กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังเด็กภาวะทุพโภชนาการในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์ซือเร๊ะ หมู่ที่ 3,5,6 และหมู่ที่ 7 ตำบลช้างเผือก ประจำปีงบประมาณ 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ช้างเผือก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังเด็กภาวะทุพโภชนาการในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์ซือเร๊ะ หมู่ที่ 3,5,6 และหมู่ที่ 7 ตำบลช้างเผือก ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ช้างเผือก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์ซือเร๊ะ

หมู่ที่ 3,5,6 และหมู่ที่ 7 ตำบลช้างเผือก ประจำปีงบประมาณ 2567

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 0 - 5 ปี มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

 

4.00

ทุพโภชนาการ หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารผิดเบี่ยงเบนไปจากปกติ อาจเกิดจากได้รับสารอาหาร น้อยกว่าปกติ หรือเหตุทุติยภูมิ คือ เหตุเนื่องจากความบกพร่อง ต่างจากการกิน การย่อย การดูดซึม ในระยะ 2-3 ปี แรก ของชีวิตจะมีผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและการเรียน ภายหลังเนื่องจากเป็นระยะที่มีการเจริญเติบโตของสมองสูงสุด ซึ่งระยะเวลาที่วิกฤติต่อพัฒนาการทางร่างกายของวัยเด็กมากที่สุดนั้น ตรงกับช่วง 3 เดือนหลังการตั้งครรภ์จนถึงอายุ 18-24 เดือน หลังคลอดเป็นระยะที่มีการสร้างปลอกหุ้มเส้นประสาทของระบบประสาท และมีการแบ่งตัวของเซลล์ประสาทมากที่สุดเมื่ออายุ 3 ปี มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตถึงร้อยละ 80 สำหรับผลกระทบทางร่างกายภายนอกที่มองเห็นได้ คือ เด็กจะมีรูปร่างเตี้ย เล็ก ซูบผอม ผิวหนังเหี่ยวย่นเนื่องจากขาดไขมันชั้นผิวหนังนอกจากนี้อวัยวะภายในต่างๆ ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน
จากการประเมินผลการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน (0-72 เดือน) ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์ซือเร๊ะประจำปีงบประมาณ 2566พบว่าเด็กก่อนวัยเรียน มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 15.56 มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดไม่เกินร้อยละ 7 ซึ่งเด็กในวัยดังกล่าวกำลังมีการเจริญเติบโตของสมอง สารอาหารโปรตีนมีความสำคัญต่อการพัฒนาด้านสมอง หากไม่ได้รับการแก้ไขปัญหา จะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสติปัญญาของเด็ก ซึ่งจะเป็นกำลังของประเทศชาติในอนาคต สาเหตุของปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดความรู้ด้านโภชนาการศึกษาของผู้ปกครอง เป็นผลให้เด็ก 0-72 เดือน ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนและมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ในการดำเนินการที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ได้มีการติดตามเยี่ยมผู้ปกครอง แต่การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง

จากสภาพปัญหาดังกล่าว จึงได้บูรณาการร่วมกันจัดทำโครงการเฝ้าระวังเด็กภาวะทุพโภชนาการในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์ซือเร๊ะ ปี 2567 ขึ้น เพื่อพัฒนางานโภชนาการ การติดตามและแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการเด็กอายุ 0 – 72 เดือน ในชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็ก 0-5 ปีได้รับการประเมินภาวะโภชนาการ

ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี มีความรู้และตระหนักในการให้ความสำคัญกับภาวะโภชนาการเด็ก IQ และ EQ ตามวัย

3.00 63.00
2 เพื่อส่งเสริมเด็กที่มีภาวะโภชนาการเตี้ย, ค่อนข้างเตี้ย ได้รับการส่งเสริมโภชนาการ

มีเครือข่ายการดำเนินงานด้านโภชนาการของเด็กในชุมชนภายได้การดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน

3.00 63.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 20
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 43
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 14/03/2024

กำหนดเสร็จ 19/03/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมประชุมชี้แจงแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขในการดำเนินงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมประชุมชี้แจงแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขในการดำเนินงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 กิจกรรมประชุมชี้แจงแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขในการดำเนินงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ จำนวน .......... 2,760....................... บาทรายละเอียด ดังนี้ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อๆละ 20 บาท x 48 คน เป็นเงิน....... 960.............บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ600บาท x 3 ชั่วโมง เป็นเงิน......1,800............บาท ระยะเวลาดำเนินงานวันที่14มีนาคม2567

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 มีนาคม 2567 ถึง 14 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็ก 0-5 ปีได้รับการประเมินภาวะโภชนาการและมีภาวะโภชนาการที่ดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2760.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก 0 - 72 เดือน (ภาวะทุพโภชนาการ)และสาธิตอาหาร

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก 0 - 72 เดือน (ภาวะทุพโภชนาการ)และสาธิตอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก 0 - 72 เดือน (ภาวะทุพโภชนาการ)และสาธิตอาหาร จำนวน ...........8,355..................... บาทรายละเอียด ดังนี้ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อๆละ 20 บาท x 63 คน เป็นเงิน......2,520............บาท - ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 45 บาท x 63 คน เป็นเงิน......2,835............บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ600บาท x 4 ชั่วโมง เป็นเงิน......2,400............บาท - ค่าไวนิล ขนาด 1 x 2 เมตร เป็นเงิน.........600............บาท ระยะเวลาดำเนินงานวันที่18มีนาคม2567

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 มีนาคม 2567 ถึง 18 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กอายุ 0 - 5 ปี มีพัฒนาสมวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8355.00

กิจกรรมที่ 3 3. กิจกรรมจ่ายอาหารเสริมแก่เด็กภาวะทุพโภชนาการ (นม,ไข่และยาเสริมวิตามิน)

ชื่อกิจกรรม
3. กิจกรรมจ่ายอาหารเสริมแก่เด็กภาวะทุพโภชนาการ (นม,ไข่และยาเสริมวิตามิน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3 กิจกรรมจ่ายอาหารเสริมแก่เด็กภาวะทุพโภชนาการ (นม,ไข่และยาเสริมวิตามิน) จำนวน ...........14,016..................... บาทรายละเอียด ดังนี้ - วัสดุเครื่องบริโภค(นมกล่อง) จำนวน 768 กล่องๆละ 12 บาทเป็นเงิน 9,216บาท - วัสดุเครื่องบริโภค(ไข่ไก่) จำนวน 960 ฟองๆละ 5บาทเป็นเงิน 4,800บาท ระยะเวลาดำเนินงานวันที่19มีนาคม2567

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 มีนาคม 2567 ถึง 19 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กอายุ 0 - 5 ปี ได้รับโภชาการที่ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14016.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,131.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เด็กอายุ 0-72 เดือน มีโภชนาการและมีน้ำหนักต่ออายุตามเกณฑ์ที่กำหนด พร้อมทั้งมีพัฒนาการที่ดีขึ้นหลังจากดำเนินการโครงการนี้เสร็จเรียบร้อยแล้วส่งผลให้เด็กอายุ 0-72 เดือน มีโภชนาการและมีน้ำหนักต่ออายุตามเกณฑ์ที่กำหนด และได้มีสูตรอาหารในการรับประทานอาหารแต่ละมือของผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ


>