กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ปัญหาสุขภาพและป้องกันโรคที่เกิดจากภัยพิบัติน้ำท่วมในพื้นที่ตำบลกาวะ ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลกาวะ

ตำบลกาวะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม

 

23.83

ภาคใต้ของประเทศไทย เป็นภูมิอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน และโดยที่ภูมิประเทศของภาคใต้มีลักษณะเป็นคาบสมุทรยาวแหลม มีพื้นน้ำขนาบอยู่ทั้งทางด้านตะวันตก และทางด้านตะวันออก จึงทำให้มีฝนตกตลอดปีและเป็นภูมิภาคที่มีฝนตกมากที่สุด
นราธิวาสเป็นจังหวัดที่อยู่ทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกจัดว่าเป็นจังหวัดที่มีฝนค่อนข้างดีตลอดปี ในฤดูมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือจะมีฝนชุกมากกว่าฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เพราะอยู่ทางด้านตะวันออกของภาคใต้ ไม่มีภูเขาสูงปิดกั้น จึงได้รับมรสุมเต็มที่ท่าให้มีฝนตกชุกโดยเฉพาะเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ปริมาณฝนของจังหวัดอยู่ในเกณฑ์ดีถ้าเทียบกับทั้งประเทศ แต่ถ้าเปรียบเทียบในภาคเดียวกันถือว่าปานกลาง ตำบลกาวะ เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส เป็นที่ราบลุ่มพื้นที่เกษตรกรรมด้านการทำไร่นา ปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน ช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคมของทุกปี จะมีฝนตกชุก และส่งผลให้มีบริเวณน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทั้งในสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันและบริเวณบ้านเรือนของประชาชน
สถานการณ์น้ำท่วมตำบลกาวะปี 2566 ที่ผ่านมา พบว่า ตำบลกาวะ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส มีหลังคาเรือน จำนวน 344 หลังคาเรือน ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมขัง ซึ่งพบบริเวณ พื้นที่ทั้ง 6 หมู่บ้านของตำบล เพราะเป็นพื้นที่ราบลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 23.83 จากการสำรวจและเยี่ยมติดตาม ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ขอให้ทางองค์การบริหารส่วนตำบลกาวะ ให้ความช่วยเหลือด้านสาธารณสุขเบื้องต้น ถุงยังชีพ และอื่นๆ จึงเป็นที่มาที่จะจัดโครงการแก้ปัญหาสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมตำบลกาวะ ประจำปี 2567 นี้ขึ้น เพื่อบรรเทาปํญหาทางสาธารณสุขที่จะเกิดขึ้นต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม

สามารถลดปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นและบรรเทาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม(ร้อยละ)

23.83 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
หลังคาเรือนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติน้ำท่วม 400

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 23/11/2023

กำหนดเสร็จ 31/03/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 แกนนำสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ ลงสำรวจประชาชนที่ได้รับผลกระทบและแนะนำการป้องกันโรค

ชื่อกิจกรรม
แกนนำสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ ลงสำรวจประชาชนที่ได้รับผลกระทบและแนะนำการป้องกันโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แกนนำสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ ลงสำรวจประชาชนที่ได้รับผลกระทบและแนะนำการป้องกันโรค

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนหลังคาเรือนที่ได้รับผลกระทบ จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 สนับสนุนเวชภัณฑ์ยาพร้อมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคที่มากับน้ำท่วม

ชื่อกิจกรรม
สนับสนุนเวชภัณฑ์ยาพร้อมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคที่มากับน้ำท่วม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดหาเวชภัณฑ์ยา จำนวน 400 ชุดๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 40,000 บาท
  • ออกเยี่ยมครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบพร้อมมอบชุดเวชภัณฑ์ยา
  • ให้ความรู้เกี่ยวกับการดุแลตนเอง และการป้องกันโรคที่มากับน้ำท่วม
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทะเบียนผู้ได้รับการสนับสนุนเวชภัณฑ์ยา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
40000.00

กิจกรรมที่ 3 แกนนำสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ลงเยี่ยมติดตามและประเมินผลกระทบต่อสุขภาพหลังเกิดภัยพิบัติน้ำท่วม

ชื่อกิจกรรม
แกนนำสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ลงเยี่ยมติดตามและประเมินผลกระทบต่อสุขภาพหลังเกิดภัยพิบัติน้ำท่วม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • แกนนำสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ลงเยี่ยมติดตามและประเมินผลกระทบต่อสุขภาพหลังเกิดภัยพิบัติน้ำท่วม
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รายางานผลกระทบของประชาชนหลังได้รับการติดตาม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัยได้รับการแก้ปัญหาสุขภาพ
2. ประชาชนมีความรู้และสามารถป้องกันโรคที่มากับน้ำท่วมได้


>