กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาระบบบูรณาการ โรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดโรครายใหม่และเพิ่มอัตราการควบคุมโรค ในเขตเทศบาลตำบลบ้านสวน ปีงบประมาณ2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาระบบบูรณาการ โรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดโรครายใหม่และเพิ่มอัตราการควบคุมโรค ในเขตเทศบาลตำบลบ้านสวน ปีงบประมาณ2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

รพ.สต.บ้านปากคลอง

ผู้ประสานงาน นางวรลักษณ์ บุญจันทร์ศรี 0887908751 รักษาราชการแทน ผอ.รพ.สต.บ้านปากคลอง

หมู่ 1 (เขตเทศบาลบ้านสวน) หมู่ 2 ,3, 5 ,7 ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

12.28
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

16.70
3 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

 

8.34
4 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวามที่คุมระดับน้ำตาลได้ดี

 

49.78
5 ร้อยละของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่คุมระดับความดันโลหิตได้ดี

 

45.68

โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความป็นอยู่ของประชาชน ทำให้วิถีการดำรงชีวิตของประชาชนเปลี่ยนแปลงตามไปจากการประเมินสถานการณ์พบว่า อัตราชุกของโรคเหล่านี้ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นแบบชันอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563 พบว่าปัญหาสุขภาพอันดับต้นของสังคมในปัจจุบัน คือ โรคที่เกิดจากพฤติกรรมทางสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป คือ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งมีกลุ่มโรคที่พบบ่อยในวัยกลางคนและวัยสูงอายุ คือ โรคกลุ่มที่เป็นความเสี่ยงของหลอดเลือด เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โดยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเกิดจากปัจจัยเสี่ยงร่วมกันทางด้านพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม และเกิดผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ไม่ดีร่วมกัน ระบบติดตามภาวะแทรกซ้อนยังขาดความต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 35 ปี ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นได้รับการคัดกรองเพื่อวินิจฉัยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90

70.00 90.00
2 2.เพื่อประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงจากการคัด กรอง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. 2 ส.

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ร้อยละ 80

50.00 80.00
3 3. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการส่งเสริมการดูแลสุขภาพ ได้รับการตรวจประเมินสุขภาพ ตา ไต เท้า และเจาะเลือดประจำปี

ผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง เขตเทศบาลตำบลบ้านสวน ได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางตา ไตและเท้า ร้อยละ 80

40.00 80.00
4 4.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในสถานบริการและชุมชน ได้รับความรู้และส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วย โดยใช้เครื่องมือ “ปิงปอง 7 สี

ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ร้อยละ 60 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ดี  ร้อยละ 60

50.00 60.00
5 5.เพื่อเพิ่มผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตได้ดี

ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ร้อยละ 60 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ดี ร้อยละ 60

50.00 60.00
6 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่

จำนวนผู่ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ไม่เกิน ร้อยละ 5

50.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 152
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 700
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านปากคลอง และอสม.ทุกคน เพื่อเตรียมดำเนินการตามแผนงานของโครงการ

ไม่มีงบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 ธันวาคม 2566 ถึง 27 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-เจ้าหน้าที่และอสม.ทุกคนรับทราบ แนวทางการดำเนินงานโครงการตรงกัน

-มีกลุ่มเป้าหมาย

-ได้กลไกการทำงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในประชากร.อายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในประชากร.อายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดกรองโรคเบาหวาน ในประชากร.อายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป โดยการเจาะโลหิตปลายนิ้วหาระดับน้ำตาล (DTX) และคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โดยการวัดความดันโลหิต (BP)

งบประมาณ

-จัดซื้อแถบตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด (DTX) พร้อมเข็มเจาะ จำนวน 7 กล่อง กล่องละ 1,000 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท

  • เครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว ราคาเครื่องละ 2,500 บาท จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 2,500 บาท

    รวมเงิน 9,500บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 31 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชากรกลุ่มเป้าหมายอายุ35ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองน้ำตาลปลายนิ้วและวัดความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9500.00

กิจกรรมที่ 3 ฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับโรคตามหลัก 3 อ.2 ส. และการนำ เครื่องมือ“ปิงปอง 7 สี สื่อสุขภาพ”มาใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง/สงสัยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

งบประมาณ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มของผู้เข้ารับการอบรม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง,วิทยากรจำนวน 55 คน คนละ 1 มื้อๆละ 25 บาทต่อคน เป็นเงิน 1,375 บาท

- ค่าสมนาคุณวิทยากร อบรม ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1800 บาท

-ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร ตารางเมตรละ 180 บาท เป็นเงิน 520 บาท

-ชุดโมเดลอาหารแลกเปลี่ยน 36 ชิ้น พร้อมอุปกรณ์ราคา 14,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 เมษายน 2567 ถึง 5 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง จำนวน 60 คน ได้รับการฝึกอบรมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบา หวาน/ความดันโลหิตสูง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17695.00

กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน โดยมีกิจกรรมตรวจตา ไต เท้า และตรวจเลือดประจำปี

-ไม่มีงบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยเบาหวานเข้าร่วมกิจกรรมตรวจตา ไต เท้าร้อยละ 80 และผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้าได้รับการส่งต่อโรงพยาบาลเพื่อการรักษาที่เหมาะสมทุกราย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงเกี่ยวกับการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วย ตามหลัก 3 อ. 2 ส. และการนำเครื่องมือสื่อสุขภาพ ปิงปอง 7 สี มาใช้ โดยให้ความรู้เป็นรายบุคคล และรายกลุ่มในวันคลีนิค NCDของ รพ.สต.

-ไม่มีงบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 พฤศจิกายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในสถานบริการและชุมชน ได้รับความรู้และส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้เครื่องมือ “ปิงปอง 7 สี สื่อสุขภาพ
-ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ร้อยละ 60 -.ร้อยละของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ดี ร้อยละ 60

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 สรุปผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปและรายงานผลโครงการและจัดทำรูปเล่มโครงการโครงการพัฒนาระบบบูรณาการ โรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดโรครายใหม่และเพิ่มอัตราการควบคุมโรค ในเขตเทศบาลตำบลบ้านสวน ปีงบประมาณ2567 งบประมาณ ค่าจัดทำรูปเล่ม 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วยได้เข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  • จำนวนผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงรายใหม่ ไม่เกินร้อยละ 5
  • ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจและประเมิน ตา ไต เท้า -ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี -ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,395.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถั่วเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

มีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง และผู้ป่วยเบาหวานสามารถคุมระดับน้ำตาลได้ดีเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามาถควบคุมภาวะความดันได้ดีและไม่มีภาวะการแทรกซ้อนของโรค


>