กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วม พื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย ปีงบประมาณ 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วม พื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย

1. นางนฐมน ผุดพัฒน์ประธานอสม. หมู่ที่ 5

2. นางฉ้าย เหมือนศรีสมาชิกอสม. หมู่ที่ 6

3. นางธนภรณ์ มหาแสนประธานอสม. หมู่ที่ 12

4. นางริวรรณ หนูทอง ประธานอสม. หมู่ที่ 14

5. นางหนูจิน คงเหล่ประธานอสม. รพ.สต. บ้านท่าควาย

หมู่ที่ 5 หมู่ที่ 6 หมู่ที่ 12 และหมู่ที่ 14 ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

25.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุที่ชอบบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม

 

56.00

ในปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ องค์การสหประชาชาติ กล่าวว่า เมื่อประเทศใดมีประชากร อายุ 60 ปีขึ้นไป เท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 20 หรือ ประชากรอายุ 65 ขึ้นไป เท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 14 ของประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aged Society) ซึ่งประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี 2567สำหรับในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย มีประชากร อายุ 60 ปีขึ้นไป เท่ากับ ร้อยละ 18.42และประชากรอายุ 65 ขึ้นไป เท่ากับ ร้อยละ 14.05ในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีผลกระทบต่ออัตราส่วนภาระพึ่งพิง หรือภาระโดยรวมที่ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงดูประชากรวัยผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นอาจนำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงปัญหาในด้านสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุมีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลง มีความเสื่อมของร่างกาย อวัยวะต่างๆ ทั่วไปเริ่มอ่อนแอ เกิดโรคง่าย ภูมิต้านทานโรคน้อยลง รวมถึง มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและสังคม นอกจากนี้ ผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์) เพียงร้อยละ 25 และผู้สูงอายุบริโภคชอบอาหารหวาน มัน เค็ม ร้อยละ 56 ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย ได้ตระหนักถึงคุณค่าและสุขภาพของผู้สูงอายุ รวมถึงเข้าใจสภาพปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในทุกๆ ด้านดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วม พื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย ปีงบประมาณ 2567 และจัดกิจกรรมต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของผู้สูงอายุ โดยมุ่งหวังให้เกิดการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐ ทั้งนี้ได้มุ่งเน้นในด้านการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพไม่เป็นภาระต่อสังคมและครอบครัวต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ

ร้อยละผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์) เพิ่มขึ้้น

25.00 20.00
2 เพื่อลด จำนวนผู้สูงอายุที่ติดการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม

ร้อยละของผู้สูงอายุที่ชอบบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม  ลดลง

56.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 100
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการคณะทำงานชมรมผู้สูงอายุ เพื่อกำหนดความต้องการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการคณะทำงานชมรมผู้สูงอายุ เพื่อกำหนดความต้องการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คนๆ 1 มื้อๆ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท

กำหนดการประชุม

เวลา 13.00 - 14.00 น. การประชุม แบบ Focus group สภาพปัญหาพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ด้าน 3 อ. 2 ส.

เวลา 14.00 - 14.20 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม

เวลา 14.20 - 15.30 น. การประชุม ความต้องการในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ด้าน 3 อ. 2 ส.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆ 1 มื้อๆ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท

กำหนดการประชุม

เวลา 13.00 - 14.30 น. การประชุม การมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ด้าน 3 อ. 2 ส.

เวลา 14.30 - 14.40 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม

เวลา 14.40 - 15.30 น. การประชุม ความต้องการในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมเชิงปฏิบัติการคณะทำงานชมรมผู้สูงอายุ เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการคณะทำงานชมรมผู้สูงอายุ เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คนๆ 1 มื้อๆ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท

กำหนดการประชุม

เวลา 13.00 - 14.00 น. การประชุม รูปแบบพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ด้าน 3 อ. 2 ส.

เวลา 14.00 - 14.20 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม

เวลา 14.20 - 15.30 น. การประชุม การนำไปใช้ของรูปแบบพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ด้าน 3 อ. 2 ส.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกาย และพฤติกรรมลดหวาน มัน เค็ม ของผู้สูงอายุในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกาย และพฤติกรรมลดหวาน มัน เค็ม ของผู้สูงอายุในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

4.1กิจกรรมออกกำลังกายของผู้สูงอายุ อย่างต่อเนื่อง สัปดาห์ละ 3 วัน (150 นาทีต่อสัปดาห์)

-ค่าเครื่องเสียงออกกำลังกายกลางแจ้ง จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 6,000 บาท

4.2กิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุโดย อสม.

4.2.1ส่งเสริมพฤติกรรมลด หวาน มัน เค็ม

4.2.2 ส่งเสริมพฤติกรรมการลดการสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมติดตาม และประเมินพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตาม และประเมินพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

5.1การสำรวจประเมินพฤติกรรมของผู้สูงอายุ

  • ค่าถ่ายเอกสาร จำนวน 200 ชุดๆ ละ 2 บาท เป็นเงิน 400 บาท

  • ค่าตอบแทนเก็บข้อมูลแบบสอบถาม จำนวน 200 ชุดๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4400.00

กิจกรรมที่ 6 ประชุมคณะทำงานชมรมผู้สูงอายุ สรุปผลการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานชมรมผู้สูงอายุ สรุปผลการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คนๆ 1 มื้อๆ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท

กำหนดการประชุม

เวลา 13.00 - 14.00 น.การประชุม ผลของการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ไปใช้ในชุมชน

เวลา 14.00 - 14.20 น.พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม

เวลา 14.20 - 15.30 น.การประชุม การเรียนรู้กิจกรรมที่ได้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

สามารถนำไปใช้ในการวางแผนการดำเนินงาน โดยนำผลของรูปแบบมาใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุได้ตรงกับความต้องการของผู้สูงอายุในพื้นที่


>