กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อสม.บ้านดอนศาลา อาสาควบคุมและป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

กลุ่ม อสม.รพ.สต.บ้านดอนศาลา

1.นางเพลินพิศขุนเศรษฐ์ โทร 098-0209596
2.นางยุพิน ชิตสุข
3.นางชฎาภรณ์คงพลับ
4.นางสังข์เวียน ยูงทอง
5.นางสุอาภรณ์ ปลอดดำ

พื้นที่รับผิดชอบ ม.4,6,8,9 ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุงจำนวน 1,096 ครัวเรือน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออก

 

90.00

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย โดยมีรายงานพบผู้ป่วยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 ปัจจุบันยังพบการระบาดของโรคในทุกพื้นที่ของประเทศไทย ทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท โดยพบผู้ป่วยต่อเนื่องทุกปีทำให้คาดการณ์ว่าอาจมีแนวโน้มการระบาดโรครุนแรงขึ้น โดยสาเหตุสำคัญเกิดจากแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายที่ยังพบได้ในบ้านเรือนประชาชนโดยทั่วไป ประชาชนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ยังไม่เห็นความสำคัญของปัญหา และขาดความตระหนักในการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาในพื้นที่ตำบลมะกอกเหนือยังมีรายงานการพบผู้ป่วยไข้เลือดออกทุกปี โดยเฉพาะในปี 2565 พบผู้ป่วยจำนวน 1 ราย อัตราป่วย 49.54 ต่อแสนประชากร ในปี 2566 มกราคม - มิถุนายน 2566 พบผู้ป่วยจำนวน 8 ราย อัตราป่วย 396.04 ต่อแสนประชากร ซึ่งเกินเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ประกอบกับรายงานการสำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ตำบลมะกอกเหนือ พบค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายบางหมู่บ้านสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (ค่า HI>10) ซึ่งการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการทำลายแหล่งเพาะลูกน้ำยุงลายทั้งในครัวเรือน บริเวณที่พักอาศัย อาคารสำนักงาน วัดและโรงเรียน ประกอบกับยุงลายสามารถแพร่พันธุ์ได้ตลอดปี ถ้าไม่ดำเนินการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพ ก็อาจเกิดการระบาดของโรคได้ตลอดเวลา ด้วยเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลาจึงได้จัดทำโครงการ อสม.ร่วมใจป้องกันภัยไข้เลือดออก ปี 2567 ขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา โดยกำหนดกิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้การดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกประสบความสำเร็จยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลการทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด (ร้อยละ)

90.00 70.00
2 2.เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชน

ร้อยละ 80 ของหมู่บ้านสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกไม่ให้ประชาชนได้รับผลกระทบ

0.00
3 3.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

ร้อยละ 80 ของประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,007
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
จำนวน 4 หมู่บ้าน หมู่ที่ 4 ,6,8,9 ตำบลมะกอกเหนือ อ 919

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประสานงานกับผู้นำชุมชน/เทศบาล/อสม./และประชาชนในหมู่บ้านเพื่อรับทราบแนวทางการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
1.ประสานงานกับผู้นำชุมชน/เทศบาล/อสม./และประชาชนในหมู่บ้านเพื่อรับทราบแนวทางการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประสานงานกับผู้นำชุมชน/เทศบาล/อสม.และประชาชนในหมู่บ้านเพื่อชี้แจงการดำเนินโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 มกราคม 2567 ถึง 29 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้นำชุมชน /เทศบาล/อสม./และประชาชนทราบแนวทางการดำเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2.ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนทางหอกระจายข่าวและเวทีประชุมหมู่บ้าน แจกเอกสารใบความรู้

ชื่อกิจกรรม
2.ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนทางหอกระจายข่าวและเวทีประชุมหมู่บ้าน แจกเอกสารใบความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนทางหอกระจายข่าวหมู่บ้าน หมู่ที่ 4/6/8และ9 เวทีประชุมหมู่บ้าน โดยดำเนินการทุกๆเดือน แจกเอกสารใบความรู้ เอกสารแผ่นพับความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกโดยทีม อสม. จำนวน 400 ชุด ชุดละ 1 บาท เป็นเงิน 400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนได้รับความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและสามารถป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออกได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
400.00

กิจกรรมที่ 3 3.อสม.สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุกวันศุกร์ ใช้แบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย ใส่ทรายอะเบททุกหลังคาเรือนที่มีน้ำขังบริเวณบ้าน

ชื่อกิจกรรม
3.อสม.สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุกวันศุกร์ ใช้แบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย ใส่ทรายอะเบททุกหลังคาเรือนที่มีน้ำขังบริเวณบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อสม.และจิตอาสา สำรวจ ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุกวันศุกร์ ในทุกเดือนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนสิงหาคม 2567 โดยใช้แบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย ใส่ทรายอะเบททุกหลังคาเรือนที่มีน้ำขังบริเวณบ้าน โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
1.ค่าจ้างทำป้ายไวนิลโครงการขนาด 2.8 x 1.2 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 500 บาท
2.ทรายเคลือบสารเทมีฟอส 1 % ถังละ 500 ซอง ซองละ 50 กรัมถังละ 3,000 บาทจำนวน 3 ถัง เป็นเงินจำนวน 9,000 บาท
3.โลชั่นทากันยุง ซอฟเฟลขนาด 60 มล. ขวดละ 65 บาท จำนวน 70 ขวด เป็นเงินจำนวน 4,550 บาท
4.สเปรย์กำจัดยุง ขนาด 300 มล.กระป๋องละ 78 บาท จำนวน 30 กระป๋อง เป็นเงินจำนวน 2,340 บาท 5.ค่าป้ายไวนิลแบบถือเดินรณรงค์ไข้เลือดออก ป้าย 3ก.5ป.1ข. ขนาด 60 *40 เซนติเมตร จำนวน 5 ป้ายๆละ 500 บาท เป็นเงินจำนวน 2,500 บาท
6.แบบสำรวจลูกน้ำยุงลายจำนวน 400 ใบ เป็นเงิน 400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีความตระหนักในการทำลายแหล่งเพาะพันะธุ์ลูกน้ำยุงลาย การป้องกันไม่ให้ยุงกัดปฏิบัติตามหลัก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19290.00

กิจกรรมที่ 4 4.ประเมินและสรุปผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
4.ประเมินและสรุปผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปประเมินผลโครงการให้คณะกรรมการทำงานรับทราบ - ค่าเอกสารแบบประเมินความพึงพอใจจำนวน 40 ใบ ใบละ 1 บาทเป็นเงิน จำนวน 40 บาท - ค่าจัดทำรูปเล่มรายงาน สปสช 1 เล่ม เป็นเงิน 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 สิงหาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รูปเล่มสรุปผลการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
240.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,930.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
2.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคไข้เลือดออก
3.ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
4.ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ


>