กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาชัยสน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการประชาชนร่วมใจต้านภัยโรคติดต่อในชุมชน ศูนย์สุขภาพชุมชน รพ.เขาชัยสน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาชัยสน

ศูนย์สุขภาพชุมชน รพ.เขาชัยสน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ปัญหาโรคติดต่อ เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดต่อหลายชนิด เนื่องจากเชื้อโรคจะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น เจริญเติบโตได้รวดเร็ว สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและเร็ว จากสถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาอำเภอเขาชัยสนเดือนมกราคม2566-ปัจจุบัน พบว่า โรคไข้หวัดใหญ่ ป่วยจำนวน 459 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 1029.33 ต่อแสนประชากร โรคไข้เลือดออก ป่วยจำนวน 272 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 264.62 ต่อแสนประชากร โรคอุจจาระร่วงป่วยจำนวน 272 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 609.97 ต่อแสนประชากร โรคมือ เท้า ปาก ป่วยจำนวน 42 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 94.19 ต่อแสนประชากร โรคฉี่หนู ป่วยจำนวน 9 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 20.18 ต่อแสนประชากร โรคสครัปไทฟัส ป่วยจำนวน 4 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 8.97 ต่อแสนประชากร โดยประชาชนจะต้องทราบถึงสาเหตุและแนวทางป้องกันโรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เพื่อให้ระมัดระวังและป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อโรค โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคของประชาชนในพื้นที่จะต้องรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ จึงจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสุขภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมจากภาคท้องถิ่นและภาคประชาชน วางแผนป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่ โดยการดำเนินงานในลักษณะ “ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผล และร่วมรับผิดชอบ” ในทุกระดับ เพื่อช่วยกันค้นหาปัญหา จึงจะสามารถแก้ไขต้นตอของปัญหาการเกิดโรค ประชาชนจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทและสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ภายใต้ศักยภาพพื้นที่ของตนเอง หน่วยงานเกี่ยวข้องทุกระดับให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพที่แท้จริงของพื้นที่เป็นหลัก สามารถเชื่อมโยงผสมผสานแนวคิด องค์ความรู้ เข้ากับบริบทของพื้นที่ จึงจะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไปในอนาคต
ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลเขาชัยสน จึงได้จัดทำโครงการประชาชนร่วมใจต้านภัยโรคติดต่อเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนผู้สนใจสามารถป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ เพื่อพัฒนาศักยภาพ ทักษะส่วนบุคคลและชุมชนให้เกิดความพร้อมในการเฝ้าระวังและการสอบสวนโรค พร้อมทั้งเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องโรคติดต่อในชุมชน
  1. ประชาชนร้อยละ 80 มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องโรคติดต่อในชุมชน
0.00
2 2. เพื่อประชาชนสามารถเฝ้าระวังป้องกันโรคด้วยตนเองได้
  1. ประชาชนร้อยละ 80 สามารถเฝ้าระวังป้องกันโรคด้วยตนเองได้
0.00
3 3. เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
  1. ประชาชนร้อยละ 80  มีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.อบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อที่พบในชุมชน 2.กิจกรรมกลุ่ม/จำลองเหตุกาณ์เสมือนจริง 3.นำเสนอและอภิปราย 4.แลกเปลี่ยนเรียนรู้การควบคุมป้องกันโรคและปัญหาอุปสรรค

ชื่อกิจกรรม
1.อบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อที่พบในชุมชน 2.กิจกรรมกลุ่ม/จำลองเหตุกาณ์เสมือนจริง 3.นำเสนอและอภิปราย 4.แลกเปลี่ยนเรียนรู้การควบคุมป้องกันโรคและปัญหาอุปสรรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าวิทยากร 1 คนๆละ 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 60 บาท จำนวน 80 คน เป็นเงิน 4,800 บาท 3.ค่าอาหารว่าง 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 80 คน เป็นเงิน 4,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 12,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องโรคติดต่อในชุมชน
  2. ประชาชนสามารถเฝ้าระวังป้องกันโรคด้วยตนเองได้
  3. ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องโรคติดต่อในชุมชน
2. ประชาชนสามารถเฝ้าระวังป้องกันโรคด้วยตนเองได้
3. ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ


>