กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการขยับกายสบายชีวี ปลอดโรค ปี 61

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

ชมรมอสม. หมู่ที่ 3 ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก ปัตตานี

1…นางสิริภัทร ไชยกิจ……………………………
2…นางกัศมา บัวทอง…………………………
3…นางจินดา อยู่ทองดี…………………………………
4…นางสาวอุษา เทียมแก้ว………………………………..
5…นางมณทิพณ์ หนูญวน…………………………..

หมู่ที่ 3 บ้านโคกดีปลี ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

30.00

ปัจจุบันวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่เปลี่ยนไปจากอดีตจากวิถีชีวิตแบบชนบทที่มีกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่อง มีการออกกำลังกายในทุกวัน เปลี่ยนมาเป็นวิถีชีวิตกึ่งเมืองที่มีกิจกรรมทางกายน้อยลงไปมากจากอดีต เห็นได้ชัดเจนจากบริบทการทำงาน เศรษฐกิจ ทำให้วิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่มต้องเร่งรีบและแข่งขันตามกลไกเศรษฐกิจ แต่ในความเจริญนั้นก่อให้เกิดปัญหาต่างๆเกิดขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นปัญหา สุขภาพทั้งร่างกาย จิตใจ ประกอบกับมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น แต่เวลาในการดูแลสุขภาพของตนเองกลับน้อยลง เกิดปัญหาด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น เช่น คนในพื้นที่ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปพบว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคความดัน เบาหวาน โรคอ้วนเพิ่มขึ้น(ข้อมูลจากการคัดกรองของ อสม.ในพื้นที่) นอกจากนี้แล้วพบว่าในเด็กและเยาวชน ก็มีโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภค โรคอ้วนเพิ่มขึ้นด้วย
ทางชมรมอสม. หมู่ที่ 3 บ้านโคกดีปลี เห็นความสำคัญในเรื่องการดูแลสุขภาพ การมีกิจกรรมทางกายของประชาชนในพื้นที่ การพูดคุย การตระหนัก เรื่องสุขภาพ เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำให้คนในพื้นที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงห่างไกลจากโรค ซึ่งผู้จัดทำโครงการ
พิจารณาแล้วเห็นสมควรจึงได้จัดทำโครงการขยับกายสบายชีวี ปลอดโรค เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ ได้ตระหนัก และให้ความสำคัญกับกิจกรรมทางกายด้วยวิธี หรือรูปแบบต่างๆที่เหมาะสมกับวัย เพศของตัวเอง ส่งผลให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและออกกำลังกาย พร้อมทั้งมีแกนนำในการออกกำลังกายในหมู่บ้าน อย่างต่อเนื่องในทุกเพศทุกวัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีความตระหนักให้ความสำคัญ กับกิจกรรมทางกายหรือการเคลื่อนไหวทางกาย

ร้อยละ 90 ของประชาชนในพื้นที่ให้ความสำคัญกับการออกกำลังกาย

100.00
2 เพื่อปลูกฝังการออกกำลังกายให้กับเด็ก และเยาวชนใน พื้นที่ให้มีใจรักการเล่นกีฬาหรือการเคลื่อนไหวทางกาย อย่างสม่ำเสมอ

ร้อยละ 60 ขึ้นไปประชาชนในพื้นที่มีการออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆละไม่น้อยกว่า 30 นาที

0.00
3 เพื่อสร้างความสามัคคีในหมู่คณะของสมาชิกชมรมหรือ กลุ่มเยาวชน ประชาชนในพื้นที่

การเข้าร่วมกิจกรรมของสมาชิกชมรม กลุ่ม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2018

กำหนดเสร็จ 31/10/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดเวทีพูดคุยเรื่องสุขภาพ การประชุมชี้แจงและให้ความรู้ผู้นำชุมชน/ผู้นำศาสนา/อสม. และแกนนำเยาวชนในพื้นที่ จำนวน 3 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
จัดเวทีพูดคุยเรื่องสุขภาพ การประชุมชี้แจงและให้ความรู้ผู้นำชุมชน/ผู้นำศาสนา/อสม. และแกนนำเยาวชนในพื้นที่ จำนวน 3 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม 25..บ.x 40 คน x 3 ครั้ง = 3,000 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มีการจัดเวทีพูดคุยเรื่องสุขภาพ การประชุมชี้แจงและให้ความรู้ผู้นำชุมชน/ผู้นำศาสนา/อสม. และแกนนำเยาวชนในพื้นที่ จำนวน 3 ครั้ง
  • เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกายในยามเย็น เช่น เต้นเข้าจังหวะ ปั่นจักรยาน วิ่ง ฯลฯ

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกายในยามเย็น เช่น เต้นเข้าจังหวะ ปั่นจักรยาน วิ่ง ฯลฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์  1,000  บาท
  • ค่าตอบแทนผู้นำเต้น จำนวน
    200 บาท x 30 วัน เป็นเงิน 6,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 30 คน x 20 บาท x 30 วัน เป็นเงิน  18,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกายในยามเย็น เช่น เต้นเข้าจังหวะ ปั่นจักรยาน วิ่ง ฯลฯ 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25000.00

กิจกรรมที่ 3 1 ตรวจคัดกรองเด็กที่มีดัชนีมวลกายผิดปกติ เด็กที่มีภาวะซีด เด็กขาดสารอาหาร

ชื่อกิจกรรม
1 ตรวจคัดกรองเด็กที่มีดัชนีมวลกายผิดปกติ เด็กที่มีภาวะซีด เด็กขาดสารอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการเฝ้าระวังกลุ่มประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่างๆ ทุกวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ตรวจคัดกรองโรคความดัน เบาหวาน ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองโรคความดัน เบาหวาน ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจคัดกรองโรคความดัน เบาหวาน ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในพื้นที่ 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เฝ้าระวังกลุ่มประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในพื้นที่มีความตระหนักให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายหรือกิจกรรมทางกาย
2. มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องใส่ใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้นส่งผลให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
3. เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ ชุมชนเข้มแข็งยั่งยืน


>