กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้สูงอายุสุขภาพกายดี สุขภาพจิตดี ชีวีมีสุข ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและส่งเสริมอาชีพตำบลคลองขุด

1. นางประไพ อุบลพงษ์ ประธานศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและส่งเสริมอาชีพตำบลคลองขุด
2. นางประมูลมีบุญ รองประธาน
3. นางสาวกัญญาแสงเพ็ชร กรรมการ
4. นายธีระปานรงค์ กรรมการ
5. นางสิริลักษณ์ตั่นสกุล กรรมการ

โรงเรียนบ้านคลองขุด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

34.12
2 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

34.12

ปัจจุบันพบว่าผู้สูงอายุไทยเป็นโรคเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิต ไตวาย โรคดังกล่าวสามารถนำไปสู่ภาวะทุพพลภาพและการเสียชีวิตของผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นภาวะที่บั่นทอนสุขภาพ สิ่งที่ผู้สูงอายุต้องการมากที่สุดในช่วงบั้นปลายชีวิต คือ ความสุข อันเกิดจากการมีคุณภาพชีวิตที่ดี 3 องค์ประกอบด้วยกัน ได้แก่ การมีสุขภาพที่ดี ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม (ลัดดา, 2555: 14-15) โดยการมีสุขภาพที่ดีย่อมเกิดจากการที่บุคคลทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์และส่งเสริมสุขภาพของตนเอง (Pender, 1996: 98) และนอกจากการที่ผู้สูงอายุดูแลสุขภาพของตนเองแล้ว ยังสามารถรับการดูแลจากบุคคลอื่นได้ด้วย หรือที่เรียกว่าการสนับสนุนทางสังคม โดยกิจกรรมที่กระทำต่อผู้สูงอายุเน้นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาวะสุขภาพส่งผลให้สุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุดีขึ้น (Cohen and Syme, 1985: 3-4) การสนับสนุนทางสังคมเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ โดยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีตามวัย ชะลอความเสื่อมอันเป็นสิ่งบ่งบอกถึงคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ แนวทางการดูแลสุขภาพควรมุ่งไปที่การป้องกัน มากกว่าการรักษาโดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มสุรา ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ตรวจสุขภาพประจำปีเหล่านี้จะทำให้เป็นวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะการออกกำลังกายเป็นสิ่งจำเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะทำให้ผู้สูงอายุสามารถมีสุขภาพที่ดี ลดการพึ่งพิงผู้อื่น ร่างกายแข็งแรง มีภูมิคุ้มกันไม่เจ็บป่วยง่าย ผู้สูงอายุสามารถออกกำลังกายได้เช่นเดียวกับวัยอื่น แต่ควรคำนึงถึงความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายที่มีน้อยกว่า ผู้สูงอายุสามารถออกกำลังกายได้ 3 ประเภท คือ การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความทนทานของหัวใจและหลอดเลือด การออกกำลังกายที่มีแรงต้าน และการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นโดยการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุควรเป็นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความทนทานของหัวใจและหลอดเลือดการออกกำลังกายแบบแอโรบิคเป็นการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ เป็นการออกกำลังกายที่มีการทำงานร่วมกันของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ ทำให้ความสามารถในการใช้ออกซิเจนของร่างกายเพิ่มมากขึ้น
ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและส่งเสริมอาชีพตำบลคลองขุด จึงได้จัดทำโครงการผู้สูงอายุสุขภาพกายดี สุขภาพจิตดี ชีวีมีสุข เพื่อพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายให้กับผู้สูงอายุในตำบลคลองขุด เพื่อพัฒนาสุขภาพกายและสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ เพื่อประโยชน์ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้มีสุขภาพที่ดีจากการออกกำลังกาย มีร่างกายแข็งแรงจิตใจแจ่มใสเบิกบานได้พูดคุยกับเพื่อนวัยใกล้เคียงกัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

34.12 36.23
2 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ

ผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์) เพิ่มขึ้้น

34.12 36.23

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 60
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการดูแลสุขภาพกาย จิตผู้สูงอายุ ด้วยความสุข 5 มิติ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการดูแลสุขภาพกาย จิตผู้สูงอายุ ด้วยความสุข 5 มิติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ     1.1 การดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ด้วยความสุข 5 มิติ           - สุขสบาย การดูแลสุขภาพร่างกายให้มีสรรถภาพร่างกายที่คล่องแคล่ว (การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย, กินอย่างไรให้มีประโยชน์ อาหารจานโปรดสำหรับผู้สูงอายุ)           - สุขสนุก การเลือกวิถีชีวิตที่รื่นรมย์สนุกสาน กิจกรรมสันทนาการต่าง ๆ
          - สุขสง่า ความรู้สึกพึงพอใจในชีวิต ความภาคภูมิใจในตนเอง           - สุขสว่าง การคิดอย่างมีเหตุผล ความจำ           - สุขสงบ ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจในความรู้สึกของตนเอง การควบคุมอารมณ์ งบประมาณ
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 63 คน ๆ ละ 30  บาท จำนวน 2 วัน ๆ ละ 2 มื้อ  เป็นเงิน 7,560 บาท
2.ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 63  คนๆ ละ 7๐  บาท  จำนวน  2  มื้อ  เป็นเงิน 8,820  บาท
3. ค่าเช่าเครื่องเสียง จำนวน 2 วัน              เป็นเงิน 2,000  บาท
4. ค่าเช่าสถานที่  จำนวน 2 วัน            เป็นเงิน 2,000  บาท
5. ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ ๖๐๐  บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
6. ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่ม จำนวน 3 คน ๆ ละ 8 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 14,400 บาท
7. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.5 x 3.5 เมตร ตารางเมตรละ 150 บาท  เป็นเงิน 787 บาท
8. ค่าวัสดุอุปกรณ์กิจกรรมสุขสงบ สันทนาการ          เป็นเงิน  140 บาท
8.1 ค่าตะกร้า  ๒ ใบ  ใบละ 20 บาท เป็นเงิน 40 บาท
8.2 ฟุตบอล 2 ลูก ๆ ๒๐ บาท เป็นเงิน 40 บาท
8.3 เข็มเย็บผ้า 3 แผง  ๒๐ บาท เป็นเงิน ๖๐ บาท
9. ค่าจัดทำเกียรติบัตรสำหรับผู้มีสุขภาพกายดี สุขภาพจิตดี ชีวีมีสุข จำนวน ๑๐ แผ่น ๆ ละ ๓๐ บาท      เป็นเงิน  ๓๐๐ บาท
10.  ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่นๆที่ใช้ในโครงการ ( ค่าเข้าเล่มและการจัดรูปเล่มหลักฐานเอกสาร ค่าถ่ายเอกสาร ค่าพริ้นรูป เป็นเงิน 5๐๐  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.  ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจและแก้ปัญหาสุขภาพได้ด้วยตนเอง ร้อยละ 80 2.  ผู้สูงอายุได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ร้อยละ 100 ผลลัพธ์     ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาสุขภาพได้ด้วยตนเอง มีสมรรถภาพทางร่างกายที่แข็งแรง จิตใจแจ่มใสเบิกบาน มีอายุยืนยาว สามารถช่วยเหลือตัวเองได้  ไม่เป็นภาระแก่ลูกหลาน ชุมชน และสังคม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37707.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์ชวนผู้สูงอายุออกกำลังกาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ชวนผู้สูงอายุออกกำลังกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เดินรณรงค์เดินเชิญชวนผู้สูงอายุและบุคคลอื่น ๆ ออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง
งบประมาณ
1.ป้ายไวนิลกิจกรรมรณรงค์การออกกำลังกาย จำนวน 3 ป้าย ๆ ละ 450 บาท เป็นเงิน 1,350 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มขึ้น อย่างน้อย 5 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,057.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณต่าง ๆ สามารถถัวจ่ายกันได้ตามการจ่ายจริงกิจกรรมสถานที่และเวลาสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>