กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

คนน้ำขาวใส่ใจห่างไกลโรคเรื้อรัง ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลน้ำขาว

นางสุคนธ์ ชูศรี
น.ส.จินดา คงทอง
นางอาภรณ์ ปิยรัตน์
นางจริยา หมวดเพ็ง
นางปรไพ ชัยศรี

พื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.น้ำขาว (หมู่ที่ 1,3,5,6,9 และ 10)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน

21.19
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

17.44

ข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่าโรคเรื้อรังหรือโรคไม่ติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีรสเหวาน มัน เค็มจัด รวมถึงความเครียด ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้าย ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูงหลอดเลือดสมองและหัวใจ มะเร็ง ถุงลมโป่งพองและ โรคอ้วนลงพุงและทำให้ อายุไขของคนป่วยกลุ่มนี้จะมีอายุต่ำกว่า 60 ปี โดยจากสถิติพบว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคกลุ่มดังกล่าวมากกว่าปี ละ3 แสนคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยคิดเป็นร้อยละ 73 ของสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย โดยทั่วโลก สาเหตุการตายด้วยโรคกลุ่มดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 63 ของสาเหตุการตายของประชากรโลก
ปัจจุบันพบว่าอัตราความชุกของ โรคเบาหวานความดันโลหิตสูงอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อ เรื้อรังที่มักพบผู้ป่วยมากที่สุดในอันดับต้นของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจากผลการดำเนินงานคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไป ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองแงะ,โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำขาว ปีงบประมาณ 2565 กลุ่มเป้าหมายการคัดกรองโรค 2,000 คน พบว่าผลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงพบกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 45 ผลการคัดกรองโรคเบาหวานพบกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 50 ดังนั้นการ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิตมีความสำคัญในการควบคุมความรุนแรงของโรคและป้องกันการ เกิดภาวะแทรกซ้อนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยกิจกรรม 3อ2ส. จึงเป็นวิธีการที่สำคัญในการ ช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงสามารถดูแลตนเองและควบคุมโรคได้ เพื่อการมีสุขภาพดีโดยมีเป้าหมายที่สำคัญ คือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนทุกกลุ่ม เปิดโอกาสแลกเปลี่ยนวิถีด้านสุขภาวะและพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาวและพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

21.19 19.60
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง

17.44 15.20

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/02/2024

กำหนดเสร็จ 31/12/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ค้นหากลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสป่วยด้วยโรคเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
ค้นหากลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสป่วยด้วยโรคเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมเพื่อวางแผนการค้นหาประชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง -ค่าอาหารว่างสำหรับอสม. หมอคนที่ 1 จำนวน 35 ชุด ชุละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 875 บ. 2.ตรวจสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยง

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.สามารถค้นหาประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้ไม่น้อยกว่า 50 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
875.00

กิจกรรมที่ 2 รวมพลคนดูแลสุขภาพห่างไกลโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
รวมพลคนดูแลสุขภาพห่างไกลโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องเส้นทางห่างไกลโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 50 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 ชุดๆละ50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท -ค่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมกลุ่ม จำนวน 1,125 บาท (ตัวอย่างอาหารที่ส่งผลในเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน) -ค่าวิทยากรให้ความรู้จำนวน 5 ชม.ๆละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำด้านสุขภาพสามารถแยกประเภทอาหารที่ส่งผลให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9125.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน(แกนนำที่เข้าร่วมกิจกรรมรวมพลคนดูแลสุขภาพห่างไกลโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน)

ชื่อกิจกรรม
ติดตามสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน(แกนนำที่เข้าร่วมกิจกรรมรวมพลคนดูแลสุขภาพห่างไกลโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามตรวจสุขภาพกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานโดยอสม.และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบหมู่บ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงมีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น ความดันโลหิตลดลง ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง  รอบเอวลดลงและBMI:18.5 – 22.90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามาถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนในพื้นที่รับบริการป่วยด้วยโรคเรื้อรังลดลง


>