กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาเครือข่ายดูเเลผู้พิการในชุมชน รู้สิทธิ ภาคภูมิใจ และเห็นคุณค่าในตนเอง ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

งานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

1. น.ส.กิ่งกาญ ตันอุดมศักดิ์ เบอร์โทร 085-3586783
2. น.ส.ปรารถนา ตันเหมนายู เบอร์โทร 091-9324060

ห้องประชุมราชพฤกษ์ ชั้น4 โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความพิการเป็นสถานะทางสุขภาพอย่างหนึ่งซึ่งแสดงออกมาในลักษณะของการสูญเสียความสามารถในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในการดำรงชีวิตในสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาสุขภาพ เช่น การเจ็บป่วย การได้รับการบาดเจ็บ ในกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพอาจประกอบด้วยการใช้วิธีต่าง ๆ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการจัดหาและการให้บริการอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการเพื่อสนับสนุนการดำรงชีวิตและการเสริมสร้างสมรรถภาพหรือการเสริมสร้างความสามารถของคนพิการ เนื่องจากความพิการได้ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน คือผู้พิการไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เองทั้งหมดทำให้ต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิงญาติ/ผู้ดูแล ครอบครัวถือเป็นองค์ประกอบพื้นฐานส่วนหนึ่งที่ร่วมกันดูแลคนพิการ ดังนั้นการให้ความรู้ความเข้าใจและให้ทักษะการดูแลผู้ป่วยจะช่วยในการจัดการปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยได้ดีขึ้น และผู้พิการก็มีความสุขที่ได้มีญาติดูแลอย่างใกล้ชิดซึ่งแสดงถึงการไม่ถูกทอดทิ้ง รวมทั้งเป็นการเสริมพลังแก่ครอบครัวและผู้ดูแลด้วย
สำหรับพื้นที่เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประกอบด้วย 31 ชุมชน มีจำนวนคนพิการกว่า 800 ราย โดยมีความพิการหลายประเภท เช่น ความพิการทางการได้ยินและสื่อความหมาย ตวามพิการทางกายและการเคลื่อนไหว เป็นต้น จากการให้บริการของโรงพยาบาล พบว่าคนพิการบางรายยังไม่ได้รับการเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ อุปกรณ์เครื่องช่วยเหลือคนพิการ เพื่อเป็นการการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการอย่างยั่งยืน โดยให้เครือข่ายในชุมชนมีส่วนร่วม สามารถนำความรู้ไปใช้แนะนำผู้พิการและผู้ดูแลได้ เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จึงจัดทำโครงการพัฒนาเครือข่ายดูเเลผู้พิการในชุมชน รู้สิทธิ ภาคภูมิใจ และเห็นคุณค่าในตนเองเพื่อให้เครือข่ายดูแลผู้พิการในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิ และกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับผู้พิการ ตลอดจนให้ผู้พิการมีทัศนคติต่อการดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าของตนเอง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เครือข่ายดูเเลผู้พิการในชุมชนมีความรู้เรื่องสิทธิ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้พิการ และสามารถนำความรู้ไปใช้และแนะนำต่อได้

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับสิทธิ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้พิการ

40.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้พิการเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ อุปกรณ์เครื่องช่วยเหลือคนพิการ เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการอย่างยั่งยืน

ร้อยละ 70 ของผู้พิการในเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก เข้าถึงการบริการทางการแพทย์ อุปกรณ์เครื่องช่วยเหลือคนพิการ

50.00 70.00
3 เพื่อส่งเสริมให้เครือข่ายดูเเลผู้พิการในชุมชนมีมีการช่วยเหลือกันเองภายในชุมชน และมีทัศนคติที่ดีต่อผู้พิการในการดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าของตนเอง

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพ ตลอดจนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ต่อผู้อื่น

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 70
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การพัฒนาเครือข่ายดูเเลผู้พิการในชุมชนรู้สิทธิภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าในตนเอง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้การพัฒนาเครือข่ายดูเเลผู้พิการในชุมชนรู้สิทธิภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าในตนเอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย แกนนำเครือข่ายในชุมชนทั้ง 31 ชุมชน จำนวน 70 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. ขั้นเตรียม
1.1 จัดประชุมแกนนำเครือข่ายในชุมชนทั้ง 31 ชุมชน เพื่อชี้แจงแนวทางสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลผู้พิการ
1.2 แกนนำเครือข่ายในชุมชนทั้ง 31 ชุมชน ลงพื้นที่สำรวจค้นหาคนพิการในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ พร้อมบันทึกข้อมูลสุขภาพและสวัสดิการผู้พิการ อุปกรณ์สนับสนุนการดำเนินชีวิต รวบรวมจัดทำเป็นทะเบียนฐานข้อมูลผู้พิการและดำเนินการเปลี่ยนแปลงสิทธิย่อยเป็นผู้พิการ (ท.74)
1.3 ประชาสัมพันธ์คัดเลือกตัวแทนแกนนำเครือข่ายในชุมชนเข้าร่วมโครงการ
1.4 ติดต่อประสานงานด้านสถานที่และวิทยากรที่เกี่ยวข้อง
1.5 เตรียมเอกสารต่างๆ และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
2. ขั้นดำเนินการ
2.1 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ โดยมีหัวข้อบรรยายดังนี้
2.1.1 สิทธิความพิการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ พ.ศ.2556 และแก้ไขเพิ่มเติม
- สิทธิทางสังคม
- สิทธิทางเศรษฐกิจ
- สิทธิทางการศึกษา
- สิทธิด้านที่อยู่อาศัย
โดยสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนราธิวาส
2.1.2 สถานการณ์คนพิการในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก การขึ้นทะเบียนคนพิการ และการดูแลสวัสดิการในชุมชน โดย กองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
2.1.3 การดูแลและการส่งเสริมสุขภาพของคนพิการ สิทธิด้านการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพของคนพิการ โดย แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูโรงพยาบาลสุไหงโกลก
2.2 ทำแบบประเมินความรู้ pre-test และ post-test
3. ขั้นสรุปและรายงานผล
3.1 สรุปผล/รายงานผลการดำเนินงานโครงการต่อคณะกรรมการบริหารกองทุน
กำหนดการ
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน/เปิดโครงการ
09.00 - 11.00 น. สถานการณ์คนพิการในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก การขึ้นทะเบียนคนพิการ และการดูแลสวัสดิการในชุมชน โดย กองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
11.00 - 12.00 น. สิทธิความพิการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ พ.ศ.2556 และแก้ไขเพิ่มเติม
- สิทธิทางสังคม
- สิทธิทางเศรษฐกิจ
- สิทธิทางการศึกษา
- สิทธิด้านที่อยู่อาศัย
โดยสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนราธิวาส
12.00 -13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 14.00 น. สิทธิความพิการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ พ.ศ.2556 และแก้ไขเพิ่มเติม โดยสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนราธิวาส (ต่อ) 14.00 - 16.00 น. การดูแลและการส่งเสริมสุขภาพของคนพิการ สิทธิด้านการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพของคนพิการ โดย แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คน x 30 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 4,200 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70 คน x 60 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 4,200 บาท
- ค่าวัสดุในการอบรม ได้แก่ แฟ้ม สมุด ปากกา เอกสาร เป็นเงิน 2,000 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร (บรรยาย) จำนวน600 บาท x 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการฯ เป็นเงิน 1,200 บาท
- ค่าตอบแทนแกนนำเครือข่ายในชุมชนทั้ง 31 ชุมชนลงพื้นที่สำรวจข้อมูลชุมชนละ 2 คน จำนวน 62 คน x 50 บาท x 2 ชั่วโมง เป็นเงิน 6,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับสิทธิ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้พิการ
  2. ร้อยละ 70 ของผู้พิการในเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก เข้าถึงการบริการทางการแพทย์ อุปกรณ์เครื่องช่วยเหลือคนพิการ
  3. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพ ตลอดจนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ต่อผู้อื่น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,400.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยนจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เครือข่ายดูเเลผู้พิการในชุมชนมีความรู้เรื่องสิทธิ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้พิการ และสามารถนำความรู้ไปใช้และแนะนำต่อได้
2. ผู้พิการในแทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ อุปกรณ์เครื่องช่วยเหลือคนพิการ เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการอย่างยั่งยืน
3. เครือข่ายดูเเลผู้พิการในชุมชนมีการช่วยเหลือกันเองภายในชุมชนและมีทัศนคติที่ดีต่อผู้พิการในการดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าของตนเอง


>