กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แนวทางดำเนินงาน/วิธีการสำคัญ

stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาศักยภาพและทักษะบุคคล
label_important
วิธีการสำคัญ
- การพัฒนาทักษะการว่ายน้ำเพื่อลดการเสียชีวิตจากการจมน้ำแก่เด็กและเยาวชน
- การพัฒนาทักษะการดูแลส่งเสริมการกระตุ้นพัฒนาการเด็กร่วมกับผู้ปกครองตามประเภทของเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า
- การพัฒนาทักษะการดูแลรักษาฟันอย่างถูกวิธีร่วมกับผู้ปกครอง
- การให้ความรู้ความเข้าใจเรื่อง วัคซีนตามหลักศาสนา
stars
แนวทางดำเนินงาน : การจัดระบบริการแบบใหม่
label_important
วิธีการสำคัญ
- การคัดกรองพัฒนาการเด็กเชิงรุก
- การส่งเสริมและแก้ปัญหาทุพโภชนาการด้วยอาหารเสริมและการจัดอาหารที่ถูกหลักโภชนาการกับเด็ก
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาระบบและกลไกด้านการดูแลแม่และเด็ก
label_important
วิธีการสำคัญ
- อสม.เฝ้าระวังและติดตามเด็กและเยาวชนที่ไม่รับวัคซีนตามกำหนด
- การส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์แก่กลุ่มเยาวชนเพื่อเพิ่มภาวะความฉลาดทางอารมณ์(EQ)
- การจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชน
- การพัฒนาครอบครัวอบอุ่นต้นแบบ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
- การจัดทำข้อมูลสถานการณ์เด็กและเยาวชน
- การร่วมกับชุมชนในการจัดทำแผนสุขภาพและโครงการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชน
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนานโยบายสาธารณะสำหรับเด็ก
label_important
วิธีการสำคัญ
- กำหนดกติกาหมู่บ้านหรือโรงเรียนเกี่ยวกับการจำหน่ายขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลม เป็นต้น
- การกำหนดนโยบายหรือแผนงานสร้างเสริมคุณภาพชีวิตเด็ก
stars
แนวทางดำเนินงาน : การแก้ปัญหาเพือแก้ปัญหาเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด
label_important
วิธีการสำคัญ
- ให้ความรู้และแนะนำการป้องกันโรคแก่ผู้ปกครองเด็กเล็ก และในศูนย์เด็กเล็ก
- ปรับสภาพแวดล้อมที่ลดปัญหาการระบาด เช่น การล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ การล้างมือบ่อยๆ ไม่ใช้แก้วน้ำดื่มร่วมกัน เป็นต้น
- ผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่ปรับปรุงทำความสะอาดโรงเรียนเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กป้องกันการระบาด
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การพัฒนาทักษะประชาชนในชุมชน ในการใช้ประโยชน์จากขยะอินทรีย์ เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ การทำอาหารสัตว์
2. การพัฒนาหลักสูตรในโรงเรียน กิจกรรมการเรียนที่สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย 3R (ใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่)
3. การเสริมสร้างองค์ความรู้ เทคนิคทางวิชาการ เทคโนโลยีที่หลากหลาย ให้แก่บุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถวางแผน จัดการขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในชุมชนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
4. การจัดทำสื่อ คลิป หนังสั้น เพื่อเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลด้านขยะและการจัดการขยะอย่างถูกต้อง มีความชัดเจนและเข้าใจง่ายให้ประชาชนได้รับทราบ
5. ให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกเรื่องหลีกเลี่ยงซื้ออาหารจานด่วน การซื้อสินค้าที่บรรจุภัณฑ์ใช้ครั้งเดียวทิ้ง หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. ให้ความรู้แม่ค้า ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารในการลดการใช้โฟม และเลือกใช้บรรจุภัณฑ์แทนโฟม ถุงพลาสติก
7. รณรงค์ สร้างแคมเปญใช้แก้วน้ำ ขวดน้ำ แทนแก้ว ขวดพลาสติก
8. การสร้างแกนนำบุคคล ครัวเรือน ต้นแบบในการลดขยะในชีวิตประจำวัน
9. ร่วมกับร้านค้าชุมชนในการลดบรรจุภัณฑ์ โดยการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ลูกค้านำไปจากบ้าน เช่น ปิ่นโต กระเป๋า ถุงผ้า
10. การรณรงค์ สร้างจิตสำนึกเพื่อลดขยะที่ต้นทางในระดับครัวเรือน หน่วยงาน องค์กร
11. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ พนักงานราชการ และลูกจ้าง ดำเนินการลดปริมาณขยะและคัดแยกขยะ ตามหลักการ 3Rs คือ ลดการใช้ (Reduce) ใช้ซ้ำ (Reuse) และนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เช่น การใช้ถุงผ้าแทนการใช้ถุงพลาสติก การใช้ภาชนะหรืออุปกรณ์ที่สามารถใช้ซ้ำในชีวิตประจำวัน เช่น กระบอกน้ำ ตะกร้า ปิ่นโต กล่องอาหารแบบพกพา การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ฯ
12. สร้างจิตสำนึกในการรับประทานอาหาร ไม่ให้เหลือทิ้งทั้งในครัวเรือน โรงเรียน
13. สร้างจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ลดการใช้กระดาษ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการขยะในชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. จัดกิจกรรมส่งเสริมการแยกขยะในครัวเรือน โรงเรียน สำนักงาน หน่วยงานภาครัฐ ศาสนสถาน
2. สนับสนุนให้เกิดการหมุนเวียนขยะที่ยังใช้ได้มาใช้ใหม่ เช่น การจัดตั้งศูนย์รับซื้อของเก่า ทั้งของท้องถิ่นและเอกชน เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่สามารถนำขยะประเภทที่หมุนเวียนมาใช้ใหม่ได้สะดวก
3. มีกลุ่ม/ศูนย์รับขยะ Recycle ในชุมชนของเอกชน
4. สร้างต้นแบบ เช่น ครัวเรือน โรงเรียน องค์กร หน่วยงาน ในการนำขยะหมุนเวียนมาใช้ใหม่ การนำขยะไปใช้ประโยชน์ เช่น ทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ
4. การส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากขยะอินทรีย์ เช่น การนำเศษอาหารหรือผักจัดทำปุ๋ยหมัก หรือการเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน เชื่อมโยงกับกลุ่มเกษตรกรเพาะปลูกอินทรีย์
5. ประกวดนวัตกรรมการ recycle ในชุมชน
6. สนับสนุนการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนจากขยะ เช่น การสร้างรองเท้าจากยางรถยนต์
7. จัดให้มีศูนย์รับซ่อมอุปกรณ์ เครื่องใช้ในชุมชน
8. จัดกิจกรรมสร้างแรงจูงใจด้านราคา เช่น โครงการใช้ถุงผ้า ปิ่นโต แก้ว ได้ราคาพิเศษ กิจกรรมหนึ่งแผงหนึ่งร้านหนึ่งถุงขยะอินทรีย์
9. มีศูนย์หรือกิจกรรมการบริจาคสิ่งของที่ยังสามารถใช้งานได้ ส่งต่อให้กลุ่มเป้าหมายอื่น เช่น เสื้อผ้า หนังสือ รถจักรยาน ฯ
10. จัดตั้งศูนย์การแลกเปลี่ยนของใช้ ศูนย์บริจาคของใช้
11. ทอดผ้าป่าขยะในชุมชน
12. จัดตั้งธนาคารขยะ/กองทุนขยะรีไซเคิล ตลาดนัดรีไซเคิล
13. สนับสนุนให้มีมาตรการจูงใจเพื่อให้มีการจัดการขยะที่ดี เช่น ให้มีรางวัลการจัดการขยะที่ดี และการใช้กลไกราคาเพื่อการคัดแยกขยะและจัดการขยะอย่างมีคุณภาพ
14. มีจุดรับขยะอันตรายในชุมชน
stars
แนวทางดำเนินงาน : การปรับระบบ กลไก
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การจัดตั้งเครือข่าย “อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก” เพื่อส่งเสริมการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
2. การจัดให้มีกลไกอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อมระดับหมู่บ้าน เป็นแกนนำต้นแบบในการจัดการขยะครบวงจร
3. การจัดให้มีกลไกสถานศึกษาโดยการผลักดันให้สถาบันการศึกษาทุกแห่ง มีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นด้านการจัดการขยะอันตราย
4. การจัดให้มีกลไกตาวิเศษ ที่มีหน้าที่ในการติดตามตรวจสอบเฝ้าระวังจุดเสี่ยงต่อการทิ้งขยะสะสมในชุมชน เช่น ที่รกร้างว่างเปล่า ที่ลับตาผู้คน ที่ดินซึ่งมีการนำสิ่งของมาทิ้งประจำ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การส่งเสริมในกลุ่มคนในชุมชนสามารถจัดการข้อมูลเพื่อการจัดการขยะชุมชน โดยการสำรวจปริมาณขยะ และวิเคราะห์องค์ประกอบของขยะ โดยทีมอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อมประจำหมู่บ้าน ทีม อสม. แกนนำเยาวชน ฯลฯ
2. ชุมชนสามารถจัดทำแผนชุมชนด้านการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม ตั้งแต่การจัดทำข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดเวทีคืนข้อมูล จัดทำแผนแก้ปัญหา กำหนดแผนงาน โครงการร่วมกัน ปฏิบัติร่วมกัน และร่วมติดตามประเมินผล
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนานโยบายสาธารณะด้านการจัดการขยะในชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การทำให้เกิดธรรมนูญสุขภาพ เรื่องการจัดการขยะชุมชน
2. การกำหนดกฎ มาตรการ กติกา หรือข้อตกลงร่วมเรื่องการจัดการขยะของชุมชน เช่น การคัดแยกขยะ การใช้ถุงผ้าหรือตะกร้าจ่ายตลาด การส่งเสริมการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะร้านอาหารและร้านค้าในชุมชน
3. การกำหนดมาตรการ ข้อตกลงร่วม กฏ กติกา ธรรมนูญของชุมชนในการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อเพิ่มการใช้ปุ๋ยหมัก ลดการใช้สารเคมี ซึ่งจะส่งผลถึงการใช้ประโยชน์ขยะอินทรีย์ ลดบรรจุภัณฑ์สารเคมีซึ่งเป็นขยะอันตราย
4. การบังคับใช้กฏหมาย ข้อบัญญัติท้องถิ่นด้านการจัดการขยะตามที่กำหนดไว้
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล
label_important
วิธีการสำคัญ
1. สร้างการสื่อสารในช่องทางต่าง ๆ หลากหลายรูปแบบ ที่สอดคล้องกับวัยและวิถีการทำงานของกลุ่มอาชีพต่างๆ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเรื่องสุขภาพจิต การส่งเสริมสุขภาพจิต การคัดกรองเบื้องต้นทางสุขภาพจิต การรับคำปรึกษา เช่น เสียงตามสายส่งเสริมสุขภาพจิตในชุมชน วิทยุท้องถิ่น คลิปสั้น
2. เผยแพร่ช่องทางการเข้าถึงแหล่งช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตให้ทุกคนเข้าถึงได้
3. เสริมทักษะการตรวจเช็คตัวเองด้านสุขภาพจิต ทักษะการจัดการความเครียด การให้คำปรึกษา การเสริมพลังสุขภาพจิต
4. รณรงค์ลดการใช้แอลกอฮอล์และสารออกฤทธิ์ทางประสาทที่เป็นอันตรายในชุมชน
5. การให้ความรู้ครอบครัว ชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพจิตคู่ชีวิต และลูกหลาน การป้องกันการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ในผู้หญิงและเด็ก
6. ให้ความรู้ครูในการส่งเสริมสุขภาพจิต การงดใช้ความรุนแรงในโรงเรียนทุกรูปแบบ ทั้งการทำโทษ การทะเลาะเบาะแว้งในกลุ่มนักเรียน
7. พัฒนาเนื้อหาในหลักสูตรของโรงเรียน ในการฝึกทักษะชีวิตและบูรณาการพลังสุขภาพจิตในหลักสูตรของโรงเรียน
8. เพิ่มกิจกรรมและการเรียนรู้แก่ผู้สูงอายุ และผู้ดูแลเพื่อป้องกันและจัดการภาวะสมองเสื่อม
stars
แนวทางดำเนินงาน : การเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง
label_important
วิธีการสำคัญ
1. พัฒนาศักยภาพชุมชนในการเก็บข้อมูล ใช้ข้อมูล วางแผน พัฒนาโครงการเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิต
2. ค้นหาผู้ที่มีความผิดปกติทางสุขภาพจิตและให้การช่วยเหลือตั้งแต่เนิ่นๆ ได้แก่ ความเครียด ความสุข พลังสุขภาพจิต การเบื่อหน่ายหมดไฟ โรคซึมเศร้า การเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
3. เสริมความตระหนักความเข้าใจทางด้านสุขภาพจิตเพื่อลดการตีตราและการ เลือกปฏิบัติต่อบุคคลและครอบครัวที่มีความผิดปกติทางจิต
4. ส่งเสริมและเพิ่มโอกาสในการเข้าสังคมแก่ผู้ที่มีความผิดปกติทางจิต
5. เน้นการเสริมพลังชุมชนให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต การดูแลเบื้องต้น และ การส่งต่อในเครือข่าย
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างสภาพแวดล้อมเอื้อที่ต่อสุขภาพจิต
label_important
วิธีการสำคัญ
1. จัดที่พักผ่อนในหน่วยงาน สถานประกอบการ และในชุมชน
2. จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตในหน่วยงาน สถานประกอบการ และในชุมชน เช่น การจัดแข่งกีฬา การจัดงานสังสรรค์วันปีใหม่ การจัดงานประเพณีสงกรานต์ การจัดเต้นลีลาศเพื่อสุขภาพ การจัดร้องเพลงคาราโอเกะ
3. ใช้ศิลปะ ดนตรี เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิต เช่น ดนตรีในสวน ศิลปะในสวน นิทรรศการศิลปะเพื่อสุขภาพจิต
4. นำโปรแกรมการส่งเสริมและดูแลสุขภาพจิตไปใช้ในที่ทำงาน ทำให้เกิดองค์กรแห่งความสุข
5. ลดการใช้สารเคมี เพื่อป้องกันการเป็นพิษต่อระบบประสาท การทำร้ายตัวเอง และการฆ่าตัวตาย
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนานโยบายสาธารณะ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. กำหนดข้อตกลงร่วมกันในชุมชนในการไม่ล้อเลียนหรือตีตราผู้มีปัญหาทางด้านสุขภาพจิต
2. กำหนดนโยบายองค์กรเอกชนและในชุมชน ให้มีระบบการให้คำปรึกษา การส่งต่อช่วยเหลือผู้มีปัญหาทางสุขภาพจิต และการสร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้อต่อสุขภาพจิตที่ดี เช่น ห้องพักผ่อน ห้องน้ำชาในที่ทำงาน ห้อง ออกกำลังกาย สวนพักผ่อน
stars
แนวทางดำเนินงาน : การปรับระบบ กลไก และกระบวนการ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. พัฒนาแกนนำในชุมชน เพื่อถ่ายทอดและเป็นผู้นำเรื่องสุขภาพจิต การให้คำปรึกษา ทักษะเบื้องต้นในการดูแลผู้มีปัญหาทางสุขภาพจิต การคัดกรองการเจ็บป่วยทางจิตและการส่งต่อที่เหมาะสม
2. การเปิดสายด่วนให้คำปรึกษาเมื่อมีเรื่องไม่สบายใจโดยอาสาสมัคร พยาบาลเกษียณ สำหรับประชาชนทั่วไปที่ต้องการคำปรึกษา
3. สร้างเครือข่าย องค์กร หน่วยงานต้นแบบให้มีความสามารถในการขับเคลื่อนงานด้านสุขภาพจิต
4. เปลี่ยนระบบการดูแลสุขภาพจิตจากเชิงสถาบันเป็นพื้นที่ของชุมชน เน้นการเสริมพลังชุมชนให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต การดูแลเบื้องต้น และการส่งต่อในเครือข่าย
5. พัฒนาระบบการส่งต่อปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน ระบบการฝึกการช่วยเหลือเบื้องต้นผู้มีปัญหาทางสุขภาพจิตสำหรับอาสาสมัคร ระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินสำหรับ อสม., รพ.สต. ระบบการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต ทั้งออนไลน์และออนไซต์
6. พัฒนาระบบ เพื่อนช่วยเพื่อน สำหรับเยาวชน 16-25 ปี ในการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตและยาเสพติด ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต แหล่งการให้การช่วยเหลือ และส่งต่อ
7. จัดตั้งเครือข่ายสุขภาพจิตภาคประชาชนและองค์กรต่างๆในชุมชนในการให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต
8. พัฒนาเครือข่ายสุขภาพจิตในชุมชน ให้สถาบันวิชาการบูรณาการร่วมมือกับสถาบัน ให้บริการทางสุขภาพจิต สนับสนุนการทำงานด้านสุขภาพจิตสำหรับหน่วยงาน ในท้องถิ่น เช่น รพ.สต. หน่วยงานบริการสุขภาพของท้องถิ่น อปท.