กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์สู่เด็กปฐมวัยคุณภาพ ตำบลกำแพง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

ศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพง

ผู้ประสานงานคนที่ 1 นางโสภิตา สนูบุตร โทร.092-3624451
ผู้ประสานงานคนที่ 2 นางจุรีพร มานะกล้า โทร. 089-9748781
ผู้ประสานงานคนที่ 3 นางสาวฮานีซ๊ะ สอละซอ โทร. 084-7505056
ผู้ประสานงานคนที่ 4 นางรสนา หนูวงศ์ โทร. 083-6596940
ผู้ประสานงานคนที่ 5 นางมีนา อุศมา โทร. 086-9662242

ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์หลัง 12 สัปดาห์

 

11.88
2 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์ไม่ครบ 5 ครั้ง

 

26.09
3 ร้อยละของเด็ก 0-6 เดือนที่กินนมแม่อย่างเดียวไม่ถึง 6 เดือน

 

63.11
4 ร้อยละของเด็ก 0-5 ปี ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์

 

5.00
5 ร้อยละของเด็ก 0-5 ปี ที่ไม่มีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน

 

38.19
6 ร้อยละของเด็ก 0-5 ปี ทีไม่มีพัฒนาการตามวัย

 

2.00

หลักการและเหตุผล
การส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์และเด็กปฐมวัย 0-5 ปี เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากรที่สามารถเริ่มต้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ซึ่งหญิงตั้งครรภ์ควรมารับบริการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจครรภ์และเริ่มต้นดูแลทารกในครรภ์ได้ตั้งแต่ไตรมาสแรก ทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดแก่ทารกในครรภ์ ทำให้ทารกมีความสมบูรณ์แข็งแรง หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับโฟเลตตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ 3 เดือน หรือทันทีที่ทราบว่าตั้งครรภ์ เพื่อลดปัญหาเรื่องซีดในขณะตั้งครรภ์ ลดความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติของสมองและไขสันหลังและลดการตกเลือดหลังคลอดได้ หญิงตั้งครรภ์ต้องได้รับการฝากครรภ์คุณภาพอย่างน้อย 5 ครั้งตามเกณฑ์จากบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งมารดาและทารกในครรภ์ ในระยะหลังคลอดมารดาควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน เพราะนมแม่มีสารอาหารครบถ้วนทั้งโปรตีน ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้ทารกได้อย่างดีช่วยพัฒนาระดับสติปัญญาควบคู่ไปกับการช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามช่วงวัยและการได้รับวัคซีนตามช่วงอายุทั้งหมด
สอดคล้องกับนโยบายของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ที่ได้ขับเคลื่อนงานตำบลมหัศจรรย์ 1,000วัน Plus สู่ 2,500วัน ที่ให้การดูแลส่งเสริมสุขภาพสตรีและเด็กปฐมวัย ตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา จนถึงเด็กอายุ 5 ปี รวมถึงส่งเสริมให้หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความพร้อมตั้งแต่ระยะก่อนตั้งครรภ์ ที่เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการส่งเสริมให้การตั้งครรภ์มีคุณภาพ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัยและเด็กปฐมวัยเติบโตเต็มศักยภาพ
จากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของศูนย์สุขภาพตำบลกำแพง ในปีงบประมาณ 2566 (ข้อมูลจากคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center : HDC กระทรวงสาธารณสุข) พบว่า อัตราการมาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ จำนวน 89 ราย จากทั้งหมด 101 ราย คิดเป็นร้อยละ 88.12 (เป้าหมายร้อยละ75) อัตราการของเด็ก 0-5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ แบ่งตามช่วงอายุดังนี้ ช่วงอายุ 1 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์จำนวน 127 ราย จากทั้งหมด 127 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 (เป้าหมายร้อยละ 95)
ช่วงอายุ 2 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์จำนวน 132 ราย จากทั้งหมด 145 ราย คิดเป็นร้อยละ 91.03 (เป้าหมายร้อยละ95) ช่วงอายุ 3 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์จำนวน 119 ราย จากทั้งหมด 123 ราย คิดเป็นร้อยละ 96.75 (เป้าหมายร้อยละ90) ช่วงอายุ 5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์จำนวน 147 ราย จากทั้งหมด 152 ราย คิดเป็นร้อยละ 96.71 (เป้าหมายร้อยละ90) อัตราของเด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการตามวัย จำนวน 680 ราย จากทั้งหมด 713 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.37 ร้อยละ 98 (เป้าหมายร้อยละ 85) ซึ่งผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด
ในส่วนอัตราการมาฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ มีจำนวน 68 ราย จากทั้งหมด 92 ราย คิดเป็นร้อยละ 73.91(เป้าหมายร้อยละ 75) อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน จำนวน 45 รายจากทั้งหมด 127 ราย คิดเป็นร้อยละ 35.43 (เป้าหมายร้อยละ50)อัตราของเด็ก 0-5 ปีสูงดีสมส่วน มีจำนวน 517 ราย จากทั้งหมด 857 ราย คิดเป็นร้อยละ 61.84(เป้าหมายร้อยละ 66) ซึ่งยังไม่ผ่านตัวชี้วัด ซึ่งศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพงจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการรีบแก้ปัญหาเหล่านี้ที่จะต้องรีบเร่งแก้ไข
ศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพง จึงได้จัดโครงการส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์สู่เด็กปฐมวัยคุณภาพ ตำบลกำแพงขึ้น เพื่อเป็นการ่วมขับเคลื่อนงานตำบลมหัศจรรย์ 1,000วัน Plus สู่ 2,500 วันในเขตพื้นที่ตำบลกำแพง โดยการจัดให้ความรู้ผ่านกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และกลุ่มผู้ปกครองหรือมารดาที่มีลูกอยู่ในวัยปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยในครรภ์ตามช่วงอายุครรภ์ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และส่งเสริมโภชนาการสูงดีสมส่วนและพัฒนาการสมวัยของเด็กในพื้นที่ตำบลกำแพง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความตระหนักในการมาฝากครรภ์เร็ว ฝากครบตามเกณฑ์ และเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน

1.ร้อยละ 80 ของหญิงตั้งครรภ์ที่เข้าอบรมมีความรู้อยู่ในเกณฑ์ระดับดี 2.ร้อยละ 75 ของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ 3.ร้อยละ 75 ของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ 4. ร้อยละ 50 ของเด็กแรกเกิดถึง 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว

80.00
2 เพื่อให้เด็ก 0-5ปี มีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน มีพัฒนาการตามวัย และได้รับวัคซีนพื้นฐานครบตามเกณฑ์

1.ร้อยละ 64 ของเด็ก 0-5 ปี สูงดีสมส่วน 2.ร้อยละ 85 ของเด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย 3. ร้อยละ 90 ของเด็ก 0-5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์

85.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางแผนการดำเนินงานระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานที่เกี่ยวข้องของศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมวางแผนการดำเนินงานระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานที่เกี่ยวข้องของศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม
1. ประชุมชี้แจ้งรายละเอียดโครงการและวางแผนในการจัดกิจกรรมดำเนินงานร่วมกัน ระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ งานอนามัยแม่และเด็ก งานวัคซีนเด็ก งานโภชนาการเด็ก
และทีมตัวแทนอสม.แม่อาสา จำนวน 3 ครั้งดังนี้

ครั้งที่ 1 เดือนมีนาคม - เมษายน ชี้แจงรายละเอียดในการทำโครงการ ร่วมวางแผนในการจัดกิจกรรม และคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายในการทำกิจรรมโครงการ

ครั้งที่ 2 เดือนเมษายน - พฤษภาคม ติดตามผลการผลการนัดหมายกลุ่มเป้าหมาย ร่วมวางแผนรายละเอียดในการจัดกิจรรม วิทยากรหลักและวิทยากรในฐานแต่ละฐาน และเนื้อหาสาระที่จะจัดขึ้นในฐานต่างๆ

ครั้งที่ 3 เดือนพฤษภาคม สรุปรายละเอียดกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย วิทยากรหลักและวิทยากรในฐานแต่ละฐาน

กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 15 คน ดังนี้

1.เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็ก (งานฝากครรภ์) 1 คน

2.เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานคลินิกสุขภาพเด็กดี (วัคซีนและพัฒนาการเด็ก) 1 คน

3.เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานโภชนาการในเด็ก 1 คน

4.ตัวแทนอสม.แม่อาสาในเขตพื้นที่ตำบลกำแพงทั้ง 12 หมู่บ้าน จำนวน 12 คน

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 15 คนๆละ 3 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 3,375 บาท

  • ค่าเดินทาง จำนวน 12 คนๆละ 3 ครั้งๆละ 100 เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6975.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์สู่เด็กปฐมวัยคุณภาพ

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์สู่เด็กปฐมวัยคุณภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์สุ่เด็กปฐมวัยคุณภาพ จำนวน 1 วัน โดยจัดทำเป็นฐาน 5 ฐาน ดังนี้

1.1 ฐานที่ 1 มหัศจรรย์พัฒนาการทารกในครรภ์ ให้ความรู้เรื่องพัฒนาการของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ตามอายุครรภ์ เพื่อเริ่มต้นส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยตั้งแต่อยู่ในครรภ์ตามช่วงอายุการตั้งครรภ์
(พิธีกรฐาน คุณอารญา ชูโชติ)

1.2 ฐานที่ 2 มหัศจรรย์นมแม่ ให้ความรู้เรื่องนมแม่ เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
(พิธีกรฐาน คุณวรรณรักษ์ หมัดสะแหละ)

1.3 ฐานที่ 3 อาหารดีบำรุงดี ให้ความรู้เรื่องโภชนาการ สารอาหารที่สำคัญต่อร่างกายในหญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0-5 ปี เพื่อส่งเสริมโภชนาการห(ญิงตั้งครรภ์และโภชนาการสูงดีสมส่วนในเด็ก 0-5 ปี
(พิธีกรฐาน คุณรีณา โปดำ)

1.4 ฐานที่ 4 กิน กอด เล่น เล่า ให้ความรู้เรื่องการเล่น การกอด การเล่านิทานให้ลูกฟังเพื่อส่งเสริมพัฒนาการตามช่วงวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการสมวัย
(พิธีกรฐานคุณฮับเซาะ แอหลัง)

1.5 ฐานที่ 5 คุณแม่และหนูน้อยฟันดีฟันสวย สอนการดูแลสุขภาพช่องปากและการแปรงฟันในหญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0-5 ปี
(พิธีกรฐาน ทิราภรณ์ ทองรักษา)

1.6 ฐานที่ 6 วัคซีนเพื่อลูกรักสุขภาพดี ให้ความรู้เรื่องวัคซีนพื้นฐานในเด็ก ให้ความรู้เรื่องวัคซีนพื้นฐานในเด็ก 0-5 ปี
(พิธีกรฐาน คุณจุรีพร มานะกล้า)

กลุ่มเป้าหมาย

  • กลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 60 คน ได้แก่
  1. หญิงตั้งครรภ์ในเขตอบต. จำนวน 30 คน

  2. ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี จำนวน 30 คน

งบประมาณ

  • ค่าตอบแทนวิทยากรฐาน 6 ฐาน จำนวน 6 คน x 3 ชั่วโมง X 400 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท

  • ค่าตอบแทนวิทยากรหลัก จำนวน 1 คน x 2 ชั่วโมง X 600 บาท เป็นเงิน 1,200บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 65 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 3,250 บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 65 คน x 65 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 4,225 บาท

  • ค่าสื่อประชาสัมพันธ์ป้ายไวนิลโครงการอบรมขนาด 1.5X3 ม. จำนวน 1 แผ่น เป็นเงิน 675 บาท

  • ค่าวัสดุ เครื่องเขียน และอุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 5,600 บาท

  • ค่ายานพาหนะสำหรับผู้เข้าอบรม ฯ จำนวน 60 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 28,150 บาท

กำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์สุ่เด็กปฐมวัยคุณภาพณ ศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพง อ.ละงูจ.สตูล วันที่........เดือน........................ พ.ศ.2567

08.30-09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าอบรมและทำแบบทดสอบก่อนการเข้าอบรม คณะผู้จัดการอบรม

09.00-09.15 น. พิธีเปิด คณะผู้จัดการอบรม

09.15-10.30 น. ชี้แจงความสำคัญและรายละเอียดในการดำเนินโครงการ เพื่อการดูแล ส่งเสริมสุขภาพและคุ้มครองสตรีและเด็กปฐมวัยเพื่อส่งเสริมให้เติบโตเต็มศักยภาพและมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยขับเคลื่อนผ่านงานมหัศจรรย์ 1,000วัน Plus สู่ 2,500วัน ทีมวิทยากร

10.30-10.45 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม คณะผู้จัดการอบรม

10.45-11.00 น. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 10 คน เพื่อเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการตามฐานให้ความรู้ 6 ฐาน ทีมวิทยากร

11.00-12.00 น. เริ่มทำกิจกรรมกลุ่มในฐานที่ 1 และฐานที่ 2 โดยใช้เวลาในการทำกิจกรรมในแต่ละฐาน 30 นาที แล้วจึงวนเปลี่ยนฐาน

12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวันคณะผู้จัดการอบรม

13.00-14.00 น. เข้าทำกิจกรรมความรู้ตามในฐานที่ 3 และฐานที่ 4 โดยใช้เวลาในการทำกิจกรรมในแต่ละฐาน 30 นาที แล้วจึงวนเปลี่ยนฐาน ทีมวิทยากร

14.00-15.00 น. เข้าทำกิจกรรมความรู้ตามในฐานที่ 5 และฐานที่ 6 โดยใช้เวลาในการทำกิจกรรมในแต่ละฐาน 30 นาที แล้วจึงวนเปลี่ยนฐาน ทีมวิทยากร

15.00-16.00 น. อภิปราย ซักถามปัญหา

16.00-16.30 น. ทำแบบทดสอบหลังอบรม ทีมวิทยากร

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28150.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเยี่ยมมารดาหลังคลอดและติดตามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมมารดาหลังคลอดและติดตามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม

  1. ลงพื้นที่เยี่ยมหญิงหลังคลอดในเขตตำบลกำแพงทั้ง 12 หมู่บ้าน

  2. ติดตามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เสริมพลังในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน

เป้าหมาย

  1. หญิงหลังคลอดจำนวน.......ราย

  2. เด็กอายุ 0-6 เดือน จำนวน......ราย

งบประมาณ

  • ไม่ขอใช้งบประมาณ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมถอดบทเรียนและวางแผนป้องกันการส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์สู่เด็กปฐมวัยคุณภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมถอดบทเรียนและวางแผนป้องกันการส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์สู่เด็กปฐมวัยคุณภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  • ประชุมกลุ่มย่อยระดมความคิด โดยการถอดบทเรียนกิจกรรม และวางแผนป้องกันการส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์สู่เด็กปฐมวัยคุณภาพ

กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 15 คน ดังนี้

1.เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็ก (งานฝากครรภ์) 1 คน

2.เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานคลินิกสุขภาพเด็กดี (วัคซีนและพัฒนาการเด็ก) 1 คน

3.เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานโภชนาการในเด็ก 1 คน

4.ตัวแทนอสม.แม่อาสาในเขตพื้นที่ตำบลกำแพงทั้ง 12 หมู่บ้าน จำนวน 12 คน

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 15 คนๆ ละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 375 บาท

  • ค่าเดินทาง จำนวน 12 คนๆละ 1 ครั้งๆละ 100 เป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1575.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 1. รายงานผลการดำเนินโครงการและนำเสนอโครงการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต่อคณะกรรมกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง จำนวน 2 ครั้ง

  1. จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง

งบประมาณ

  • ค่าจัดทำรูปเล่มเมื่อเสร็จสิ้นโครงการจำนวน 4 เล่มๆละ 250 เป็นเงิน 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,700.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หญิงตั้งครรภ์มีการมาฝากครรภ์ก่อน 12สัปดาห์และฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์
2.หญิงหลังคลอดมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน
3.เด็กอายุ 0-5 ปีมีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วนและมีพัฒนาการตามวัย
4.เด็กอายุ 0-5 ปีได้รับวัคซีนพื้นฐานครบตามเกณฑ์


>