กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน รหัส กปท. L3325

อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการควบคุมและป้องกันโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านดอนศาลา ปีงบประมาณ 2567
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา
กลุ่มคน
ผู้ประสานงาน นางโสภานภานิวัติกุล 0895985363 ผอ.รพ.สต.บ้านดอนศาลา
3.
หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันมีประชาชนเป็นจำนวนมากที่มีการเจ็บป่วยด้วยโรคอันเกิดจากพฤติกรรมซึ่งเกิดจากปัญหาหลายด้านที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพเช่น ด้านเศรษฐกิจสังคม ค่านิยมและการขาดความรู้ปัญหาเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้ประชาชนมองข้ามในเรื่องสุขภาพและโรคที่ตามมาเนื่องจากการดำเนินชีวิตในแต่ละวันล้วนมีการแข่งขันมากขึ้นทำให้เกิดช่องว่างในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเรื่องสุขภาพและโรคต่างๆที่สามารถป้องกันได้ สำหรับจังหวัดพัทลุง สถานการณ์โรคความดันโลหิตสูงจากข้อมูล HDC มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ เพิ่มขึ้นทุกปี โดย ในปีงบประมาณ 2561 - 2565 จังหวัดพัทลุง มีอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง 853.18 , 1,136.36, 712.50 782.08 และ 346.19 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ และจากสถิติการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ของประชากรกลุ่มอายุ 3๕ ปีขึ้นไปในเขตรับผิดของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลามีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ ในปี 2561 -2565ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 119 คน , 103 คน ,132 คน ,174 คน และ 108 คน ในปี 2565 โดยในปีงบประมาณ 2565ที่ผ่านมาได้ทำการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มอายุ 3๕ ปีขึ้นไปพบอัตรากลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงในเขตรับผิดชอบ จำนวน 108 คน ได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้านจำนวน 92 คน คิดเป็นร้อยละ85.18จำนวนที่ถูกวินิจฉัยเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน14 คน คิดเป็นร้อยละ 13.46 จากสถิติการเกิดโรคดังกล่าว การแก้ไขปัญหาของโรคความดันโลหิตสูงต้องมีการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนไม่เป็นโรคเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะจะทำให้ประชาชนสุขภาพชีวิตที่ดีและไม่สูญเสียงบประมาณในการดูแลการเจ็บป่วย แนวทางการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเมื่อเกิดเป็นโรคแล้วจึงเป็นทางเลือกที่ดี การป้องกันและควบคุมโรคซึ่งสามารถกระทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับบุคคลครอบครัวและชุมชน จังหวัดพัทลุงมีอัตราตายของผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ 0.12 ต่อแสนประชาการอำเภอควนขนุนมีอัตราตาย ร้อยละ 0.14 ต่อแสนประชากร ตำบลมะกอกเหนือมีอัตราตาย 0.22 ต่อแสนประชากร (ระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง) และ มีแนวโน้มผู้ป่วยโรคเบาหวานสูงขึ้นทุกๆปี จากสถิติตั้งแต่ 2552 – 2565 ความชุกของผู้ป่วยเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นดังนี้ 5.483, 5.481 , 5.492,5.216 ต่อแสนประชากร ตามลำดับจากสถิติการเกิดโรคเบาหวานของประชากรกลุ่มอายุ 3๕ ปีขึ้นไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา จังหวัดพัทลุงปี ๒๕65คัดกรองโรคเบาหวานกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปดำเนินการคัดกรอง จำนวน 1,125 คนคิดเป็นร้อยละ 96.80 พบ ปกติ จำนวน872 คน คิดเป็นร้อยละ 80.00 พบว่า กลุ่มแฝง/เสี่ยง จำนวน 206 คน คิดเป็นร้อยละ 18.90 และกลุ่มสงสัยเป็นโรค จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 1.01 และพบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ในปี 2562 - 2565 จำนวน674.72 , 427.50 , 148.51,544.55 ตามลำดับ อัตราต่อแสนประชากร (ข้อมูล HDC สสจ.พัทลุง) การที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทำให้ประเทศชาติสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนไม่เป็นโรคเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะจะทำให้ประชาชนมีสุขภาพชีวิตที่ดีและไม่สูญเสียงบประมาณในการดูแลการเจ็บป่วย แนวทางการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเมื่อเกิดเป็นโรคแล้วจึงเป็นทางเลือกที่ดี การป้องกันและควบคุมโรคซึ่งสามารถกระทำได้ทั้งการส่งเสริมสุขภาพด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับบุคคลครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงหาแนวทางปรับความคิด แนวปฏิบัติให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เกิดความตระหนัก ร่วมกันดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังจากโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง โดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อความยั่งยืนต่อไปในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใน กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังขึ้นเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ และมีความตระหนัก ต่อการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม เฝ้าระวังไม่ให้กลุ่มเสี่ยงเกิดโรคดังกล่าวและโรคแทรกซ้อนที่ตามมา

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
    ตัวชี้วัด : ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง
    ขนาดปัญหา 12.28 เป้าหมาย 10.00
  • 2. เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
    ตัวชี้วัด : ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง
    ขนาดปัญหา 16.70 เป้าหมาย 14.00
  • 3. เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (CVA)
    ตัวชี้วัด : ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (CVA) ลดลง
    ขนาดปัญหา 22.00 เป้าหมาย 20.00
  • 4. เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย
    ตัวชี้วัด : ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย ลดลง
    ขนาดปัญหา 22.00 เป้าหมาย 20.00
  • 5. เพื่อเพิ่มผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี
    ตัวชี้วัด : ร้อยละผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี
    ขนาดปัญหา 49.78 เป้าหมาย 50.00
  • 6. เพื่อเพิ่มผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี
    ตัวชี้วัด : ร้อยละผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี
    ขนาดปัญหา 49.78 เป้าหมาย 50.00
  • 7. เพื่อเพิ่มผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี
    ตัวชี้วัด : ร้อยละผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี
    ขนาดปัญหา 49.78 เป้าหมาย 50.00
  • 8. เพื่อเพิ่มผู้ป่วยที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี
    ตัวชี้วัด : ร้อยละของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี
    ขนาดปัญหา 45.68 เป้าหมาย 60.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. ประชุมคณะทำงานโครงการจำนวน 6 คน
    รายละเอียด

    ประชุมคณะทำงานโครงการจำนวน 6 คน เพื่อชี้แจงโครงการ

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 2. คัดกรองโรคเรื้อรังแบบเชิงรุกในชุมชนหรือ ส่งเสริมการมารับบริการ คัดกรองของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
    รายละเอียด

    คัดกรองโรคเรื้อรังแบบเชิงรุกในชุมชนหรือ ส่งเสริมการมารับบริการ คัดกรองของประชาชนกลุ่มเป้าหมายโดยทีมสุขภาพของ รพ.สต.บ้านดอนศาลา
    1.ค่าแถบตรวจระดับน้ำตาลในเลือดพร้อมเข็มเจาะ จำนวน 15กล่อง ๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท 2.ค่าถ่ายเอกสารแบบคัดกรองความเสี่ยงต่อภาวะโรคกลุ่ม Metabotic จำนวน 1,500 แผ่น (หน้า-หลัง) x 1 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
    3. สำลีก้อนชุปแอลกอฮอล์สำเร็จรูป แผงละ 10 ก้อน จำนวน 240 แผง แผง ละ 15 บาทเป็นเงิน 3,600 บาท 4.สำลีแห้งฆ่าเชื้อ 250 ห่อ ๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท

    งบประมาณ 22,600.00 บาท
  • 3. กิจกรรมติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง
    รายละเอียด

    ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองมีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขกลุ่มเป้าหมายที่เข้าโครงการและมีข้อมูลพฤติกรรมเสี่ยงโดยจัดกิจกรรมให้ความรู้ที่ รพ.สต.บ้านดอนศาลา

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 4. กิจกรรมติดตามการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
    รายละเอียด

    ผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มเดิมในเขตรับผิดชอบ จำนวน 158 คน ได้รับการติดตามรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ป่วยได้รับยาและกินยาอย่างต่อเนื่องทุกราย และไม่เกิดโรคแทรกซ้อนรายใหม่

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 5. กิจกรรมเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน โดยการ ตรวจตา ไต เท้า
    รายละเอียด

    ผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มเดิมในเขตรับผิดชอบ จำนวน158คน ได้เข้ากลุ่มเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน โดยการ ตรวจตา ไต เท้าโดยทีมสุขภาพ รพ.สต.บ้านดอนศาลา

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 6. คัดกรองโรคเรื้อรังแบบเชิงรุกในชุมชนหรือส่งเสริมการมารับบริการคัดกรองของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
    รายละเอียด

    ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ยังไม่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 1,300 คน ได้รับการคัดกรองโรคเรื้อรังแบบเชิงรุกในชุมชนโดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต.และ อสม.ลงพื้นที่ไปคัดกรองในแต่ละหมู่บ้าน โดยดำเนินการทุกเดือนจนสิ้นสุดโครงการ

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 7. กิจกรรมติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้านในกลุ่มสงสัยป่วย/ส่งต่อเพื่อการวินิจฉัย
    รายละเอียด

    กลุ่มเสี่ยงที่มีระดับความดันโลหิต กลุ่มสงสัยเป็นโรคได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้านโดย อสม.ในเขตที่รับผิดชอบ โดยดำเนินการติดตามทุกเดือนจนกว่าสิ้นสุดการดำเนินการ ถ้าพบความผิดปกติต่อเนื่องส่งต่อเพื่อรับการวินิจฉัยจากแพทย์ทุกราย โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
    - เครื่องวัดความดันโลหิต(ดิจิตัล) คัฟใหญ่ จำนวน 2 เครื่อง ๆ ละ 3,500 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท

    งบประมาณ 7,000.00 บาท
  • 8. กิจกรรมติดตามการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
    รายละเอียด

    ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มเดิม จำนวน 281 คน โดยทางทีมสุขภาพ รพ.สต.บ้านดอนศาลา จะติดตามประเมินผู้ป่วยทุกรายให้ได้รับการติดตามรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
    - เครี่องตรวจวัดความเค็ม จำนวน 5 เครื่อง x 1,200 บาทเป็นเงิน 6,000 บาท เพื่อลงพื้นที่สุ่มตรวจความเค็มในอาหารที่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงบริโภคในครัวเรือน หากพบความผิดปกติในผู้ป่วยรายใด ทางทีมสุขภาพจะเข้มงวดและให้คำแนะนำทั้งผู้ป่วยและผู้ประกอบอาหารให้ผู้ป่วยที่บ้านทราบถึงโทษและสร้างความตระหนักให้เห็นความสำคัญถึงการประกอบอาหารที่ลดเค็ม

    งบประมาณ 6,000.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 8 มกราคม 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567

8.
สถานที่ดำเนินการ

ม.4,ม.6,ม.8,ม.9 ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 35,600.00 บาท

หมายเหตุ : ทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

1.ลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ 2.ลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 3.ลดอัตราการตายด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน รหัส กปท. L3325

อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน รหัส กปท. L3325

อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 35,600.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................