กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ม้างอนร่วมใจ คัดแยกขยะ ป้องกันโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5

หมู่ที่ 5 บ้านม้างอน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนมีการคัดแยกขยะและสามารถนำขยะกลับมาใช้ใหม่

 

60.00

ขยะหรือขยะมูลฝอย (Refuse or Solid Waste ) เป็นของเสียที่อยู่ในรูปของแข็ง ซึ่งอาจจะมีความชื้นปะปนมาด้วยจำนวนหนึ่ง ขยะที่เกิดขึ้นจากอาคารที่พักอาศัย สถานที่ทำการโรงงานอุตสาหกรรม หรือตลาดสดก็ตามจะมีปริมาณและลักษณะแตกต่างกันออกไป โดยปกติแล้ววัตถุต่างๆ ที่ถูกทิ้งมาในรูปของขยะนั้น จะมีทั้งอินทรีย์สารและอนินทรีย์สาร สารวัตถุต่างๆเหล่านี้บางชนิดก็สามารถย่อยสลายได้ด้วยจุลินทรีย์ในเวลาอันรวดเร็ว โดยเฉพาะพวกเศษอาหารเศษพืชผัก แต่บางชนิดก็ไม่อาจจะย่อยสลายได้เลยเช่น พลาสติก เศษแก้ว เป็นต้น

ในพื้นที่หมู่ที่ 5 ชุมชนบ้านม้างอน ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา มีจำนวนประชากร ชาย 566 คน หญิง 556 คน รวมประชากร 1,122 คน มีจำนวนครัวเรือน 271 ครัวเรือน(ข้อมูล ณ 26 ตุลาคม 2566 : ข้อมูล JHCIS โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเสมียน) เป็นหมู่บ้านที่มีประวัติความเป็นมามากมายเป็นแหล่งที่น่าสนใจแต่มีทัศนียภาพที่ไม่น่ามอง จากการสำรวจและสังเกตในการลงพื้นที่เห็นได้ว่า ปริมาณขยะมูลฝอยในเขตชุมชนบ้านม้างอน เกิดจากพฤติกรรมประชาชนในการดำเนินชีวิตประจำวัน การทิ้งขยะไม่ถูกที่ การซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน ทำให้เกิดปริมาณขยะจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งขยะที่ย่อยสลายได้ยาก เช่น กล่องโฟม ถุงพลาสติก ขวดพลาสติก และขยะอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ซึ่งขยะเหล่านี้ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชน เป็นแหล่งการแพร่ของเชื้อโรค ที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบผิวหนัง และการเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงแหล่งเพาะพันธุ์พาหะของโรคและแมลง โดยเฉพาะก่อให้เกิดลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก จะเห็นได้ว่าเป็นตัวบั่นทอนอายุของประชาชนให้สั้นลงได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของประชาชนได้ การแก้ปัญหาขยะในชุมชนจะเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งหน่วยงานราชการ มัสยิด โรงเรียน รวมไปถึงประชาชนทุกคน ร่วมในการแก้ไขปัญหา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ร้อยละของครัวเรือนมีการคัดแยกขยะและสามารถนำขยะกลับมาใช้ใหม่

 

60.00 1.00
2 ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

 

60.00 1.00
3 ร้อยละครัวเรือนต้นแบบผ่านเกณฑ์ประเมินในการคัดแยกขยะ

 

50.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ 40
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางแผนและประชาสัมพันธ์โครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมวางแผนและประชาสัมพันธ์โครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เวทีประชาคมเพื่อค้นหาปัญหาในชุมชนบ้านม้างอน
  2. มีการประชาสัมพันธ์ทางเสียงตามสายผ่านหอกระกายเสียงของมัสยิดบ้านม้างอน
  3. ประชุม อสม. และผู้นำชุมชน เพื่อจัดทำข้อตกลงและทราบเกี่ยวกับการจัดการขยะในชุมชนอสม.และผู้นำทุกคน ต้องเป็นต้นแบบ/ตัวอย่างด้านการจัดการขยะในครัวเรือน
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 40 คนๆละ30บาท*1มื้อ เป็นจำนวน 1,200 บาท
    • กระดาษปรู๊ฟ 5 แผ่นๆละ 6 บาท เป็นจำนวน 30 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 พฤศจิกายน 2566 ถึง 29 พฤศจิกายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครัวเรือนเข้าร่วมเวทีประชาคม จำนวน 40 ครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1230.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะ&การรักษาสิ่งแวดล้อม

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะ&การรักษาสิ่งแวดล้อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดการอบรม ให้ความรู้แก่ตัวแทนครัวเรือน อสม. แกนนำ และเยาวชนในชุมชน โดยวิทยากรจากเทศบาลตำบลนาทับ ในเรื่องการจัดการขยะและการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย “Green Community ชุมชนสีเขียว” ซึ่งเป็นการนำหลัก Green office มาปรับใช้ในชุมชน , การทำถังขยะเปียกครัวเรือน การทำเสวียนจากไม้ไผ่ , การป้องกันโรคที่เกิดการขยะ
    • ค่าจัดทำไวนิลโครงการ จำนวน 3 ผืนๆละ 500 บาท เป็นจำนวน 1,500 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนๆละ 30 บาท เป็นจำนวน 1,800 บาท
    • ค่าแผ่นพับ/ใบปลิว จำนวน 60*10 บาท เป็นจำนวน 600บาท
    • ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน 600 บาท*3 ชั่วโมง เป็นจำนวน 1,800 บาท
    • ค่าปากกา 5 โหลๆละ 90 บาท เป็นจำนวน 450 บาท
    • ค่ากระดาษ 1 รีม เป็นจำนวน 170 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
6 ธันวาคม 2566 ถึง 6 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ 50 ครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6320.00

กิจกรรมที่ 3 Big Cleaning Day และตลาดนัดขยะรีไซเคิลเคลื่อนที่ในชุมชนบ้านม้างอน

ชื่อกิจกรรม
Big Cleaning Day และตลาดนัดขยะรีไซเคิลเคลื่อนที่ในชุมชนบ้านม้างอน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. การจัดการขยะในชุมชน โดยให้แต่ละครัวเรือนคัดแยกขยะ โดยมีการนำขยะรีไซเคิลมาแลกของรางวัล โดยมีข้อตกลงว่าต้องมีการคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง
  2. กิจกรรม Big Cleaning Day 5 ส. ในชุมชนแบ่งพื้นที่การทำความสะอาดทั่วทั้งชุมชนบ้านม้างอนแบ่งออกเป็น 4 โซน โดยมีการเก็บ กวาด ขยะริมทาง ฯลฯ
    • ค่าถุงดำ 4 แพ็คๆละ 80 บาท เป็นจำนวน 320 บาท
    • ไม้กวาดทางมะพร้าว 8 ด้ามๆละ 60 บาท เป็นจำนวน 480 บาท
    • ถุงรางวัล 60 ถุงๆละ 50 บาท เป็นจำนวน 3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
13 ธันวาคม 2566 ถึง 10 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครัวเรือนเข้าร่วมโครงการและมีการคัดแยกขยะจำนวน 50 ครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3800.00

กิจกรรมที่ 4 ประเมินการคัดแยกขยะในครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประเมินการคัดแยกขยะในครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประเมินการคัดแยกขยะและรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย Green Community ในครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ
    โดยใช้แบบประเมินการคัดแยกขยะและรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย Green Community ในครัวเรือน เป็นเกณฑ์การประเมิน
    • ค่าถ่ายเอกสารแบบประเมินครัวเรือน 60 ชุดๆละ 5 บาท เป็นจำนวน 300 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 10 คนๆละ 30 บาท เป็นจำนวน 300 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
20 ธันวาคม 2566 ถึง 10 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการผ่านเกณฑ์การประเมินจำนวน 50 ครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

กิจกรรมที่ 5 คืนข้อมูลให้แก่ครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
คืนข้อมูลให้แก่ครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ทำการคืนข้อมูลให้แก่ครัวเรือน มอบรางวัล เกียรติบัตรและธง Green Community ให้กับครัวเรือนที่ผ่านการประเมิน
    • ค่าถ่ายเอกสารแบบประเมินความพึงพอใจ 60 แผ่นๆละ 0.50 บาท เป็นจำนวน 30 บาท
    • ค่าเกียรติบัตร จำนวน 60 แผ่นๆละ 25 บาท เป็นจำนวน 1,500 บาท
    • ค่าธงสัญลักษณ์ 60 ผืนๆละ 40 บาท เป็นจำนวน 2,400 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 60 คนๆละ 30 บาท เป็นจำนวน 1,800 บาท
    • พัดลม 3ตัวๆละ 300 บาท เป็นจำนวน 900 บาท
    • กระทะเทฟล่อน+ตะหลิว 2 ชุดๆละ 150 บาท เป็นจำนวน 300 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มกราคม 2567 ถึง 10 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการผ่านเกณฑ์การประเมิน 50 ครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6930.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,880.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกกิจกรรม/ทุกรายการ สามารถเฉลี่ยจ่ายได้ตามความเหมาะสม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ และการจัดการขยะอย่างถูกวิธี สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
2. ประชาชนในชุมชน มีจิตสำนึกและตระหนักถึงความสำคัญของการคัดแยกขยะ ร่วมกันคัดแยกขยะในครัวเรือน
3. ขยะในชุมชนมีปริมาณลดลง
4. ลดการเกิดโรคจากขยะในชุมชน


>