เป็นเงิน 2,500.00 บาท
  • ค่าสายวัดรอบศีรษะ100 บาท × 4 อันเป็นเงิน 400.00บาท

รวมเป็นเงิน 8,500.00 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ สามารถตอบคำถามหลังการอบรมถูกต้องร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่าง ผู้ปกครองเด็กหรือผู้เลี้ยงดูเด็กหลัก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่าง ผู้ปกครองเด็กหรือผู้เลี้ยงดูเด็กหลัก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ 1 ป้าย ขนาด 1 × 3.2 เมตร × 250 บาท เป็นเงิน 800.00 บาท
  • ค่าอาหารว่าง (ผู้ปกครอง) 35 บาท × 30 คน × 2 มื้อ เป็นเงิน 2,100.00 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน (ผู้ปกครอง) 70 บาท × 30 คนเป็นเงิน 2,100.00 บาท
  • ค่าอาหารว่าง (เด็ก) 15 บาท × 30 คน × 2 มื้อ เป็นเงิน900.00 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน (เด็ก)30 บาท × 30 คนเป็นเงิน900.00 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์เป็นเงิน 2,380.00 บาท

    รวมเป็นเงิน 9,180.00 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็กหลัก สามารถตอบคำถามและมีทักษะเพิ่มขึ้น หลังการทำกิจกรรม ร้อยละ 50

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9180.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตาม ประเมินภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็ก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตาม ประเมินภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง (ผู้ปกครอง) 35 บาท × 30 คน × 1 มื้อ เป็นเงิน 1,050.00 บาท
  • ค่าอาหารว่าง (เด็ก) 15 บาท × 30 คน × 1 มื้อ เป็นเงิน450.00 บาท

รวมเป็นเงิน 1,500.00 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กมีภาวะโภชนาการ สูงดีสมส่วน และพัฒนาการสมวัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 10

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,180.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อาสาสมัครประจำหมู่บ้านมีศักยภาพสามารถดูแล ติดตาม เป็นพี่เลี้ยงเรื่องสุขภาพแก่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างชำนาญ
2. ผู้ปกครองเด็กหรือผู้เลี้ยงดูเด็กหลักมีทักษะในการดูแลสุขภาพเด็กให้เป็นไปตามวัย
3. เด็กกลุ่มเป้าหมาย มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สูงดี สมส่วนและพัฒนาการสมวัย ผ่านเกณฑ์ “pattani smart kids”


>