กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดาโต๊ะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารเช้าอิ่มนี้เพื่อน้องวัยใส โรงเรียนบ้านเปียะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดาโต๊ะ

โรงเรียนบ้านเปียะ

โรงเรียนบ้านเปียะ ตำบลดาโต๊ะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็ก 6-14 ปี ที่มีภาวะอ้วน

 

0.77

อาหารเช้า "เป็นมื้ออาหารที่สำคัญที่สุดของเด็กวัยกำลังเจริญเติบโต เด็กๆควรได้รับประทานอาหารมื้อเช้า เพราะมีส่วนช่วยให้มีการพัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญา ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายทำงานได้ดีขึ้น มีพละกำลังในการทำกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาสมอง พร้อมที่จะเรียนรู้อย่างมีสมาธิและความจำ หากนักเรียนไม่ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน หรือไม่เพียงพอ จะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายกับระบบภูมิคุ้มกัน อาจจะทำให้ป่วยง่าย และส่งผลในเรื่องสติปัญญาจะทำให้เรียนหนังสือไม่รู้เรื่องและจำอะไรได้ไม่ค่อยดี แต่นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้าซึ่งมีหลายสาเหตุ เช่นผู้ปกครองไม่มีเวลาเตรียมอาหารมื้อเช้าเพราะต้องรีบไปทำงานซึ่งที่ทำงานอยู่ไกลบ้าน นักเรียนอาศัยกับผู้ปกครองที่เป็น ปู่ ย่า ตา ยาย ซึ่งเป็นผู้มีอายุ ผู้ปกครองมีฐานะยากจน ไม่มีรายได้ หรือรายได้ไม่เพียงพอ ส่งผลให้เด็กไม่มีกำลังใจ และท้อถอย ไม่อยากไปโรงเรียน

จากการสำรวจและสัมภาษณ์นักเรียนโรงเรียนบ้านเปียะ พบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่ต้องไปทำงานตั้งแต่เช้าและไม่มีเวลาจัดเตรียมอาหารมื้อเช้าให้กับลูก นักเรียนจะเลือกรับประทานอาหารมื้อเช้าที่เป็นขนมกรุบกรอบที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งไม่ถูกหลักโภชนาการที่ดีและไม่เหมาะสำหรับเด็กวัยกำลังเจริญเติบโต ทำให้นักเรียนส่วนหนึ่งของโรงเรียนบ้านเปียะมีปัญหาภาวะโภชนาการ น้ำหนัก-ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์

ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูลโดยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 2 จนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 199 คน พบว่า นักเรียนโรงเรียนบ้านเปียะมีภาวะทุพโภชนาการ 50 คน ของนักเรียนทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 25.13

จากปัญหาดังกล่าวทางโรงเรียนบ้านเปียะ จึงเห็นความสำคัญและต้องการพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพทั้งร่างกายและสมอง จึงได้จัดทำโครงการอาหารเช้าอิ่มนี้เพื่อน้องวัยใส ขึ้น เพราะการรับประทานอาหารมื้อเช้านั้นเป็นมื้อสำคัญในการพัฒนาสมองของนักเรียน ถ้านักเรียนต้องมาโรงเรียนพร้อมกับความหิวต้องทนหิวมารอรับประทานอาหารกลางวันที่โรงเรียน จะทำให้นักเรียนมีปัญหาภาวะโภชนาการที่มีน้ำหนัก-ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ เมื่อเด็กรู้สึกหิวสมองก็จะไม่มีสมาธิ คิดอะไรไม่ออก ไม่ตั้งใจเรียน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและประสิทธิภาพในการเรียน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานอาหารมื้อเช้าเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย

 

50.00 80.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีน้ำหนัก-ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน

นักเรียนมีน้ำหนัก - ส่วนสูงเพิ่มขึ้น

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 30 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 นำนักเรียนชั่ง นน และวัดส่วนสูง

ชื่อกิจกรรม
นำนักเรียนชั่ง นน และวัดส่วนสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

นำนักเรียนชั่ง น้ำหนัก และวัดส่วนสูง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 15 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมชี้แจงโครงการแก่นักเรียนและผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงโครงการแก่นักเรียนและผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงโครงการแก่นักเรียนและผู้ปกครองที่มีน้ำหนัก-ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตฐาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 28 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 จัดอาหารเช้าให้แก่นักเรียนที่มีปัญหา

ชื่อกิจกรรม
จัดอาหารเช้าให้แก่นักเรียนที่มีปัญหา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอาหารเช้าให้แก่นักเรียนที่มีปัญหาน้ำหนัก-ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานทุกวัน (ยกเว้นวันหยุดราชการ) - ค่าอาหารเช้า จำนวน50 คนๆละ 15 บาทจำนวน 50 วัน เป็นเงิน 37500

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37500.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตามและประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

นำนักเรียนกลุ่มที่มีปัญหา น้ำหนัก-ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตฐาน ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงหลังจัดโครงการ และนำมาเปรียบเทียบกับน้ำหนัก-ส่วนสูงก่อนเริ่มโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนได้รับประทานอาหารมื้อเช้าเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
2.นักเรียนมีน้ำหนัก - ส่วนสูง ตามเกณฑ์มาตรฐาน


>