กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสตรีใส่ใจป้องกันมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก (รพ.สต.บ้านสามแยก)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสามแยก

1. นางโซเฟียยามี
2. นางสาวนุสรินทร์ อาแด

เขตรับผิดชอบรพ.สต.บ้านสามแยก ตำบลกายูคละ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ ๒ของโรคมะเร็งทั้งหมดของสตรีไทย รองจากมะเร็งเต้านมปัจจุบันในประเทศไทยแต่ละปีจะพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ๑๐,๐๐๐ราย และเสียชีวิตจากการเป็นมะเร็งปากมดลูก๕,๐๐๐รายอัตราการเสียชีวิตของสตรีไทยเพิ่มขึ้นจาก๗คน/วันเป็น๑๔คน/วัน สถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาพบแพทย์เมื่อระยะของโรคมะเร็งนั้นได้เข้าสู่ในระยะลุกลามแล้ว การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากไม่สามารถประกอบอาชีพได้ก่อให้เกิดปัญหาด้านสังคมและครอบครัวตามมาอย่างมากมายแต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรกร้อยละ๓๐ – ๔๐ สามารถป้องกันได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยงและหากได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งตั้งแต่ระยะแรก จะสามารถป้องกันและได้รับการรักษาได้ทันท่วงที ดังนั้น
ถ้าสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค อัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งลดลง
ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส ได้ตั้งเกณฑ์ตัวชี้วัด ร้อยละ 20 ในแต่ละปี เป็นเวลา 5 ปี ให้ได้ตามเกณฑ์ร้อยละ 100 การคัดกรองตรวจมะเร็งปากมดลูกของสตรีตำบลกายูคละเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสามแยก กลุ่มเป้าหมายปีงบประมาณ 2567ทั้งหมด 636 คน ต้องได้รับการคัดกรองในปีงบประมาณ 2567จำนวน 128 คนขึ้นไป การดำเนินงานคัดกรองตรวจมะเร็งปากมดลูกมีความยากลำบากในการติดตามเนื่องจากกลุ่มเป้าหมายมีความรู้สึกเขินอาย ไม่กล้าที่จะมาตรวจคัดกรองที่สถานบริการ วิตกกังวลกับผลของการตรวจ และไม่เห็นความสำคัญของการตรวจมะเร็งปากมดลูกเป้าหมายในแต่ละปี มีความยากลำบากในการติดตามทำให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสามแยกต้องมีการรณรงค์และจำเป็นต้องใช้เครือข่ายด้านสุขภาพที่มีอยู่ในชุมชนช่วยในการดำเนินงาน ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสามแยก ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการสตรีใส่ใจป้องกันมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ในกลุ่มเสี่ยงให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธีHPV TESTและตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธีHPV DNA TEST และตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

140.00 140.00
2 สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม

ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม

140.00 140.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 140
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-อบรมให้ความรู้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60ปี จำนวน140คน
- ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บ. X 6ชม. X 1 วัน = 3,600 บ.
- ค่าอาหารกลางวัน 50 บ. X 140 คน = 7,000 บ.
- ค่าอาหารว่าง 25 บ. 2 มื้อ x 140 คน = 7,000 บ.
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ = 4,900บ.
- ค่าป้ายโครงการ = 1,000บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23500.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี  HPV TEST และตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,500.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้)

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ที่ผ่านระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านมสามารถดูแลตนเองและป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมได้ และมีการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุก 5 ปี


>