กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองทรายขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูงรอบรู้ด้านสุขภาพชะลอภาวะแทรกซ้อน ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองทรายขาว

กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลกงหรา (นส.วันทนีย์ ชัยฤทธิ์ 0869074809)

เขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชน รพ.กงหรา 5 หมู่บ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

 

65.00
2 ร้อยละของคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัดเป็นประจำ (มากกว่า 5 วันต่อสัปดาห์)

 

18.00
3 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

57.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

65.00 70.00
2 เพื่อลดคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัด เป็นประจำ (มากกว่า 5 วันต่อสัปดาห์)

ร้อยละของคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัดเป็นประจำ (มากกว่า 5 วันต่อสัปดาห์)

18.00 15.00
3 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

57.00 65.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
ประชุมกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมกลุ่มเป้าหมาย 60 คน เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการแบ่งกลุ่มย่อย กำหนดกติกา สู้่ผลลัพธ์โดยนวิทยากรกระบวนการใช้เวลา 2 ชั่วโมง
  2. ให้ความรู้ผลกระทบจากการป่วยเป็นโรคเรื้อรัง และการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 1 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สถานะสุขภาพเบื้องต้น
  2. ได้กติกากลุ่มเป้าหมาย
  3. ได้กลุ่มย่อย และกลไกติดตาม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมวิชาการเชิงปฏิบัติการ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมวิชาการเชิงปฏิบัติการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดอบรมวิชาการเชิงปฏิบัติการแก่ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ เป็นฐานให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง อาหาร, การใช้ยา, การลดเกลือโซเดียม น้ำตาล ไขมัน, ฉลากโภชนาการ, ออกกำลังกาย ที่ หอประชุมหมู่่บ้านหมู่ที่ 4 เดือนเมษายน 2567 -ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้ป่วยที่เข้าร่วมอบรมและผู้ดำเนินงานจำนวน 60 คนๆ ละ 1 มื้อๆละ 70 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ป่วยที่เข้าร่วมอบรมและผู้ ดำเนินงาน จำนวน 60 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 30บาท จำนวน1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท
2.สื่อการเรียนรู้เรื่องโรค,อาหาร ,การใช้ยา ,การลดเกลือ น้ำตาล ไขมัน , ฉลากโภชนาการ ,การออกกำลังกายเป็นเงิน 2,500 บาท

3.จัดทำ “คู่มือฉลาดอยู่กับเบาหวาน ความดันโลหิตสูง” จำนวน 65 เล่มๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 3,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 เมษายน 2567 ถึง 14 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.เบาหวาน และความดันโลหิตสูง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่เจ็บป่วยด้วยภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง

2.ผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ตระหนักในการดูแลตนเองและได้รับการดูแลอย่างถูกต้องเหมาะสม และชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อน


ผลลัพธ์ 1. อัตราผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมไม่ได้มีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร โดยลดหวาน มัน เค็ม การออกกำลังกาย เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

  1. อัตราผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด/ความดันโลหิตได้ดี ร้อยละ 40 และ ร้อยละ 70 ตามลำดับ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13550.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่เจ็บป่วยด้วยภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง
2.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน เกิดความตระหนักในการดูแลตนเองและมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้องและเหมาะสม


>