กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงวัย กายใจแข็งแรง ชมรมผู้สูงอายุ รพ.สต.คลองแงะ ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

ชมรมผู้สูงอายุ รพ.สต.คลองแงะ

นางประไพ คำพรหม เบอร์โทร 061-0919722
นางประสิทธิ์ หนูทองสุข
นางนางอรุณ สังข์น้อย
นางวรรณี เมืองศรีทอง
นางมาริสา หมัดหมาน

พื้นที่หมู่ 2 4 7 8 และ 11

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)

 

12.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีกลุ่มหรือสังกัดชมรม

 

65.00

ผลจากความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุข ทำให้ผู้สูงอายุมีอายุยืนมากกว่าหลายๆปีที่ผ่านมาพร้อมๆกับการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม สิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้วิถีชีวิต และการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน ส่งผลให้การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุเปลี่ยนไป เริ่มตั้งแต่การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมมาตั้งแต่วัยรุ่น วัยทำงาน การขาดการออกกำลังกาย ทำให้กลายเป็นผู้สูงอายุที่อายุยืน แต่มีภาวะของโรคประจำตัว ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคกระดูกพรุน ข้อเข่า โรคหลอดเลือดสมอง และโรคสมองเสื่อม ฯลฯดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็น เนื่องจากผู้สูงอายุในพื้นที่กลับมีปัญหาด้านสุขภาพมากขึ้น ทั้งทางด้านร่างกาย และสุขภาพทางด้านจิตใจ ที่มีผลสืบเนื่องมาจากสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลผู้สูงอายุในพื้นที่หมู่ที่ 2,4,7,8 และ 11 เป็นผู้สูงอายุที่ติดบ้านเป็นจำนวนมาก ดังนั้นผู้สูงอายุ จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่จากบุคคลรอบข้างและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนปัญหาด้านสุขภาพจะมีมากกว่านี้ ถ้าครอบครัวให้ความสำคัญและเล็งเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุด้วยแล้วครอบครัวและสังคมไทยจะมีความสุข และทุกคนมีสุขภาพจิตที่ดีส่งผลให้ร่างกายดีตามมาเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและส่งเสริมสถาบันครอบครัว ให้การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเน้นการดำเนินการด้านสาธารณสุขเชิงรุกให้ทั่วถึงและครอบคลุมทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสภาพ และการพัฒนาการบริการสาธารณสุข โดยเน้นการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ การที่ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายใจ ที่ดีขึ้น คลายความรู้สึกหดหู่ และรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าต่อชุมชน ผู้สูงอายุสามารถดูแลตัวเองได้โดยไม่เป็นภาระแก่ลูกหลาน เพื่อให้ผู้สูงอายุ สามารถดำรงชีวิตชีวิตอยู่กับครอบครัวและบุตรหลานอย่างปกติสุขและมีสุขภาพสมบูรณ์ตามควรแก่วัย จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการเข้าร่วมกลุ่ม/ชมรม ของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีกลุ่มหรือสังกัดชมรม เพิ่มขึ้น

65.00 68.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมชมรมอย่างต่อเนื่อง

จำนวนผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุต่อเนื่องทุกเดือน

35.00 45.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 418
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/02/2024

กำหนดเสร็จ 31/12/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การป้องกันการพลัดตก หกล้ม และการฟื้นฟูสภาพ

ชื่อกิจกรรม
การป้องกันการพลัดตก หกล้ม และการฟื้นฟูสภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันการพลัดตก หกล้ม ในผู้สูงอายุ และการฟื้นฟูสภาพ 1. ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 3 ชั่วโมงเป็นเงิน 1,800 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 ชุด ๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนผู้สูงอายุ และผู้ดูแล เข้ารับการอบรมจำนวน 40 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2800.00

กิจกรรมที่ 2 การนวดเพื่อลดอาการปวดเมื่อยและคลายเคลียด

ชื่อกิจกรรม
การนวดเพื่อลดอาการปวดเมื่อยและคลายเคลียด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การให้ความรู้เรื่องการนวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยและผ่อนคลายความเครียด      1. ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 3 ชั่วโมง  เป็นเงิน 1,800 บาท      2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 ชุด ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท      3. ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนผู้สูงอายุหรือผู้ดูแล เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 40 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3800.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การจัดกิจกรรมเสวนาด้านสุขภาพ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต (บุคคลตัวอย่าง)
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 68 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 3,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนสมาชิกผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม ไม่น้อยกว่า 68 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดีสามารถดำรงชีวิตในสังคมด้วยความปกติสุข
2.ชมรมผู้สูงอายุมีการดำเนินงานที่เข้มแข็ง สร้างความผูกพันระหว่างสมาชิกในชมรม


>