กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางด้วน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมการคัดแยกขยะและการธนาคารขยะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางด้วน

สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลบางด้วน

ผู้ปกครองเด็กเล็กทุกศูนย์ฯในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลบางด้วน ครูและนักเรียนทุกโรงเรียนในเขตตำบลบางด้วนจำนวน 300 คน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลบางด้วน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสำาคัญที่อยูคู่กับสังคมไทยมายาวนาน และมีแนวโน้มทวีความรุนแรง เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอยทุกปี ตามอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภคของประชาชน แต่ปริมาณขยะมูลฝอยที่ได้รับการจัดการอยางถูกต้องเพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำ องคการบริหารส่วนตำบลบางด้วนกำลังประสบปัญหาในด้านการบริหารจัดการขยะเชนเดียวกันไม่ว่าจะเป็นปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นตามจำนวนประชากร ปัญหาการทิ้งขยะไม่เป็นที่ไม่เป็นเวลา และปัญหาขยะตกค้างต่าง ๆ ดังนั้น แนวทางแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในระยะยาวจะต้องสนับสนุนและขยายผลให้ประชาชนลดปริมาณการเกิดขยะมูลฝอยจากครัวเรือน โดยหลักการ 3Rs Rs ได้แก่ 1) Reduce 2) Reuse 3) Recycle รวมทั้งสร้างแรงจูงใจด้านการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในการร่วมกันคัดแยกขยะมูลฝอยอีกด้วย
ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองคการบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552 องคการบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองคการบริหารส่วนตำบล ตามมาตรา 67 ข้อ 2 รักษาความสะอาด ถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งการจัดการมูลฝอยและสิงปฏิกูล และข้อ 7 คุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสงแวดล้อม และพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบานเมือง พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 34/1 กำหนดให้การเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ในเขตพื้นที่ของราชการสวนท้องถิ่นใด ให้เป็นหน้าที่และอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นนั้น ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลบางด้วนจึงได้จัดทำโครงการอบรมการคัดแยกขยะและการธนาคารขยะ ขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักและการมีสวนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะในครัวเรือน อันจะช่วยลดปริมาณขยะในครัวเรือนและช่วยลดการเกิดโรคจากขยะมูลฝอยที่กระทบกับปัญหาสุขภาพ เช่น โรคไข้เลือดออกจากการที่มีน้ำขัง โรคที่มากับฉี่หนู เป็นต้น นอกจากจะทำให้ลดปริมาณขยะและยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการอบรมการคัดแยกขยะและการธนาคารขยะ

ชื่อกิจกรรม
โครงการอบรมการคัดแยกขยะและการธนาคารขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1) ขั้นเตรียมการ
1. เสนอโครงการฯ และขออนุมัติโครงการฯ
2. ประชาสัมพันธ์โครงการฯ และแต่งตั้งคณะทำงาน 3. ประชุมชี้แจงและเตรียมความพร้อมของคณะทำงาน
4. ประสานกลุมเป้าหมายเพื่อเข้าร่วมโครงการฯ
2) ขั้นจัดกิจกรรม
1. อบรมให้ความรู้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ
2. ทดสอบความรู้เรื่องการคัดแยกขยะต้นทางและการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี หลังการอบรม 3. ประชาสัมพันธ์รับสมัครนักเรียนที่สมัครใจเข้าร่วมการจัดตั้งธนาคารขยะในโรงเรียน 3) ขั้นติดตามและประเมินผล
1. รับสมัครนักเรียนที่่สมัครใจเข้าร่วมการจัดตั้งธนาคารขยะในโรงเรียน 2. ติดตามการคัดแยกขยะและการกำจัดขยะในโรงเรียน 3. ติดตามการแต่งตั้งคณะกรรมการธนาคารขยะแต่ละโรงเรียน 4. ติดตามการประชาสัมพันธ์และการรับสมัครสมาชิกของธนาคารขยะในโรงเรียน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ปกครองและเด็กนักเรียนทุกคนในเขตตำบลบางด้วนมีจิตสำนึกในการคัดแยกขยะมูลฝอย
  2. ผู้ปกครองและเด็กนักเรียนในเขตตำบลบางด้วนตระหนักถึงความสำคัญในการลดปริมาณและคัดแยกขยะ และมีความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน
  3. เด็กนักเรียนในเขตตำบลบางด้วนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย
  4. มีธนาคารขยะรับซื้อขยะจากเด็กนักเรียนในเขตตำบลบางด้วน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>