กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเกษตรอินทรีย์ อาหารปลอดสารพิษ เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพ(โรงเรียนพิทักษ์ศาสน์วิทยามูลนิธิ)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง

โรงเรียนพิทักษ์ศาสน์วิทยามูลนิธิ

นายอัสมาน หะยีมะลี
นางสาวปาตีซู อาเยาะแซ
นางสาวนัรมีร์ ดอเส็น
นางสาวสารีปะห์ ดอนิ
นายยูลกิฟลี ดอเลาะ

โรงเรียนพิทักษ์ศาสน์วิทยามูลนิธิ 64 ม.4 ต.ยะรัง อ.ยะรัง จ.ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคตแต่ในปัจจุบันเด็กในวัยก่อนเรียนและในวัยเรียนอยู่ในภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพอย่างน่าเป็นห่วง ทั้งนี้เนื่องจากเด็กต้องบริโภคอาหาร พืช ผัก และผลไม้ที่ไม่ปลอดภัย ทำให้มีการสะสมสารพิษภายในร่างกายเป็นระยะเวลานานอาจก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและการเกิดโรคชนิดต่างๆได้ ปัญหาภาวะทุพโภชนาการและการเจ็บป่วยโดยไม่จำเป็นและปัญหาอื่นๆในบริบทของสังคมไทยที่ส่งผลกระทบต่อเด็กทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมซึ่งเป็นการบั่นทอนทรัพยากรมนุษย์ระยะยาว แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะความเสี่ยงด้านสุขภาพต้องให้กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย ที่กระตุ้นให้เด็กเยาวชน และประชาชนเห็นคุณค่าและความสำคัญของการดูแลรักษาสุขภาพสามารถปฎิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน นอกจากการสร้างมาตรการป้องกันและการบังคับใช้กฎหมาย การส่งเสริมกิจกรรมทางสุขภาพที่มีความหลากหลายวิธีควบคู่กันไปจะช่วยสร้างโอกาสให้สุขภาพเด็กไทยได้รับการคุ้มครองอย่างปลอดภัย โรงเรียนพิทักษ์ศาสน์วิทยามูลนิธิ เห็นความสำคัญของสุขภาพนักเรียน ได้จัดกระบวนการเรียนรู้ตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช2542และนโยบายของรัฐบาล โดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนส่งเสริมให้นักเรียนชั้นทำกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษภายในโรงเรียนเพื่อนำผลผลิตที่ได้มาประกอบอาหารกลางวัน ส่วนผลผลิตที่เหลือนำมาแจกจ่ายและขายให้กับผู้ปกครองในชุมชน ดังนั้นจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้รับความรู้และฝึกทักษะในการทำงานด้านอาชีพเบื้องต้นและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับชีวิตของตนเองและพัฒนาอาชีพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีปลูกพืชผักปลอดสารพิษและสามารถปฎิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน
นักเรียนร้อยละ 80 มีทัศนคติที่ดีขึ้นเกี่ยวกับการเลือกบริโภคอาหารปลอดสารพิษ
เพื่อให้นักเรียนรู้จักวิธีการประกอบการที่ปลอดภัยและไร้สารพิษ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ อาหารปลอดสารพิษ เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ อาหารปลอดสารพิษ เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าป้ายไวนิล 2*3 = 6 เมตร * 250= 1,500 บาท ค่าวิทยากร 1 คน เวลา 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม คนละ 50 บาท 150 คน เป็นเงิน 7,500 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม คนละ 25 บาท 2 มื้อ 150 คน เป็นเงิน 7500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนร้อยละ 80 มีทัศนคติที่ดีขึ้นเกี่ยวกับการเลือกบริโภคอาหารปลอดสารพิษ นักเรียนรู้จักวิธีการประกอบการที่ปลอดภัยและไร้สารพิษ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20100.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมลงพื้นที่ปลูกผักปลอดสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมลงพื้นที่ปลูกผักปลอดสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าสายยาง 100 เมตร เป็นเงิน 1000 บาท -ค่าเครื่องปั้มน้ำ 1 เครื่อง เป็นเงิน 1700 บาท -จอบ ด้ามละ 150 บาท 5 ด้าม เป็นเงิน 750 บาท -ช้อนปลูก ด้ามละ 60 บาท 10 ด้าม เป็นเงิน 600 บาท -บุ้งกี่ อันละ 60 บาท 5 อัน เป็นเงิน 300 บาท -คราด ด้ามละ 200 บาท 5 ด้าม เป็นเงิน 1000 บาท -บัวรดน้ำ ถังละ 150 บาท 5 ถัง เป็นเงิน 750 บาท -ถาดเพาะเมล็ด ถาดละ 25 บาท 5 ถาด เป็นเงิน 150 บาท -เมล็ดผักบุ้ง กิโลละ 150 บาท 2 กิโล เป็นเงิน 300 บาท -เมล็ดคะน้า ซองละ 15 บาท 10 ซอง เป็นเงิน 150 บาท -เมล็ดกวางตุ้ง ซองละ 15 บาท 10 ซอง เป็นเงิน 150 บาท -เมล็ดผักกาดขาว ซองละ 15 บาท 10 ซอง เป็นเงิน 150 บาท -เมล็ดถั่วฝักยาว ซองละ 15 บาท 10 ซอง เป็นเงิน 150 บาท -เมล็ดแตงกวา ซองละ 15 บาท 10 ซอง เป็นเงิน 150 บาท -เมล็ดพริก ซองละ 15 บาท 10 ซอง เป็นเงิน 150 บาท -เมล็ดมะละกอ ซองละ 30 บาท 3 ซอง เป็นเงิน 90 บาท -ปุ๋ยอินทรีย์ กระสอบละ 30 บาท 20 กระสอบ เป็นเงิน 600 บาท -ถังน้ำ 200 ลิตร ถังละ 500 บาท 2 ถัง เป็นเงิน 1000 บาท ตาข่าย 1 ม้วน เป็นเงิน 635 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีปลูกพืชผักปลอดสารพิษและสามารถปฎิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีปลูกพืชผักปลอดสารพิษและสามารถปฎิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน
นักเรียนร้อยละ 80 มีทัศนคติที่ดีขึ้นเกี่ยวกับการเลือกบริโภคอาหารปลอดสารพิษ
เพื่อให้นักเรียนรู้จักวิธีการประกอบการที่ปลอดภัยและไร้สารพิษ


>