กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติด ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

กลุ่ม อสม.รักษ์สุขภาพ

1. นางสาวตอรีฮะยาลี
2. นางสาวยามีละอาแด
3. นางสาวรอปีอะวาเตะ
4. นางสาวโนวานี มะยูโซะ
5. นางสาวฟัสลินดาบราเฮง

ตำบลกายูคละ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญระดับชาติที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจัง ทั้งนี้ปัญหายาเสพติดที่มีการแพร่ระบาดในทุกพื้นที่ของประเทศไทยรวมถึงตำบลกายูคละ ได้ทวีความรุ่นแรงมากขึ้นทุกขณะ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
กลุ่มอสม.รักษ์สุขภาพร่วมกับประชาชนและภาคีเครือข่ายในพื้นที่ได้ตระหนักและมองเห็นความสำคัญของปัญหายาเสพติดและปัญหาอาชญากรรมจึงได้จัดโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปีงบประมาณ 2567

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้และรับทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด

ประชาชนผู้เข้าอบรมมีความรู้ และเล็งเห็นปัญหาและพิษภัยของยาเสพติดร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อลดจำนวนผู้ค้า/ผู้เสพยาเสพติดหรือกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ตำบลกายูคละ

มีผู้ค้า/ผู้เสพยาเสพติดหรือกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ตำบลกายูคละลดลง

130.00 130.00
3 เพื่อสร้างเครือข่ายในการประสานงานและบูรณาการทำงานร่วมกันในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น

มีเครือข่ายในการประสานงานและบูรณาการทำงานร่วมกันในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่

130.00 130.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 130
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เรื่องยาเสพติด และป้องกันตนให้ห่างไกลยาเสพติด
-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 130 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 6,500 บาท
-ค่าอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 130 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 6,500 บาท
-ค่าวัสดุอุปกรณ์ จำนวน 130 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 3,250 บาท
-ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
-ค่าป้ายไวนิลโครงการ 1*2 เมตร จำนวน 1 ผืนเป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้เรื่องยาเสพติด และป้องกันตนให้ห่างไกลยาเสพติด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21450.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมกลุ่ม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมกลุ่ม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมกลุ่ม/ให้คำปรึกษากลุ่มเสี่ยง/ผู้ที่ติดยา

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าอบรมได้รับคำแนะนำ รู้จักการแก้ปัญหา พูดคุยแสดงความคิดเห็น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,450.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไข้ปัญหายาเสพติดในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. หมู่บ้านและชุมชนไม่เป็นแหล่งมั่วสุม และลดการระบาดของยาเสพติด
3. จำนวนผู้เสพและผู้ติดยาเสพติดและกลุ่มเสี่ยงมีจำนวนลดลง
4. เสริมสร้างความเข้มแข็งในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนได้อย่างยั่งยืน


>