กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

แปลงผักของหนู สู่เมนูผักเพื่อสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านจาเละ (เมืองโบราณยะรัง)

1. นางไซน่าแวหะยี
2. นางสาวปาตีมาวาตี ปาโห๊ะ
3. นายฟารฮาน สาและ
4. นายอุสมัน กุรุ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านจาเละ(เมืองโบราณยะรัง) หมู่ที่ 4 ต.ยะรัง อ.ยะรัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ทานผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม

 

10.00
2 ร้อยละของบริเวณพื้นที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ใช้ในการผลิตอาหารที่ปลอดภัย

 

10.00

เด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ควรจะได้รับการส่งเสริมด้านโภชนาการเพื่อเด็กปฐมวัยได้รับประทานอาหารที่มีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอเหมาะสมกับวัย ซึ่งจะทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ สติปัญญาดี อาหารกลางวันจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่นักเรียนจะต้องได้รับประทานทุกคน และได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบทั้ง ๕ หมู่ เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้เติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มาพัฒนาประเทศชาติ ต่อไป
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านจาเละจึงได้ดำเนินโครงการ แปลงผักของหนู สู่เมนูผักเพื่อสุขภาพ ซึ่งได้เชิญผู้ปกครองเด็กปฐมวัยเข้าร่วมโครงการ เพื่อปลูกฝังให้ผู้ปกครองและเด็กปฐมวัยได้น้อมนำปรัชญาทางของเศรษฐกิจพอเพียงมาดำรงใช้ในชีวิตประจำวัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มร้อยละของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ทานผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม

ร้อยละของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ทานผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม

10.00 50.00
2 เพื่อเพิ่มบริเวณพื้นที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ใช้ในการผลิตอาหารที่ปลอดภัย

ร้อยละของพื้นที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ใช้ในการผลิตอาหารที่ปลอดภัย

10.00 20.00

1. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความปลอดภัยด้านการรับประทานอาหาร
2. เพื่อเสริมสร้างสุขนิสัยที่ดีให้เด็กในการเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์
3. เพื่อปลูกฝังให้เด็กรู้จักการเพาะปลูกผักที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
4. เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของครอบครัว ผู้ปกครอง ชุมชน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองนักเรียน 14

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมโภชนาการเด็กแก่ผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมโภชนาการเด็กแก่ผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมโภชนาการเด็กแก่ผู้ปกครอง โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 14 คน รายละเอียด ดังนี้ 1. ค่าวิทยากร 1 คน ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 2 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,200 บาท 2. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1X3 ม. เป็นเงิน 750 บาท 3. ค่าอาหารว่าง 14 คนๆละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 980 บาท 4. ค่าอาหารกลางวันผู้ปกครอง 14 คนๆละ 80 บาท เป็นเงิน 1,120 บาท 5. วัสดุอุปกรณ์ รวมเป็นเงิน 990 บาท รายละเอียดดังนี้ - ปากกา จำนวน 1 กล่อง เป็นเงิน 200 บาท - สมุด จำนวน 2 โหลๆละ 80 บาท เป็นเงิน 160 บาท - กระเป๋าผ้า จำนวน 14 ใบๆละ 45 บาท เป็นเงิน 630 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมโภชนาการเด็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5040.00

กิจกรรมที่ 2 ปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
ปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษในบริเวณศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีรายละเอียด ดังนี้ 1. ค่าเมล็ดพันธ์พืช 200 บาท 2. ค่าปุ๋ยชีวภาพ 200 บาท 3. ค่าดินปลูก 10 กระสอบๆละ 25 เป็นเงิน 250 บาท 4. บัวรดน้ำ 4 อันละ 25 บาท เป็นเงิน 100 บาท 5. ช้อนปลูก จำนวน 4 อันๆละ 25 บาท เป็นเงิน 125 บาท 6. ช้อนพรวนดิน จำนวน 5 อันๆละ 25 บาท เป็นเงิน 125 บาท 7. สีทาล้อยาง 5 กระป๋องๆละ 300 บาท เป็นเงิน 1500 บาท 8. แปรงทาสี จำนวน 4 อันๆละ 35 บาท เป็นเงิน 140 บาท 9. หน้าดิน 1 คันรถกระบะ ราคา 700 บาท 10. ล้อยาง จำนวน 6 เส้น

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดแปรงผักปลอดสารพิษที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3340.00

กิจกรรมที่ 3 ผู้ปกครองเรียนรู้เมนูสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ผู้ปกครองเรียนรู้เมนูสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สาธิตการทำเมนูผักเพื่อสุขภาพแก่ผู้ปกครอง โดยนำผลผลิตจากแปรงผักปลอดสารพิษมาเป็นวัตถุดิบหลัก 1. ค่าวิทยากร 1 คน ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 2 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,200 บาท 2. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1X3 ม. เป็นเงิน 750 บาท 3. ค่าอาหารว่าง 14 คนๆละ 35 บาท เป็นเงิน 490 บาท 4. ค่าวัสดุและเครื่องปรุง เป็นเงิน 350บาทรายละเอียดดังนี้ - น้ำมันพืช 1 ขวด ราคา 50 บาท - แป้งทอดกรอบ 2 ถุง 50 บาท - หน้าอกไก่ 1 กก ราคา 120 บาท - กระเทียม 1 ขีด ราคา 20 บาท - ซอสปรุงรส 1 ขวด 25 บาท - ซอสมะเขือเทศ 1 ขวด 25 บาท - น้ำตาลทราย 1 กก. ราคา 30 บาท - วุ้นเส้น 1 ถุง ราคา 30 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองมีทักษะในการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2790.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,170.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กปฐมวัยได้รับได้รับการส่งเสริมด้านโภชนาการ
2. เกิดแปรงผักปลอดสารพิษที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้
3. ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมโภชนาการของเด็ก และมีทักษะในการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพผู้ปกครอง


>