กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสตรีร่วมใจต้านภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก หมู่ที่ 3,5,6 และ 7 ตำบลช้างเผือก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ช้างเผือก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสตรีร่วมใจต้านภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก หมู่ที่ 3,5,6 และ 7 ตำบลช้างเผือก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ช้างเผือก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์ซือเร๊ะ

หมู่ที่ 3,5,6 และ 7 ตำบลช้างเผือก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก

 

5.00
2 ร้อยละของสตรีอายุ 30 - 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

 

4.00

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายด้วยโรคมะเร็งของสตรีในประเทศไทย ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยเฉพาะโรคมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่ง โรคมะเร็งปากมดลูกพบเป็นอันดับสองของมะเร็งในสตรี จะพบมากในกลุ่มอายุประมาณ 30- 50 ปี ซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจ Pap Smear ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก จะง่าย สะดวก และราคาถูก แต่ยังพบว่าสตรีจำนวนมากไม่เห็นความสำคัญ มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการตรวจ Pap Smear ส่วนโรคมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติในระยะเริ่มต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นและสำคัญที่ต้องทำการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น องค์การอนามัยโลกได้ประมาณอัตราการเพิ่มขึ้นของโรคมะเร็งในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้าจะเพิ่มเป็น 2 เท่าของปัจจุบัน รายงานสถิติสาธารณสุขของศูนย์ข้อมูลข่าวสารสาธารณสุขอัตราตายด้วยมะเร็งทุกชนิดสูงขึ้นตลอดโดยเฉพาะมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่เป็นอันดับ 1 และมะเร็งปากมดลูกเป็นอันดับ 2 ในผู้หญิง ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เพราะทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรบุคคลและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกต้องมีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรกและในระยะก่อนเป็นมะเร็งซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลามและจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลกได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำpap smearในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ30 – 60 ปี ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 – 60 ปี ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์ซือเร๊ะ มีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 661 ราย ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในปี 2566 จำนวน 25 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.78 ไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดตามแผนยุทธศาสตร์จังหวัดนราธิวาส สำหรับในปีงบประมาณ 2567 ต้องคัดกรองกลุ่มเป้าหมายเพิ่มให้ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดตามแผนยุทธศาสตร์จังหวัดนราธิวาส ร้อยละ 20 ยังมีกลุ่มที่ยังไม่เข้ารับการตรวจ Pap Smear ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่ยากต่อการติดตาม และเข้ารับบริการเนื่องจากผู้รับบริการยังขาดความรู้ ความเข้าใจเรื่องมะเร็งปากมดลูก ยังมีทัศนคติที่ไม่ดีเกี่ยวกับการตรวจด้วย pap smear และการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองในกลุ่มอายุ 30–70 ปี จำนวน 846 ราย ได้รับการคัดกรองจำนวน 773ราย คิดเป็นร้อยละ 91.37 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังและคัดกรองมะเร็งเต้านมทุกๆ ปี โดยการให้ อสม.ติดตามอย่างต่อเนื่อง ต้องให้ความรู้แก่ อสม. และผู้รับบริการเนื่องจากยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคมะเร็งเต้านม ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์ซือเร๊ะ จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี 2567 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแบบยั่งยืนต่อไป
จังหวัดนราธิวาสจะต้องได้รับตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 20 เพื่อให้ประชาชนมีความตระหนักในการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจะต้องมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและได้รับการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้มาคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์ซือเร๊ะ จึงได้บูรณการร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือก จัดทำโครงการสตรีร่วมใจต้านภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ในตำบลช้างเผือก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ให้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมายในตำบลช้างเผือกขึ้น เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว อันจะช่วยทำให้พบผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกได้ตั้งแต่ระยะแรกได้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งได้อีกทางหนึ่ง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก

ร้อยละของประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกลดลง

5.00 135.00
2 เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

สตรีอายุ 35  ปีขึ้นไป ทุกคนได้รับการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

4.00 680.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 816
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 11/03/2024

กำหนดเสร็จ 26/04/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมให้แก่แกนนำอสม., แกนนำสตรีและกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมให้แก่แกนนำอสม., แกนนำสตรีและกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมให้แก่แกนนำอสม., แกนนำสตรีและกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ จำนวน .......... 15,675....................... บาทรายละเอียด ดังนี้

- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อๆละ 20 บาท x 135 คน เป็นเงิน....... 5,400.............บาท - ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 45 บาท x 135 คน เป็นเงิน........6,075.............บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ600บาท x 6 ชั่วโมง เป็นเงิน........3,600.............บาท - ค่าไวนิล ขนาด 1x2 เมตร x 300 บาท เป็นเงิน............600............บาท ระยะเวลาดำเนินงานวันที่ 11มีนาคม 2567

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 มีนาคม 2567 ถึง 11 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สตรีกลุ่มอายุ30–60 ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap Smear

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15675.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมออกตรวจมะเร็งปากมดลูกเชิงรุกในแต่ละหมู่บ้าน ตามตารางการปฏิบัติงาน และลง Program Pap Registry

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมออกตรวจมะเร็งปากมดลูกเชิงรุกในแต่ละหมู่บ้าน ตามตารางการปฏิบัติงาน และลง Program Pap Registry
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมออกตรวจมะเร็งปากมดลูกเชิงรุกในแต่ละหมู่บ้าน ตามตารางการปฏิบัติงาน และลง Program  Pap Registry     จำนวน ...........2,880..................... บาท  รายละเอียด ดังนี้         - ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับ อสม.ในการดำเนินการติดตามกลุ่มเป้าหมายในการติดตามในพื้นทีตามโครงการฯ  60 บาท x 48 คน    เป็นเงิน  .......2,880.............บาท         ระยะเวลาดำเนินงาน  วันที่  14  มีนาคม  2567  ถึง วันที่ 26  เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินงาน
26 เมษายน 2567 ถึง 26 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สตรีกลุ่มอายุ 35  ปีขึ้นไป  ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2880.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,555.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>