2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
เด็กวัยเรียนเป็นวัยที่ก้าวออกจากครอบครัวเข้าสู่สังคมใหม่อันได้แก่ระบบการศึกษา โรงเรียนและครอบครัวมีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญยิ่งในการส่งเสริมศักยภาพเด็กวัยนี้ให้มีร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญาที่ดี เพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต อย่างไรก็ตาม มีนักเรียนกลุ่มหนึ่งที่มีภาวะเสี่ยงหรือปัญหาพฤติกรรมและปัญหาอารมณ์ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาได้ทั้งปัญหาการเรียน หรืออาการผิดปกติทางกายอื่น ๆ การดูแลช่วยเหลือที่เหมาะสมจากครูและผู้ปกครองจะช่วยให้เด็กต่อสู้และผ่านพ้นปัญหาไปได้ในที่สุด แต่ก็ยังมีเด็กอีกส่วนหนึ่งที่แม้ว่าระบบการดูแลช่วยเหลือในโรงเรียนสำหรับเด็กกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มมีปัญหาจะดูแลเด็กนักเรียนอย่างเต็มที่แล้ว แต่พบว่าปัญหายังคงอยู่และเกินความสามารถของโรงเรียนในการดูแลช่วยเหลือ โรงเรียนมีความจำเป็นที่ต้องส่งต่อนักเรียนเข้าสู่หน่วยบริการสาธารณสุข ในพื้นที่ เพื่อรับการดูแลด้านสุขภาพจิตอย่างต่อเนื่อง เกิดการเชื่อมโยงการดูแลระหว่างครอบครัว โรงเรียนและสาธารณสุขเพื่อช่วยเหลือให้ปัญหาพฤติกรรม-อารมณ์ที่มีอยู่ลดลง ส่งผลให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพ มีความสุข และมีสัมพันธภาพที่ดีต่อครอบครัว ชุมชน สังคม ต่อไป
ในปัจจุบันเด็กและเยาวชนต้องเผชิญกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมต่าง ๆ ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป สถานการณ์เด็กและเยาวชนที่เสนอผ่านสื่อต่าง ๆ บ่งบอกว่าเยาวชนไทยมีพฤติกรรมรุนแรงและสภาวะจิตเบี่ยงเบนเพิ่มขึ้น พร้อมกันนี้ยังมีข้อมูลที่น่าตกใจ อาทิการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร มีระดับไอคิว อีคิว ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และการการเสพสิ่งเสพติด อันส่งผลเชื่อมโยงไปสู่ปัญหาต่าง ๆ เช่น ก่ออาชญากรรม เล่นการพนัน การเสพสื่อลามก การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และความรุนแรง รวมถึงการมีปัญหาสุขภาพจิต ปัญหาการปรับตัว และมีแนวโน้มเกิดกับเด็กที่มีอายุน้อยลงเรื่อย ๆ
จากการวิเคราะห์ผลการดำเนินเรื่องสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติดโรงพยาบาลสุไหงปาดี พบว่าเด็กมารับบริการในปีงบประมาณ 2566 ด้วยภาวะซึมเศร้า จำนวน22รายดื้อต่อต้าน 2 ราย สมาธิสั้น 6 รายออทิสติก 3 ปัญหาด้านการเรียน 18 ราย รวมถึงการกลั่นแกล้งกันภายในโรงเรียนความเปราะบางทางจิตใจซึ่งพบว่าอาการดังกล่าว ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตในเด็กวัยเรียนมากขึ้น มีผลต่อความสามารถทางการเรียน และสัมพันธภาพทางสังคมดังนั้นกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลสุไหงปาดีจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาวะทางใจและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในโรงเรียน ขึ้นเพื่อ ส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและจริยธรรม เสริมสร้างปัจจัยป้องกันปัญหาสุขภาพของเด็กวัยเรียน
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 06/02/2024
กำหนดเสร็จ 26/09/2024
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องปัญหาสุขภาพจิต
2.นักเรียนเกิดทักษะในการดูแลตนเอง
3.เกิดเครือข่ายในการดูแลสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน