กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

รพ.สต.บ้านต้นไทร

รพ.สต.บ้านต้นไทร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน (สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสุกร สารกันราหรือกรดซาลิซิลิค สารฟอกขาว สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน หรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ และยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช)

ตัวอย่างอาหารที่ตรวจสารปนเปื้อนจำนวน 9 ชนิด
ตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 1 ชนิด

11.11

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน

ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน (สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสุกร สารกันราหรือกรดซาลิซิลิค สารฟอกขาว สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน หรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ และยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช) ลดลง

11.11 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ร้านจำหน่ายอาหารสดแปรรูป ในพื้นที่ม.2,4,5,7,8,9,11 6

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การตรวจสารปนเปื้อนในอาหารจากร้านจำหน่ายอาหารสด

ชื่อกิจกรรม
การตรวจสารปนเปื้อนในอาหารจากร้านจำหน่ายอาหารสด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เก็บตัวอย่างอาหารสดจากร้านจำหน่ายอาหารสดในชุมชนทั้ง 7 หมู่บ้าน มีจำนวนร้านทั้งหมด 6 ร้าน โดยให้อสม.เก็บตัวอย่างอาหารสดมา ร้านละอย่างน้อย 2 ตัวอย่าง แล้วนำมาตรวจที่ รพ.สต.บ้านต้นไทร โดยเจ้าหน้าที่ หรืออสม.วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน เป็นผู้ตรวจ เพื่อตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหาร 6 ชนิด รายละเอียด ดังนี้
ครั้งที่ 1 วันที่ 1 มี.ค.67 ตรวจสารปนเปื้อนชนิดยาฆ่าแมลงในอาหาร เช่น ผัก ผลไม้ โดยมีค่าชุดตรวจ พร้อมอุปกรณ์ จำนวน 20 ชุด ราคาชุดละ 95 บาท เป็นเงิน 1,900 บาท
ครั้งที่ 2 วันที่ 15 มี.ค.67 ตรวจสารปนเปื้อนชนิดสารฟอร์มาลินในอาหาร เช่น น้ำแช่ปลา น้ำแช่กุ้ง น้ำแช่หมึก โดยมีค่าชุดตรวจ จำนวน 30 ชุด ราคาชุดละ 41.67 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท
ครั้งที่ 3 วันที่ 1 เม.ย 67 ตรวจสารปนเปื้อนชนิดสารบอแรกซ์ในอาหาร เช่น ลูกชิ้นใส้กรอก ไก่ยอ หมูบด เนื้อวัว โดยมีค่าชุดตรวจ จำนวน 50 ชุด ราคาชุดละ 4 บาท เป็นเงิน 200 บาท
ครั้งที่ 4 วันที่ 17 เม.ย 67 ตรวจสารปนเปื้อนชนิดสารกันราในอาหาร เช่น แหนม หมูยอ ผัก ผลไม้ ของดอง โดยมีค่าชุดตรวจ จำนวน 50 ชุด ราคาชุดละ 5 บาท เป็นเงิน 250 บาท
ครั้งที่ 5 วันที่ 1 พ.ค 67 ตรวจสารปนเปื้อนชนิดสารฟอกขาวในอาหาร เช่น ถั่วงอก ขิงซอย ยอดมะพร้าว กระท้อน หน่อไม้ดอง โดยมีค่าชุดตรวจ จำนวน 100 ชุด ราคาชุดละ 2.4 บาท เป็นเงิน 240 บาท
ครั้งที่ 6 วันที่ 15 พ.ค. 67 ตรวจสารโพลาร์ ในน้ำมันทอดซ้ำ โดยมีค่าชุดตรวจ จำนวน 25 ชุด ราคาชุดละ 46.40 บาท เป็นเงิน 1,160 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อาหารสด ได้รับการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร 6 ชนิด สุ่มตรวจอย่างน้อยร้านละ 1 ตัวอย่าง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 5,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนในชุมชนได้รับการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและอันตรายต่อสุขภาพ


>