กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ร่มไทร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการขยะ ส่งเสริมการคัดแยกที่ต้นทาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ร่มไทร

สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลร่มไทร

ตำบลร่มไทร อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันปัญหาเรื่องขยะมูลฝอย นับว่าเป็นปัญหาสำคัญ ทั้งในระดับประเทศและระดับชุมชน สาเหตุเนื่องจากประชากรในประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้น บ้านเรือนมีจำนวนเพิ่มขึ้น ร้านค้า
สถานประกอบการอื่น ๆ มีจำนวนมากขึ้น และสิ่งที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ ขยะมูลฝอยย่อมมีมากขึ้นไปด้วย จนกลายเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพาหะนำโรคต่าง ๆ
ชุมชนจัดเป็นแหล่งสำคัญที่ผลิตขยะของเสียสู่สิ่งแวดล้อม แม้ว่าขยะจากชุมชน หรืออาคารบ้านเรือน จะไม่ใช่ของเสียที่เป็นอันตรายเมื่อเปรียบเทียบกับของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือการเกษตร แต่ปัจจุบันปริมาณของขยะที่มีจำนวนมาก ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
ตำบลร่มไทร อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส กำลังประสบปัญหาในเรื่องการจัดการขยะ เนื่องจากมีปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากร อีกทั้งไม่มีสถานที่กำจัดขยะที่ถูกหลัก ทำให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์พาหะนำโรค และเกิดมลพิษจากการเผาขยะ องค์การบริหารส่วนตำบลร่มไทรไม่มีรถจัดเก็บขยะ ไม่มีคัดแยกขยะในครัวเรือน และมีบางส่วนที่ทิ้งลงแหล่งน้ำ ส่งผลให้เกิดปัญหาขยะตกค้าง ส่งกลิ่นเหม็น และทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งแนวทางในการแก้ไขปัญหาขยะที่มีประสิทธิภาพ ต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชน โดยการลดอัตรา
การเกิดขยะ คัดแยกขยะ ณ แหล่งกำเนิด (Waste Reduction and Separation) ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการจัดการขยะ เนื่องจากใช้ต้นทุนน้อย และมีประสิทธิภาพสูง กรมควบคุมมลพิษ ได้สรุปแนวทางในการลดปริมาณขยะ คือ หลักการ 3Rs (Reduce Reuse and Recycle) “ใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่”
เพื่อลดปริมาณขยะในครัวเรือน
องค์การบริหารส่วนตำบลร่มไทร ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาขยะในพื้นที่ และส่งเสริมในเรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทางมาอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดโครงการบริหารจัดการขยะ ส่งเสริมการคัดแยกขยะ
ที่ต้นทาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการคัดแยกขยะในครัวเรือน ลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น ลดโรคติดต่อที่เกิดจากขยะมูลฝอย รวมทั้งเพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีให้เกิดขึ้นในตำบลร่มไทร

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการคัดแยกขยะในครัวเรือน ลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น

ร้อยละ 80 ของครัวเรือนหมู่ 5 มีการคัดแยกขยะในครัวเรือน

0.00 0.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถจัดการขยะในครัวเรือนได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะตามหลัก 3RS เพิ่มขึ้น

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 19/08/2024

กำหนดเสร็จ 23/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การเตรียมความพร้อม

ชื่อกิจกรรม
การเตรียมความพร้อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1) กิจกรรมประชุมคณะทำงานฯ เพื่อวางแผนการดำเนินงาน
2) จัดตารางเวลา กำหนดการดำเนินงานโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 สิงหาคม 2567 ถึง 19 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แผนการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 การดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
การดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1) กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ประชาชน เรื่องการคัดแยกขยะ 4 ประเภท ตามหลัก 3Rs การจัดการขยะอันตรายในชุมชน และเรื่องการจัดการขยะอินทรีย์จากครัวเรือนโดยใช้ถังขยะเปียกลดโลกร้อน และการทำน้ำหมักชีวภาพ งบประมาณ ได้แก่

  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 100 x 300 ซม. ป้ายละ 750 บาท x 1 ผืน = 750 บาท

  • ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท x 6 ชั่วโมง= 3,600 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 100 คน x 2 มื้อ = 5,000 บาท

  • ค่าอาหาร 60 บาท x 100 คน x 1 มื้อ = 6,000 บาท

  • แผ่นพับให้ความรู้ แผ่นละ 15 บาท x 100 แผ่น = 1,500 บาท

  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ได้แก่ ปากกา ด้ามละ 10 บาท x 100 ด้าม = 1,000 บาท กระเป๋าผ้า ใบละ 50 บาท x 100 ใบ = 5,000 บาท ถัง 30 ลิตร ใบละ 145 บาท x 1 ใบ = 145 บาท น้ำหมัก EM 1 ลิตร = 150 บาท กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม = 50 บาท

2) กิจกรรมธนาคารขยะตำบลร่มไทร (ให้ความรู้และประชาสัมพันธ์การรับสมัครสมาชิกธนาคารขยะ) - แผ่นพับประชาสัมพันธ์ แผ่นละ 15 บาท x 300 แผ่น = 4,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 สิงหาคม 2567 ถึง 21 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27695.00

กิจกรรมที่ 3 3. ลงพื้นที่ติดตามการคัดแยกขยะในครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
3. ลงพื้นที่ติดตามการคัดแยกขยะในครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 สิงหาคม 2567 ถึง 22 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 สิงหาคม 2567 ถึง 23 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผลการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,695.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ชุมชนสามารถจัดการกับปัญหาขยะที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้

2. ประชาชนมีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดี และปราศจากโรคภัย

3. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะตามหลัก 3RS และสามารถคัดแยกขยะได้อย่างถูกวิธี


>