กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารปลอดภัยในเดือนรอมฎอน ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

นางสาวรุสนีดา เจ๊ะแม

เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อาหาร เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ ที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ อันมีผลในการเสริมสร้างร่างกายและสติปัญญาตลอดจนสภาพจิตใจที่ดี ซึ่งการรณรงค์ให้คนไทยได้ตระหนักถึงการบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัย มีความสำคัญมาก เนื่องจากสุขอนามัยของคนเรานั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางด้านโภชนาการเท่านั้น แต่อาหารที่ดีจะต้องสะอาด และปลอดภัยต่อผู้บริโภคด้วย สำหรับเดือนรอมฎอน เป็นเดือนแห้่งการถือศีลอดของชาวมุสลิม ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่อำเภอสุไหงโก-ลก ทุกๆ ปีของเดือนอันประเสริฐนี้ จะมีพ่อค้าแม่ค้ามาตั้งแผงลอยจำหน่ายอาหารบริเวณทางเท้า ริมถนน รอบๆ ตลาด และตามแหล่งชุมชนต่างๆ กันอย่างมากมาย แผงลอยจึงเป็นสถานที่จำหน่ายอาหารที่ประชาชนทั่วไป นิยมหาซื้ออาหารปรุงสำเร็จมาบริโภค เนื่องจากมีความสะดวกรวดเร็ว และมีราคาประหยัด อาหารเหล่านั้นอาจมีอัตราเสี่ยงจากการได้รับการปนเปื้อนจากเชื้อโรคและสิ่งสกปรก ก่อให้เกิดโรคแก่ผู้บริโภคได้ ซึ่งจากการดำเนินงานในปี 2566 ที่ผ่านมาพบว่า แผงลอยจำหน่ายอาหารร้อยละ 70 ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร อีกทั้งการจำหน่ายอาหารดังกล่าวยังสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชน ทั้งในเรื่องของการจารจร เหตุรำคาญจากกลิ่น ควัน ต่างๆ อีกด้วย
ดังนั้นเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับประทานอาหารที่สะอาด และปลอดภัย เพื่อจัดระเบียบและพัฒนาแผงลอยจำหน่ายอาหารต้อนรับเดือนรอมฎอมที่กำลังจะเข้ามาถึงเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ตระหนักถึงความสำคัญในการบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัยของประชาชน จึงได้จัดโครงการอาหารปลอดภัยในเดือนรอมฎอน ปี 2567 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในเดือนรอมฎอนมีความรู้ ความเข้าใจด้านสุขาภิบาลอาหารที่ถูกต้อง

ผู้ประกอบการที่เข่้่าร่วมการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 70

60.00 70.00
2 เพื่อจัดระเบียบและพัฒนาแผงลอยจำหน่ายอาหารให้ผ่านเกณฑ์การประเมินตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร

แผงลอยจำหน่ายอาหารมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและผ่านเกณฑ์การประเมินตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหารมากกว่าร้อยละ 100

70.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/04/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมอบรมผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารเดือนรอมฎอน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมอบรมผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารเดือนรอมฎอน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหาร จำนวน 150 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. ติดต่อประสานงานวิทยากรผู้รับผิดชอบงานสุขาภิบาลอาหารโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก และสาธารณสุขอำเภอสุไหงโก-ลก
2. ประชาสัมพันธ์โครงการและเปิดรับลงทะเบียนผู้ประกอบการจำหน่ายอาหาร ณ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
3. จัดประชุมอบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร การลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหารและลดการใช้ถุงพลาสติก และชี้แจงหลักเกณฑ์เงื่อนไขต่างๆ ให้ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารเดือนรอมฎอน
4. สรุปผลการอบรมให้ความรู้ จากแบบสอบถามก่อน - หลัง
กำหนดการ
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน / ทำแบบสอบถามก่อนการอบรม
09.00 - 12.00 น. อบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร วิทยากรโดยผู้รับผิดชอบงานสุขาภิบาลอาหารจากโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 16.00 น. อบรมให้ความรู้เรื่องการลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหารและลดการใช้ถุงพลาสติก วิทยากรโดยผู้รับผิดชอบงานสุขาภิบาลอาหารจากสาธารณสุขอำเภอสุไหงโก-ลก
16.00 - 16.30 น. ชี้แจงหลักเกณฑ์เงื่อนไขต่างๆ ให้ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารเดือนรอมฎอน วันที่ 21 มีนาคม 2566 / / ทำแบบสอบถามหลังการอบรม
งบประมาณ
- ค่าอาหารกลางวันวัน 60 บาท x 150 คน = 9,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 150 คน x 2 มื้อ = 9,000 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท x 6 ชม. = 3,600 บาท
- ค่าจัดทำสื่อรณรงค์ให้ความรู้การเลือกซื้ออาหารปลอดภัย และการพัฒนาแผงลอยจำหน่ายอาหารตามข้อกำหนดสุขาภิบาลอาหาร (ค่าจัดทำไวนิล) ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 1 ผืน x 1,100 บาท = 1,100 บาท
- ค่าวัสดุอุกรณ์ที่จำเป็นในการอบรม ได้แก่ สมุด กระดาษ ปากกา ฯลฯ เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารมีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร การลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหารและลดการใช้ถุงพลาสติก และหลักเกณฑ์เงื่อนไขต่างๆ ให้ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารเดือนรอมฎอน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25700.00

กิจกรรมที่ 2 จัดระเบียบและตรวจแนะนำผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร

ชื่อกิจกรรม
จัดระเบียบและตรวจแนะนำผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1. วัดพื้นที่ จัดแบ่งล็อค และแบ่งโซน ทำผังบริเวณจำหน่ายอาหาร
2. ประสานงานกับเทศกิจ เพื่อดูแลรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยบริเวณสถานที่จำหน่ายอาหาร
3. ประสาน คปสอ.สุไหงโก-ลก เพื่อตรวจประเมินและให้คำแนะนำผู้ประกอบการตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร การพัฒนาแผงลอยจำหน่ายอาหารตามข้อกำหนดสุขาภิบาลอาหาร
4. สรุปผลการตรวจประเมินตามแบบตรวจแผงลอยจำหน่ายอาหาร ตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร
งบประมาณ
- ค่าสื่อประชาสัมพันธ์(ค่าจัดทำไวนิล) ขนาด 1.22 x 4.63 เมตร จำนวน 1 ผืน x 2,150 บาท = 2,150 บาท
- ค่าสื่อประชาสัมพันธ์(ค่าจัดทำไวนิล) ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 2 ผืน x 1100 บาท = 2,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการจัดระเบียบและตรวจแนะนำผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,050.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ประกอบการมีความรู้ ความเข้าใจด้านสุขาภิบาลอาหาร
2. แผงลอยจำหน่ายอาหารมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
3. แผงลอยจำหน่ายอาหารผ่านเกณฑ์การประเมินตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร


>